วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

“วิทยา”รทสช.ร่วมระดมสมองแนวทางขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน



“วิทยา แก้วภารดัย” รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมระดมสมองแนวทางขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศแนะใช้ประสบการณ์จากชุมชนประสานความร่วมมือหน่วยงานรัฐรับมือภัยพิบัติใหญ่ 

 เมื่อวันที่ 23  มิถุนายน 2566  ที่โรงแรมไมด้า แอร์พอร์ต ดอนเมือง นายวิทยา แก้วภารดัย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมเสวนาเรื่อง “โครงการเสริมพลังเครือข่าย ขยายความร่วมมือท้องถิ่นสู่การขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน” จัดโดยมูลนิธิชุมชนไทย ในการร่วมกันระดมสมองสรุปบทเรียนและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการจัดภัยพิบัติ 

@siampongnews #รทสช . ร่วมระดมสมองแนวทาง ขับเคลื่อนนโยบาย #ภัยพิบัติ ชุมชน #ข่าวtiktok ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

นายวิทยา กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติมาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภัยพิบัติใหญ่ๆ หลายเหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เห็นได้ว่า ยังมีจุดที่ต้องแก้ไขหลายอย่างในการบริหารจัดการอย่างมีระบบ ซึ่งต้องแยกภัยพิบัติของประเทศไทยออกเป็น 2 ประเภทคือ กลุ่มของ ภัยพิบัติซ้ำซาก ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เกิดแล้วเกิดอีกหลายครั้ง ภัยพิบัติประเภทนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้มาแล้ว ทั้งบทเรียน และแนวทางการแก้ไข ในบางพื้นที่สามารถแก้ไขได้แล้วจากโครงการพระราชดำริต่างๆ เช่น ที่ จ.นครศรีธรรมราช แต่ในบางพื้นที่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ควรใช้เครือข่ายในพื้นที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่แล้ว 

ทั้งนี้จากการที่ดูร่างกฎหมายที่กำลังมีความพยายามในการแก้ไข ผลักดันอยู่ในขณะนี้ยังเห็นว่า อำนาจยังรวมศูนย์อยู่ที่ผู้ว่าฯ เหมือนเดิม ซึ่งหากเป็นพื้นที่ภัยพิบัติเล็กๆ ระดับจังหวัดอาจจะสามารถรับมือได้ แต่ถ้าเป็นภัยพิบัติขนาดใหญ่ เช่นกรณีของสึนามิ ที่ จ.ภูเก็ต,พังงา หรือกรณีดินถล่มที่ จ.นครศรีธรรมราช การใช้วิธีการรวมศูนย์ตามยกร่าง กฎหมายนี้อาจจะไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นจึงเห็นว่ากรมป้องกันภัยพิบัติพลเรือน ควรเป็นเจ้าภาพหลักที่ทำงานร่วมกับ อบจ. อบต. รวมทั้งเครือข่ายขนาดเล็กต่างๆ ในการเชื่อมโยงข้อมูล ข้อติดขัดต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา 

@siampongnews สเปรย์ #ฟ้าทะลายโจร ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

“ผมคิดว่าปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นภัยพิบัติซ้ำซาก ที่ดูจากเครือข่ายที่ถูกสร้างขึ้นมาตอนนี้สามารถช่วยได้มาก โดยเฉพาะดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมชลประทาน,กรมอุตุนิยม หรือหน่วยงานหลักด้านภัยพิบัติอื่นๆ เพื่อบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นซ้ำซากเหล่านี้ได้” นายวิทยากล่าว 

สำหรับการเสวนาดังกล่าว มีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนแนวคิด และประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบาย และวางแผนการขับเคลื่อนร่วมกัน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน ภาคีเครือข่ายชุมชนจากทั่วประเทศ และตัวแทนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมเสวนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อาจารย์หนู กันภัย เปิดสำนักสักยันต์ จัดพิธีไหว้ครู ในรอบ 5 ปี

  อาจารย์หนู กันภัย เปิดสำนักสักยันต์ จัดพิธีไหว้ครู ในรอบ 5 ปี พร้อมเชิญ พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงบารมี ร่วมทำพิธีปลุกเสกตระกรุด “โครตรวย”   นา...