วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2567

ชัยภูมิร่วม "สืบสาน รักษา และต่อยอด" พัฒนาพื้นที่แปลงโคก หนอง นา สู่อารยเกษตร ณ วัดพระธาตุชัยภูมิ

  


เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยว่า จังหวัดชัยภูมิได้ขยายผลการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา" สู่อารยเกษตรตามหลัก "บวร - บ้าน วัด ราชการ/โรงเรียน" โดยได้พัฒนาพื้นที่แปลงที่ดินของวัดพระธาตุชัยภูมิ ตำบลเก่าย่าดี อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ สู่พื้นที่แปลงนาสาธิต สำหรับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่มีแหล่งน้ำสำหรับกักเก็บน้ำ พร้อมทั้งอาคารศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบอารยเกษตร และการออกแบบภูมิทัศน์ตามหลัก "ภูมิสังคม" ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งทางจังหวัดชัยภูมิมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่เพื่อขยายผลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ในอนาคต

นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า วานนี้ตนพร้อมด้วย นางสาวกานต์จรัส เอียดทองใส ปลัดจังหวัดชัยภูมิ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา" สู่อารยเกษตร ณ วัดพระธาตุชัยภูมิ ตำบลเก่าย่าดี อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยได้รับพระเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระราชมหาเจติยาภิบาล (ต่อศักดิ์ สุนฺทรวาที) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รักษาการเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ประธานโครงการก่อสร้างวัดพระธาตุชัยภูมิ ในการดำเนินโครงการให้เป็นพื้นที่แปลงนาสาธิต สำหรับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่มีการสร้างแหล่งน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำ มีการกำหนดตำแหน่งขอบเขตพื้นที่ของอาคารศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบอารยเกษตร มีการจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ได้ประโยชน์สูงสุดในการดำเนินพัฒนาพื้นที่ตามหลักภูมิสังคมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ในอนาคต

นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งเป้าหมายการขจัดความหิวโหย หรือ เป้าหมายการขจัดความยากจน หรือ เป้าหมายอื่น ๆ ทุกเป้าหมาย สิ่งสำคัญ คือ ความร่วมมือ หรือ เป้าหมายสุดท้าย Partnership ซึ่ง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัด และทุกอำเภอ ต้องทำงานเป็นทีม เเละบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทำด้วยใจที่เป็นจิตอาสา เเละมี Passion ในการ Change for Good ซึ่งจังหวัดชัยภูมิเองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างพื้นฐานที่มันคงของการดำรงชีวิต คือ การมีปัจจัย 4 ที่มีคุณภาพ อาหารดี ยารักษาโรคที่หลากหลาย เครื่องนุ่มห่มที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เเละที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยเเละถูกสุขลักษณะ จึงมุ่งมั่นขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Villages) การน้อมนำพระดำริ "ผ้าไทยใส่ให้สนุก" ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า สิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามโครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง และโครงการทางนี้มีผลผู้คนรักกันของสมเด็จพระกนิฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโครงการอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม อาทิ ถังขยะเปียกลดโลกร้อน ธนาคารขยะ การรณรงค์สร้างความตระรู้เกี่ยวกับดิน และน้ำ ภายใต้แนวคิด ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุข อย่างยั่งยืน (Sustainable Soil&Water for better life) เนื่องในโอกาสวันดินโลก (World Soil Day) หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทรวงมหาดไทยได้ส่งเสริมให้สำรวจ Thai QM หรือ Re X-Ray แก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ซึ่งทุกโครงการ - กิจกรรมล้วนพุ่งเป้าไปที่ การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน


"ทั้งนี้ ความตั้งใจของจังหวัดชัยภูมิ เกิดขึ้นได้เพราะความเป็น Leadership ของผู้นำในพื้นที่ เเละทุกภาคส่วน โดยเฉพาะท่านเจ้าคุณพระราชมหาเจติยาภิบาล (ต่อศักดิ์ สุนฺทรวาที) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รักษาการเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ที่ให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนกิจกรรมครั้งนี้ ในการนี้ วัดพระธาตุชัยภูมิกำหนดจัดให้มีจัดกิจกรรมหว่านข้าวเพาะปลูก ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 และมีกำหนดเปิดโครงการ โคก หนอง นา อารยเกษตร แห่งนี้ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน และเครือข่ายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 12 พฤษภาคม เพื่อแสดงพลังแห่งเครือข่ายการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกันสืบสาน รักษา และ ต่อยอด โครงการพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรปวงชนชาวไทย" ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวในช่วงท้าย

#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...