วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ



วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า จากที่เป็นคนเชียงรายแท้ๆ วันนี้ไม่ได้ข้ามมายังแผ่นดินลาวบริเวณสามเหลี่ยมทองคำมานาน ผมเคยมาที่นี่น่าจะเกิน 30 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เปลี่ยนไปมาก กลางคืนเป็นเมืองไม่หลับใหลแบบฮ่องกง กลางวันเป็นแหล่งท่องเที่ยวในหลายรูปแบบ จากที่ทราบคือ ประเทศลาวให้ นักลงทุนชาวจีนมาลงทุนระยะยาว จึงเกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และ"เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์" รวมทั้งกาสิโน ต้องบอกว่ามีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ถ้ามองในสายตาของผมแล้ว หากปล่อยให้เจริญขึ้นเอง ก็คงจะใช้เวลาอีกพันปี แต่พอให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติ ผมเห็นคนลาวที่ไม่มีงานทำ ก็มีอาชีพลืมตาอ้าปากได้ ไม่เพียงชาวลาว คนพม่าก็มาทำงานจำนวนมาก ด้วยแผ่นดินตรงนี้เชื่อม 3 ประเทศ โดยคั่นด้วยแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า โดยมียักษ์ใหญ่คือจีน เชื่อมโดยการเดินทางอยู่ไม่เกิน 6 ชม. ในการเดินรถไฟความเร็วสูงการเดินทางโดยเครื่องบินก็ง่ายเพราะอยู่ตรงกลาง และเชียงรายมีสนามบิน นานาชาติ น่าสนใจเข้าไปอีกมีทางเชื่อมออกทะเลทางเวียดนามและพม่า หมายความว่า สามารถจะเชื่อมทางธุรกิจขนาดใหญ่อย่างน้อย 5 ประเทศ ที่อยู่ใกล้กัน



การลงทุนฝั่งลาว มีการลงทุนสัมปทานพื้นที่จากกลุ่มทุนจีนชื่อ กลุ่มดอกงิ้วคำ เป็นบริษัทจดทะเบียนในฮ่องกงที่มีจ้าวเหว่ย กลุ่ม คิงส์โรมัน บริหาร ด้วยเม็ดเงินมหาศาล ในสายตาของผมเราไม่ต้องอิจฉาเขาหรือไม่ต้องไปแข่งกับเขาเลยครับ ถ้าประเทศไทยเราใช้ยุทธศาสตร์ในฐานะ อยู่กึ่งกลางของทุกประเทศข้างต้น ออกกฎหมายที่เหมาะสม เชียงรายจะกลายเป็นเมืองการค้าการลงทุนที่ใหญ่มาก ในภูมิภาคนี้ ไม่แน่อาจกลายเป็นศูนย์กลางทาง Finance แบบสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยภูมิประเทศโอบล้อมด้วยแผ่นดินรอบล้อมด้วยประเทศต่างๆ ไม่ติดทะเล ปลอดภัยจากสงครามจากทางทะเล อาจนำไปสู่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ผนวกกับ เชียงราย โดยเฉพาะเชียงแสน เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีศิลปะและวัฒนธรรม ที่ยาวนาน เราจะสามารถขายการท่องเที่ยวขายเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นให้ต่างชาติ มาเยี่ยมชมเราได้อีกมาก

พอเดินทางกลับจากประเทศลาว ผมจึงถือโอกาสไปรดน้ำดำหัวท่านศุลกากรเชียงของ และได้ถือโอกาสหารือกับนายด่านเชียงของ ถึงแนวคิดการ ผลักดันการค้าชายแดน ที่เชียงของที่เชื่อมกับถนน R3A ของลาวเชื่อมทางรถไฟความเร็วสูงสู่จีน นายด่านให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ตรงนี้ผมเริ่มเห็น โอกาสภูมิประเทศของเชียงราย ที่คล้ายกับสวิสเซอร์แลน การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจทั้งการเงินการธนาคาร ธุรกิจการค้าขาย แน่นอนหากมีการหมุนเม็ดเงินลงทุนมาสู่เชียงราย อาจนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินการธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งของโลก เบื้องต้นต้องผลักดันเชียงราย-เชียงใหม่ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเสียก่อน โดยออกกฎหมายเฉพาะ และเชิญชวนองค์กรสันติภาพระหว่างประเทศมาตั้งสำนักงานที่นี่ ดึงการค้าการเงินการธนาคาร เพื่อผลักดันการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประเทศไทยมีความมั่นคงอยู่แล้ว อีกทั้งเชื่อมโยงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ให้สะดวกขึ้น และดึงเม็ดเงินมาลงในพื้นที่ ก็อาจจะทำให้เชียงราย-เชียงใหม่ กลายเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย อย่างไรผมจะลองเอาโมเดลนี้ไปเสนอต่อรัฐบาลต่อไปครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...