วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

"ผู้อำนวยการ ป.โทสันติศึกษามจร" เตรียมเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส



วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.โค้ชสันติ กระบวนกรธรรมะโอดี วิทยากรต้นแบบสันติภาพ  Buddhist Peace Facilitator ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร  เปิดเผยว่า   นกพิราบคาบช่อมะกอก นกตะวันออกคาบดอกบัว สอดรับกับสันติภาพ  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. Buddhist Peace Facilitator และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  บัณฑิตวิทยาลัย มจร  ปฏิบัติศาสนกิจ ณ นครรัฐวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อการเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส  ผู้นำศาสนาคริสต์ ระหว่าง ๒๔ - ๓๐  พฤษภาคม  ๒๕๖๗ 

โดยมุ่งประเด็นการเรียนรู้ ประกอบด้วย ๑)ศาสนากับสันติภาพ ๒)การสื่อสารอย่างสันติ ๓)ขันติธรรมทางศาสนา ๔)การสร้างศาสนสัมพันธ์ ๕)ศาสนาสร้างความสามัคคี  ๖)สันติสนทนาระหว่างศาสนา ๗)สิทธิมนุษยชนมิติทางศาสนา  ๘)การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย ๙)การพัฒนาสันติภายในมิติของศาสนา ๑๐)เคารพในความแตกต่างและความเปราะบางของมนุษย์ ๑๑)ศาสนาในฐานะต้นตอสันติภาพและต้นเหตุความขัดแย้งรุนแรง  ๑๒)ศาสนาในฐานะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ทำไมต้องมาวาติกัน ในฐานะทำงานด้านสันติภาพสันติสุข จึงสะท้อนถึงสัญลักษณ์สันติภาพ คือ "นกพิราบคาบกิ่งมะกอก" โดยชาวตะวันตกเชื่อว่า นกพิราบ เป็นวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสัญลักษณ์ของนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน  กิ่งมะกอกเป็นสิ่งที่ชาวกรีกโบราณใช้ในพิธีสำคัญ

โดยทุกครั้งที่โลกเกิดความขัดแย้ง สันติภาพคือสิ่งที่ผู้คนต้องการและเรียกร้อง ซึ่งนกพิราบคาบกิ่งมะกอกคือสัญลักษณ์สากลของสันติภาพ เป็นเพราะอะไร และทำไมผู้หญิงถึงมีบทบาทมากขึ้นในเวทีสันติภาพโลก 

โดยชาวตะวันตกเชื่อว่านกพิราบเป็นวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ตามพระคัมภีร์ไบเบิล จึงมีรูปนกพิราบเกาะอยู่ที่บัลลังก์คาทีดรา ที่พระสังฆราชทรงประทับนั่ง เพื่อคอยดลใจให้ทรงตัดสินข้อพิพาทของชาวคริสเตียนโบราณได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นนกพิราบยังเป็นสัญลักษณ์ของนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและวิชาชีพสื่อสารมวลชน จากความสามารถในการจดจำเส้นทางอย่างแม่นยำ จนเป็นที่มาของพิราบสื่อสาร

เมื่อเอ่ยถึงสันติภาพ ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยผู้หญิงมักจะมีบทบาทอยู่เสมอๆ ดูได้จากบุคคลที่เป็นวีรสตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลของโลก จนสภาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติ ออกคำสั่งขยายบทบาทของสตรีบนเวที UN ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เพราะศักยภาพของผู้หญิงที่ถูกเชื่อมร้อยบุคลิกภาพตามธรรมชาติของเพศ ที่มีความอ่อนโยนดูแลเอาใจใส่ครอบครัวและเป็นผู้ให้นั้นเอง

๒๑  กันยายนของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล (The International Day of Peace) สัญลักษณ์แห่งสันติภาพและการต่อต้านความรุนแรง จะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง เพื่อให้เรานึกย้อนกลับไปถึงสงครามโลก ช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของมวลมนุษยชาติ 

ทำไมต้องมีวันสันติภาพสากล โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ได้กำหนดให้ทุกวันที่ ๒๑ กันยายน ของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล (The International Day of Peace) เพื่อเป็นการให้ความสำคัญต่อการยุติการใช้ความรุนแรง การคุกคามในทุกรูปแบบ และมุ่งเน้นสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสันติในทุกพื้นที่ โดยในวันสันติภาพสากลจะมีกิจกรรมการลั่น ระฆังสันติภาพ ที่หล่อขึ้นจากเหรียญที่ได้รับบริจามาจากเด็ก ๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองอีกด้วย

โดยจุดมุ่งหมาย ๖ ประการ ในวันสันติภาพสากล มุ่งเคารพต่อชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยุติการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบแบ่งปันผู้อื่น ขจัดการแบ่งแยกชนชั้นเคารพเสรีภาพในการแสดงออกของทุกกลุ่ม ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม แสดงความรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสกับทุกเพศสภาพอย่างเท่าเทียมกัน

โดยนกพิราบ (Dove) นานมาแล้วที่ 'นกพิราบ' ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึง สันติภาพ อิสรภาพ และความรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'นกพิราบคาบกิ่งมะกอก' สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนประจำวันสันติภาพสากล ที่หลายคนอาจพบเห็นในรูปแบบไอคอนหรืออีโมจิ (Emoji) บนสมาร์ตโฟน โดยที่มาที่ไปของนกพิราบคาบกิ่งมะกอกนั้น มีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อทางศาสนาคริสต์ที่ว่า 'นกพิราบคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และพระผู้เป็นเจ้า' อีกทั้งยังปรากฏอยู่ในเรื่องราว 'มหากาพย์น้ำท่วมโลก' หรือ 'เรือโนอาห์ (Noah's Ark)' ที่ได้มีการกล่าวไว้ว่า โนอาห์จะใช้นกพิราบคอยสังเกตการณ์น้ำท่วมจากในเรืออาร์ค จนในวันหนึ่งนกพิราบได้บินคาบกิ่งมะกอกกลับเข้ามา จึงทำให้โนอาห์รับรู้ว่าภายนอกน้ำลดลงแล้ว ถือเป็นสัญญานของการเริ่มต้นใหม่ และความสงบสุขที่กลับคืนสู่มวลมนุษย์อีกครั้ง

ในเวลาต่อมานกพิราบถูกใช้สื่อถึงสันติภาพไปอย่างกว้างขวาง เมื่อจิตรกรชื่อก้องโลกอย่าง Pablo Picasso ได้วาดภาพ 'นกพิราบแห่งสันติภาพ (The Dove of Peace) ซึ่งในภายหลังได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการประชุมสันติภาพนานาชาติ ที่กรุงปารีส (Paris Peace Congress) ในปี ค.ศ. ๑๙๔๙ ในความเชื่อโบราณของคนญี่ปุ่น 'นกกระเรียน' ถือเป็นตัวแทนแห่งโชคลาภ ความสุข และการมีอายุยืนยาว ในขณะเดียวกัน 'นกกระเรียนกระดาษ' ที่มักจะมีการพับไว้ประดับงานพิธีมคลต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ยังมีนัยยะแฝงถึง 'สันติภาพ' ไว้อีกด้วย โดยจุดเริ่มต้นทั้งหมดของนกกระดาษสันติภาพนั้น มาจากเรื่องราวของหนูน้อยซาดาโกะ ซาซากิ ที่ต้องล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จากการได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นผลพ่วงของเหตุการณ์ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ 

ด้วยความหวังที่จะหายจากโรคร้าย ซาดาโกะทำการพับนกกระเรียนกระดาษ ๑,๐๐๐ ตัว ตามความเชื่อโบราณที่ว่า หากพับนกกระเรียนกระดาษได้ครบ ๑,๐๐๐ ตัวแล้ว สิ่งใดที่ปราถนาจะเป็นจริง เธอต่อสู้กับโรคร้ายสุดท้ายตลอดระยะเวลาหลายเดือน แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็ไม่มีจริง เพราะเด็กหญิงซาดาโกะก็เสียชีวิตลงในวัย ๑๒ ปี ในตอนที่เธอพับนกกระเรียนได้ตัวที่ ๖๖๔

หลังจากการเสียชีวิตของซาดาโกะ รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นได้สร้างอนุสาวรีย์แห่งสันติภาพ หรือที่เรียกว่า อนุสรณ์สันติภาพเยาวชน  : Children’s Peace Monument ณ สวนสันติภาพฮิโรชิม่า เพื่ออุทิศแก่ซาดาโกะ และเด็กอีกหลายคนที่ต้องเสียชีวิตจากผลของสงคราม และนกกระเรียนกระดาษก็ได้กลายมาเป็นตัวแทนเรื่องราวซาดาโกะ และสันติภาพนับแต่นั้นมา

รวมถึงการชูสองนิ้ว (V-sign) 

การชูสองนิ้วไม่ได้เป็นเพียงท่าเซลฟี่คิ้ว ๆ ที่ทำกันตามกระแสเท่านั้น แต่การทำนิ้วมือลักษณะเป็นรูปตัว V โดยหันฝ่ามือออก มีชื่อเรียกว่า V-sign สัญลักษณ์มือที่สื่อถึง ‘สันติภาพ (Peace)’ และ ‘ชัยชนะ (Victory)’ โดยต้นกำเนิดของ V-sign ต้องย้อนกลับไปช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ “ วิกเตอร์ เดอ ลาวีย์ (Victor de Laveleye) รัฐมนตรีพรรคเสรีนิยมเบลเยี่ยม ได้ออกอากาศผ่านสถานีวิทยุ BBC ชักชวนให้ประชาชนชาวเบลเยียมและ ชาวฝรั่งเศษ ร่วมกันทำสัญลักษณ์รูปตัว V ไว้ตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ "V for Victory" เพื่อแสดงการสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในการทำสงครามชนะฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ และในภายหลังกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่ทรงอิทธิพล เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถคว้าชัยชนะในสงครามมาได้จริง ๆ ทำให้สัญลักษณ์ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

ประเทศแทบเอเชียการชูสองนิ้วถือเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำกัน แต่ด้วยวัฒนธรรมและค่านิยมที่แตกต่างจึงไม่ใช่สำหรับทุกส่วนบนโลกที่การชูสองนิ้วจะสื่อความหมายดี ในบางประเทศอย่าง อังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ แอฟริกาใต้ การชูสองนิ้วแล้วหันหลังมือเข้าหาคนอื่นจะมีความหมายเชิงดูหมิ่น เหยียดหยาม เพราะฉะนั้นควรหันฝ่ามือออกเสมอ   

โดยสัญลักษณ์สันติภาพ (Peace Symbol) สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ หรือ 'Peace Symbol' ที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตานี้ เดิมทีมีชื่อเรียกว่า 'CND Symbol' หรืออีกชื่อหนึ่ง 'Nuclear Disarmament' (การลดอาวุธนิวเคลียร์) ออกแบบโดยศิลปินหัวขบถชาวอังกฤษ นามว่า Gerald Holtom เพื่อจุดประสงค์ในการต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในสหราชอาณาจักร ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๕๘-๑๙๖๐ 

Gerald เผยว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัญญาณธง (Semaphore Alphabet)' ที่สามารถสะกดออกมาเป็นตัวอักษรและข้อความได้ โดยเส้นแกนกลาง l แทนตัวอักษร D (Disarmament) และเส้นอีกสองเส้นที่ขนาบข้างทำมุม 45 องศานั้น /\ แทนตัวอักษร N (Nuclear) ส่วนวงกลมรอบนอก O แทนรูปร่างของ 'โลก' ของเราเอง สัญลักษณ์สันติภาพถูกนำมาใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของหนุ่มสาวบุพพาชนหรือ 'ฮิปปี้' ที่เคยมีบทบาทเข้าร่วมต่อต้านสงครามเวียดนาม ในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ 

แม้ว่าสัญลักษณ์สันติภาพจะมีลักษณะและที่มาแตกต่างกันไป แต่เราจะเห็นว่าทุกสัญลักษณ์ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ และเป็นเครื่องย้ำเตือนว่าการใช้ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของปัญหา และไม่เคยส่งผลดีกับใครทั้งสิ้น

๒๑ กันยายน ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นให้เป็น วันสันติภาพโลก (World Peace Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและงดใช้ความรุนแรง หยุดทำสงคราม และร่วมมือกันสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้น วันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญมากอีกวันหนึ่ง

วันสันติภาพโลก (World Peace Day) ตรงกับวันที่ ๒๑ กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่ออุทิศแก่สันติภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราศจากสงคราม บ้างถือเป็นโอกาสพิเศษกำหนดหยุดยิงชั่วคราวในพื้นที่ที่ยังสู้รบกันอยู่ มีการเฉลิมฉลองวันสันติภาพโลกในบรรดาชาติ กลุ่มการเมือง กลุ่มทางทหาร และประชาชนทั้งหลาย วันสันติภาพโลกจัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๒๔ 

ในการเริ่มวันดังกล่าว มีการเคาะ “ระฆังสันติภาพ” ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระฆังนั้นถูกหล่อขึ้นจากเหรียญที่รับบริจาคมาจากเด็กทั่วโลก มันถือเป็นของขวัญโดยสมาคมสหประชาชาติแห่งญี่ปุ่น และถูกกล่าวถึงว่าเป็น “เครื่องเตือนใจมนุษย์ถึงมูลค่าแห่งสงคราม” มีข้อความ “สันติภาพโลกเบ็ดเสร็จจงเจริญ” จารึกอยู่ด้านข้างของระฆัง

แต่หลังจากนั้นในปี ค.ศ. ๒๐๐๑ หรืออีก ๒๐ ปีต่อมา มีมติใหม่จากสหราชอาณาจักร และคอสตาริกา กำหนดให้วันที่ ๒๑ กันยายน ของทุกปี เป็นวันยุติการสู้รบ และประกาศให้เป็นวันสันติภาพโลก หรือวันสันติภาพโลก (The International Day of Peace) เพื่อขอให้ประชาชนทุกประเทศหยุดยิง ลดใช้ความรุนแรงกันทั่วโลก และหยุดการทำสงครามตลอดทั้งวัน รวมทั้งมีการเชิญประเทศสมาชิก หน่วยงานต่าง ๆ มางานเฉลิมฉลองและร่วมมือกันสร้างสันติภาพทั่วโลก และกำหนดให้ ค.ศ. ๒๐๐๑-๒๐๑๐ เป็นทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงเพื่อเด็กของโลก โดยมีจุดมุ่งหมาย ๖  ประการ ประกอบด้วย  

๑)ให้ความเคารพต่อชีวิตทั้งมวล เคารพชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือลำเอียง

๒)ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน

๓)แบ่งปันกับผู้อื่นอย่างมีน้ำใจ เพื่อขจัดการแบ่งแยก ความไม่ยุติธรรม และการกดขี่ทางการเมืองและเศรษฐกิจ

๔)รับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน เคารพเสรีภาพในการแสดงออก และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม

๕)สงวนรักษาผืนโลก ฝึกดำเนินชีวิตอย่างรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติบนผืนโลก

๖)สร้างความสมานฉันท์ เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะสตรี

โดยจุดมุ่งหมายทั้ง ๖ ประการ มีเป้าหมายให้ผู้คนในสังคมทุกกลุ่มอายุได้ตระหนักถึงความสำคัญของสันติภาพภายใน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมสันติภาพที่เกิดจากความสงบเงียบภายในจิตใจของแต่ละคน เพื่อให้เราได้รู้จักตนเองและแหล่งพลังชีวิตที่สามารถใช้ปัญญาเป็นเครื่องชี้นำทางในการขจัดทุกข์และสร้างสันติสุขให้แก่ตนเอง รวมทั้งแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่น โดยสันติภาพคือ เป้าหมายสูงสุดของสหประชาชาติ” (Peace is the United Nations’ highest calling)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น