วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567

"พระพรหมบัณฑิต" แนะ "มจร" ไม่ควรทิ้งงานวิสาขบูชาโลก เหตุยกระดับมหาวิทยาลัยสู่ระดับโลก



วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗   พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. โค้ชสันติ กระบวนกรธรรมะโอดี วิทยากรต้นแบบสันติภาพ  Buddhist Peace Facilitator ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร  เปิดเผยว่า รับแรงบันดาลใจด้านการบริหารจากหลวงพ่อพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : มจร บรรยายภายใต้หัวข้อ “หลักการบริหารด้วยปัญญาและคุณธรรม” โดยสะท้อนว่า เกิดคำถาม ๒ คำถามประกอบด้วย ๑)การเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร ๒)การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งมีเส้นทางที่คาบเกี่ยวกัน โดยเป็นสายวิชาการมาก่อนแล้วมานั่งบริหาร บางท่านบริหารนานๆแล้วไปสายวิชาการ ถือว่าเป็นการสวมหมวก ๒ ใบ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้าไม่ตกลงกันให้ดีนักวิชาการจะบริหารแบบวิชาการคือไม่ใช่นักบริหาร นักบริหารไปเป็นวิชาการไม่เป็นนักวิชาการเป็นนักบริหาร จึงต้องระวัง อยู่วิชาการมีการสายของการเติบโตแบบวิชาการแต่ไปบริหารจึงไม่มีจิตวิญญาณการบริหาร แท้จริงใครอยากจะเป็นเลิศทางวิชาการไปให้สุดเป็นศาสตราจารย์ ถ้าจะบริหารต้องบริหารให้สุดฝีมือ ถ้าบริหารต้องคิดแบบนักบริหาร

คำถามอะไรคือความแตกต่างของนักบริหารและนักวิชาการ โดยนักวิชาการต้องมีการอ้างอิงเป็นหลัก โดยยกสุภาษิตที่ว่า If you want to go fast go alone. If you want to go far go together. ถ้าอยากจะไปเร็วให้ไปคนเดียว ถ้าอยากจะไปไกลๆให้ไปด้วยกัน โดยประโยคแรกนักวิชาการส่วนประโยคสองเป็นนักบริหาร ซึ่งนักวิชาการไปคนเดียว ส่วนนักบริหารจะต้องทำงานเป็นทีมไปด้วยกัน ซึ่งงานบริหารจะต้องไปด้วยกันไม่ไปคนเดียวจะใจร้อนเหมือนเหมือนงานวิชาการไม่ได้ “ผู้นำต้องมีความอดทนต่อความโง่คนอื่นได้” โดยนักวิชาการไม่ค่อยอดทน บางครั้งเถียงกันจนวงแตก ไปด้วยกันเรียกว่าบริหารแต่ช้า อยากจะไปเร็วเป็นนักวิชาการ

คำถามทำอย่างไรจะไปด้วยกัน จะต้องมีการเตรียมการด้วยกัน ในการบริหารไม่ยากแต่ทำอย่างไรให้คนทำในแนวเดียวกันจะต้องกำหนดเป้าหมายชัดเจน แต่ต้องมาคุยกันก่อนวางแผนร่วมกัน หมายถึง ๔ ชั่วโมงในลับขวานจะต้องมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการบริหารจะต้องเป็นทีมไม่ใช่ไปคนเดียว ซึ่งพูดแบบนักวิชาการจะต้องมีที่มาที่ไปไม่ใช่พูดไปเรื่อย จึงมีข้อหัว “หลักการบริหารด้วยปัญญาและคุณธรรม” ซึ่ง มจร อยู่ในกลุ่ม ๔ มุ่งพัฒนาปัญญาด้วยหลักศาสนาผสานกับหลักวิชาการ เรียกว่า บูรณาการ มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีสติปัญญาและคุณธรรมโดยจัดการเรียนการสอนที่ผสานกับหลักศาสนากับหลักวิชาการ ซึ่งพูดหลักวิชาการทางตะวันอย่างเดียวไม่ได้จะต้องต้องพูดหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการบูรณาการ 

โดยการบริหารหมายถึง การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่นตามแนวตะวันตก แต่พุทธบริหารจะต้อง “อะลัง กาตุง ทำเองก็ได้ อะลัง สังวิธาตุง จัดการให้คนอื่นทำก็ได้” ถือว่าเป็นการบริหารแบบพุทธ ซึ่งผู้บริหารในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้เพียงสั่งเท่านั้นแต่ต้องลงไปทำด้วย โดย มจร มีการบริหารแบบกัลยาณมิตรซึ่งผู้ใหญ่ลงมาร่วมสุขทุกข์ผ่านสังคหวัตถุธรรม ทำให้การบริหารแบบพุทธจะต้องเป็นผู้นำด้วยเหมือนวิปัสสนากรรมฐาน โดยอาจารย์สอนมาร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานด้วย จึงต้องมีแผนการพัฒนาผ่าน P O S D C สุดท้ายมีการติดตามงานอย่างเป็นระบบ  

โดยทักษะผู้บริหารจะต้อง “เก่งคิดในการวางแผน เก่งคน  เก่งงาน”  ในสามก๊กผู้ประนมแก่คนทุกชั้น คือ เล่าปี่ คำถามผู้บริหารเราเก่งด้านใดต้องมีการประเมินตนเอง เวลานิสิตมีประเด็นมีปัญหาจะต้องจะต้องเก่งคน เข้าใจคน ส่วนเก่งงานระเบียบต้องแม่นซึ่งแต่ละคนเก่งไม่เท่ากัน แต่บางคนเก่งทุกเรื่อง “โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยากฝากให้คิด” แต่อย่าโง่เกินไปฉลาดบ้างก็ได้ แต่ในทางพระพุทธศาสนาลักษณะของผู้บริหารจะต้องมี ๓ ประการ ประกอบด้วย ๑)จักขุมา มองการณ์ไกลอย่างมีวิสัยทัศน์ ๒)วิธุโร มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  ๓)นิสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีนิสัยที่ดี โดยเก่งคิดเป็นจักขุมา เก่งคนเป็นนิสยสัมปันโน เก่งงานเป็นวธุโร  คำถามข้อใดสำคัญที่สุดซึ่งขาดไม่ได้ คือ “People Skill นิสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีนิสัย” เพราะเราทำงานสำเร็จจะต้องอาศัยคนอื่น ซึ่งผู้บริหารระดับต้นอย่าไปคิดวางแผนแต่ต้องเก่งงาน สอดรับกับขงจื๊อว่า ให้ขงจื๊อเลี้ยงม้า ม้าจะต้องอ้วน เมื่อคนให้โอกาสสมกับการยกย่องหรือไม่ 

การทำงานจึงมีการถูกทดสอบถ้าอยู่กับใครวงแตกอยู่สายวิชาการไปก่อน มุ่งทำวิจัยคนเดียวต่อไป ซึ่งผู้บริหารจะทดลองงานเราอยู่ ไม่ว่าเราอยู่ระดับไหนจะทำงานของตนเองให้ดีที่สุด ซึ่ง “ผู้บริหารระดับต้นจะเก่งงานเชี่ยวชาญเทคนิค ระดับกลางจะเก่งคนเข้าใจคน ระดับสูงจะเก่งคิดวางแผน” โดยสามองค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กันไม่ใช่ต่างคนต่างทำ เก่งคิด เก่งคน เก่งงานจะต้องสื่อสารกัน คำถามถ้าไม่เก่งคิดสามารถบริหารได้หรือไม่ “จงเลื่อนตำแหน่งถ้าอยากนั้นจะเลื่อนตำแหน่งตนเอง” อะไรคือความแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับผู้นำ โดยผู้บริหารคือผู้ที่ทำให้คนอื่นทำงานตามที่บริหารต้องการ มุ่งสั่งแล้วทำตาม เช่น เจ้าอาวาส แต่ผู้นำคือผู้ที่ทำให้คนอื่นต้องการทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ต้องไปอ่านหนังสือผู้นำคือผู้ที่มีศิลปะในการจูงใจคน “ผู้บริหารที่มีศิลปะในการจูงใจคนเราจึงเรียกว่า ผู้บริหารและผู้นำ” ถามว่าเราประเมินตนเองด้วยว่าเป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้นำ 

ผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์เป็นภาพอนาคตที่จะลงมือทำสอดรับกับคำว่า “สองตาจ้องมองดาว สองเท้าให้ติดดิน” เป็นการวางเป้าหมายแล้วสื่อสารให้ทีมเดินไปด้วยกัน ไม่ใช่สร้างดาวคนละดาว จงจ้องไปที่ดาวดวงเดียวกันเป็นวิสัยทัศน์ร่วมกัน เราสร้างวิสัยทัศน์ของ มจร โดยทั้งพระไตรปิฎกไม่ได้ บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ วิจัยสร้างพุทธนวัตกรรม พัฒนาสังคมด้วยปัญญาและคุณธรรม ซึ่งพุทธนวัตกรรมจะต้องผ่านการวิจัย วิสัยทัศน์ทุกคนจะต้องเห็นร่วมกันแล้วเดินไปด้วยกัน รวมถึงการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านจำกัด โดยคนมีจำกัด เงินมีจำกัด โดยคำว่ากลยุทธ์ หมายถึง ทำอะไรไม่ได้จบในตัวมันเองแต่เป็นตัวขับเคลื่อนสิ่งอื่นตามมา เหมือนถูกกินแต่เข้าเส้นชัยชนะ โดยกลยุทธ์เป็นการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์ ในงานวิสาขบูชาโลกปีนี้ไม่ได้จัดเหมือนปีที่ผ่านมาเพราะมีความจำกัด ซึ่งญี่ปุ่นกล่าวว่า “ล้มไปแล้วอย่าลุกขึ้นมามือเปล่าอย่างน้อยมีฟางเส้นหนึ่งติดมือมาด้วยยังดี” โดยยกการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกตั้งแต่เริ่มต้นจากการไม่มีเงินแต่คิดเชิงกลยุทธ์จึงขับเคลื่อนงานวิสาขบูชาโลกมาถึงทุกวันนี้ ทำให้ มจร เริ่มจัดงานวิสาขบูชาโลกเริ่มจากเงินหกหมื่นบาทถือว่าเป็นการคิดแบบเชิงกลยุทธ์

การคิดแบบเชิงกลยุทธ์จะต้อง SWOT องค์กรผ่านจุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค อะไรที่ทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ เช่น มีเป้าหมายโดยต้องการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ในวันวิสาขบูชาเป็นวันปลูกต้นไม้ร่วมกันปลูกทั่วทั้ง มจร จุดแข็งเรามีหลายสาขาแต่จุดด้อยสาขาที่ต้องการเรียนยังไม่ได้เปิด จึงต้องปรับแผนกลยุทธ์ประกอบด้วย ๑)รีบรุก คือ จุดแข็งและโอกาส ให้รีบลงมือทำ   ๒)หลีกเลี่ยงคือ จุดแข็งและอุปสรรค คนคัดค้านเยอะ  ๓)ลองเสี่ยง คือ จุดอ่อนและโอกาส  ไม่มีความพร้อม ๔)ตั้งรับ คือ จุดอ่อนและอุปสรรค หยุดทำ “รีบรุกหลีกเลี่ยงลองเสี่ยงตั้งรับ” โดยยกตัวอย่างการสร้างมหาจุฬาในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี 

จึงสร้างวิสัยทัศน์ร่วมผ่านการซื้อที่เพิ่มจาก ๘๔ ไร่ ปัจจุบันมหาจุฬามีพื้นที่จำนวน  ๓๒๓ ไร่ จึงสร้างมหาจุฬาภายใต้ “ทุนทางสังคม” เป็นกลยุทธ์ในการบริหารด้วยทุนทางสังคม ประกอบด้วย ๑)ตกปลานอกบ้าน ออกไปสอนธรรมนอกวัด สื่อสารธรรมผ่านสื่อสารออนไลน์ดึงคนเข้ามาช่วย มจร มีการทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ๕ ปีมุ่งมี พ.ร.บ. ของมหาวิทยาลัยมีสถานภาพถูกต้องตามกฎหมาย มีการตั้งทีมชี้แจงอย่างเป็นระบบ ๒)ประสานสิบทิศ  การรวบรวมคนดีมีฝีมือภายนอกภายในมาช่วย มจร ดึงทุกเครือข่ายมาช่วยกัน ๓)ผูกมิตรทั่วหล้า โดยการดึงทุกฝ่ายจากทั่วโลก เช่น จัดงานวิสาขบูชาโลก ทำไมต้องจัดงานวิสาขบูชาโลกเพราะทำให้คนรู้จัก มจร ไปทั่วโลกทำให้ยกระดับมหาวิทยาลัยระดับโลก จึงไม่ควรทิ้งงานวิสาขบูชาโลกเพราะเป็นฐานสำคัญอย่างยิ่ง      ๔)บริหารปัญญา เตรียมปัญญาใส่ตัวเอาไว้ใช้ภายหน้าเรียนรู้ตลอดเวลา และเตรียมอาศัยปัญญาของคนอื่นในยามอับจน นอนสูงให้คว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย ต่างคนมองซึ่งกันและกัน โดยจะต้องมีคุณธรรมด้วย ๕)สาลิกาป้อนเหยื่อ นำหลักธรรมคำสอนมาชี้นำสังคมมุ่งพัฒนาจิตใจสติปัญญาและพฤติกรรมเพื่อให้เกิดสันติสุขลดความขัดแย้งเกิดความสามัคคีของคนในชาติ  โดยเหยื่อคือธรรมะที่เหมาะสมกับผู้คน ซึ่งการบริหารด้วยปัญญาและคุณธรรมจะต้องชนะไปด้วยกันอย่าบริหารแบบกินรวบจะต้องมีการแบ่งปันกันเป็นธรรมาธิปไตย โดยยกงานวิสาชบูชาโลกต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกันอย่าได้อยู่ฝ่ายเดียว 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กกต.เปิดให้ตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง เตรียมพร้อมสมัครเลือกสว.

  เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567    สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดการประชุมชี้แจงให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังห...