วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ปากท้องมาก่อน! ‘เศรษฐา’ นำทีมเพื่อไทยศึกษาดูงานธนาคารน้ำใต้ดินนครพนม ไอเดียพระเสนอแบบเพอร์มาร์คัลเจอร์



ปากท้องมาก่อน! ‘เศรษฐา’ นำทีม ส.ส.เพื่อไทย ศึกษาดูงานธนาคารน้ำใต้ดิน ของ อบต.บ้านผึ้ง จ.นครพนม หวังผลักดันแก้ปัญหาภัยแล้งให้พี่น้องเกษตรกร  ไอเดียพระเสนอแบบเพอร์มาร์คัลเจอร์ 

วันที่  30 มิถุนายน พ.ศ. 2566  นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายชัย วัชรงค์ ทีมนโยบายด้านการเกษตร พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย ส.ส.พรรคเพื่อไทย  อาทิ นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ส.ส.นครพนม นางมนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม  นายนิพนธ์ คนขยัน ส.ส.บึงกาฬ น.ส.ธัญธารีย์ สันตพันธุ์ ส.ส.อุบลราชธานี นางนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร ส.ส.ศรีสะเกษ น.ส.สกุณา สาระนันท์ ส.ส.สกลนคร เดินทางมายังองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เพื่อรับฟังการดำเนินการและติดตามดูระบบการดำเนินการโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ของ อบต.บ้านผึ้ง เพื่อแก้ขปัญหาภัยแล้ง แม้จังหวัดนครพนมจะมีฝนตกปีละ 2,000 มิลลิลิตร ถือว่าปริมาณฝนลำดับต้นๆ ของประเทศ แต่ยังประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากระบบประปาน้ำบาดาลไม่เพียงพอ ซึ่งต่อมาได้ทดลองใช้การบริหารจัดน้ำระบบธนาคารน้ำใต้ดินนอกเขตชลประทานในการแก้ไขปัญหา 

 จากนั้น นายเศรษฐา ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นห่วงสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น เพราะวันนี้ฝนตกเหลือเพียง 100 กว่าวัน จึงมาลงพื้นที่ดูเรื่องบริหารจัดการน้ำ ก็แปลกใจที่จังหวัดนครพนม เป็นพื้นที่มีฝนตกมาก แต่กักเก็บน้ำไว้ใช้ไม่ได้ เนื่องจากยังมีวิธีการบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งยังไม่ดีพอ โดย ตำบลบ้านผึ้ง มีการบริหารจัดการน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใต้ดินเมื่อฝนตกและนำน้ำขึ้นมาใช้เมื่อต้องการได้ 

@siampongnews ปากท้องมาก่อน! #เศรษฐา นำทีม #เพื่อไทย ศึกษาดูงาน #ธนาคารน้ําใต้ดิน นครพนม ไอเดียพระเสนอแบบ #เพอร์มาร์คัลเจอร์ จากเพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพร #ข่าวtiktok ♬ เสียงต้นฉบับ samran sompong

 ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยอาจได้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐา ตอบว่า ไม่ทราบว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดสรรอย่างไร แต่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงหนักคือพี่น้องประชาชนในภาคอีสาน จึงอยากดำเนินการโครงการธนาคารน้ำใต้ดินโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าพรรคเพื่อไทยทำได้จริง แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้  หากพรรคได้รับการมอบหมายให้ดูแลกระทรวงนี้จะสามารถบริหารจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน

ขณะที่เพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพร ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า  ธนาคารน้ำใต้ดินเพอร์มาคัลเจอร์  เก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง แก้ปัญหาน้ำท่วมขังหน้าฝน และปรับปรุงดินให้ดินดี

ที่ข้างกุฏิเวลาหน้าฝนน้ำท่วมขังทุกปีกว่าจะแห้งใช้เวลาหลายวัน คิดว่าจะทำหลุมดักน้ำให้ซึมลงในดินอย่างรวดเร็วก็ไม่มีเวลา วันนี้มีรถมาทำงานเลยถือโอกาสให้เขาลองทำที่กักน้ำในดิน เพื่อจะใหเดินบริเวณนั้นดูดซับน้ำไว้ ลดปัญหาน้ำท่วมขังได้ และเมื่อถึงช่วงหน้าแล้งที่ขาดแคลนน้ำ บางที่ก็บอกว่าสามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ แต่ที่นี่คิดว่าความชื้นในดินสูง จากเดิมประมาณเดือนมีนาคม ถึงเมษายน ดินจะแห้งมาก ถ้าเราเลื่อนความชื้นในดินอออกไปอีกถึงเดือนพฤษภาคม เท่านี้ก็ดีมากแล้ว

ธนาคารน้ำใต้ดินจะมี 2 ระบบคือ ระบบปิด กับระบบเปิด แต่ที่มีเวลาทำนี้คือระบบปิดขนาดใหญ่ ปกติเขาจะทำประมาณ 1 เมตร แต่ที่ทำนี้คือกว้าง 3 เมตร ลึก 4 เมตร ตรงกลางขุดเป็นร่องลงตามสูตรเขาเรียกว่าสะดือ แล้วนำหินหยาบ ¾ มารองก่อน 

@siampongnews Cheetahtalk #เครื่องแปลภาษา ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

แล้วนำท่อ PVC วางที่กลางบ่อ โดยให้ท่อมีความยาวสูงกว่าปากบ่อ แล้วใช้ไม้ไผ่มามัดขึงกับท่อ PVC ให้ได้แนวดิ่งตั้งฉากกลางบ่อ โดยรอบ ๆ ท่อเจาะรูให้เป็นที่หายใจเวลาเติมน้ำลงจะเติมได้เร็ว

นำอิฐ, หิน, กระเบื้องแตก หรือเศษปูน ใส่ลงในก้นหลุมจนเหลือพื้นที่จากปากบ่อประมาณ 20 ซม.คลุมด้วยตาข่าย แล้วทับด้วยก้อนหินขนาดเล็กหรือกรวด ให้ต่ำกว่าผิวดิน 5 ซม. จากนั้นใช้ PVC สามทางสวมปลายท่อด้านบน โดยให้ปลายท่อหมุนตามทิศทางลม พร้อมปรับระดับดินรอบบ่อ เพื่อให้น้ำไหลเข้าธนาคารน้ำใต้ดินได้สะดวก

แต่ที่นี่พิเศษคือใช้ตอไม้ขอนไม้มาแทนเศษอิฐเศษปูน เพราะต้องการปรุงดินไปในตัว เมื่อผ่านไป 10 ปี 20 ปี ที่นี่จะเป็นดิน เป็นอาหารของต้นไม้ และไม่ได้รดน้ำอีกต่างหาก เป็นการทำเกษตรประหยัดน้ำ ประหยัดปุ๋ยจึงเรียกว่าเพอร์มาร์คัลเจอร์ เมื่อมารวมกับธนาคารน้ำใด้ดินจึงเรียกว่า ธนาคารน้ำใต้ดินเพอร์มาร์คัลเจอร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...