วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567

วธ.ผนึกสยามพารากอนอัญเชิญพระพุทธรูปมงคล 12 องค์ “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์” มาให้สักการะในโอกาสปีใหม่ไทย



“เสริมศักดิ์”เผยวธ.ผนึกสยามพารากอนอัญเชิญพระพุทธรูปมงคล 12 องค์ “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์”  มาให้สักการะในโอกาสปีใหม่ไทย  จัด“งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย”ปี 67  ฉลองสงกรานต์ในประเทศไทยขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ  ชมการแสดงและสาธิตทางศิลปวัฒนธรรม 12-16 เม.ย.นี้  



เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival)  เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567  โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวโสภิดา กิติโกมลสุข  ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามพารากอน  เอกอัครราชทูตและผู้แทนทูตจากประเทศต่างๆ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เครือข่ายทางวัฒนธรรมและสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ แฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ  ซึ่งในพิธีเปิดงานมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เช่น   ระบำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง การแสดงหุ่นละครเล็ก ตอนเทพประทานพร มหาสงกรานต์ โดยหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ และการแสดงโขนรอบพิเศษ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนยกรบ



นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)มุ่งขับเคลื่อน Soft Power  ด้านเฟสติวัลและด้านการท่องเที่ยวรองรับนโยบาย Thailand Creative Content Agency (THACCA) ตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายของวธ.ในการสร้างเสน่ห์วิถีไทยครองใจคนทั้งโลก ด้วยการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพื่อช่วยสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชน และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสประเพณี “สงกรานต์ในประเทศไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year Festival)” ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เมื่อปี 2566 ซึ่งรัฐบาลและวธ.มีเป้าหมายผลักดันให้ประเพณีสงกรานต์ของไทยเป็น 1 ใน 10 เทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของโลก ดังนั้น วธ.ร่วมกับศูนย์การค้าสยามพารากอน หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรม จัด“งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival)  เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 12 -16 เมษายน 2567 ณ แฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ร่วมสืบสานและรับรู้ถึงคุณค่าสาระของประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยอย่างกว้างขวางและสนับสนุน Soft Power ด้านการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้แก่ประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า กิจกรรมภายในงานมีนิทรรศการพระพุทธรูปมงคลโบราณ 12 องค์ “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์” เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ พุทธศักราช 2567 ปีมะโรงนักษัตร ซึ่งวธ.โดยกรมศิลปากรอัญเชิญพระพุทธรูปที่มีคติการสร้างเกี่ยวข้องกับพญานาคจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาประดิษฐาน ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ได้แก่ 1.พระพุทธสิหิงค์จำลอง 2.พระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี 3.พระไภษัชยคุรุนาคปรก 4.พระรัตนตรัยมหายาน 5.พระพุทธรูปปางมารวิชัย 6.พระบัวเข็ม 7.พระพุทธรูปนาคปรกไม้จันทน์ 8.พระพุทธรูปนาคปรกนอระมาด 9.พระพุทธรูปนาคปรกงาช้าง 10.พระพุทธรูปนาคปรกมารวิชัย 11.พระพุทธรูปประทับรอยพระพุทธบาทและ12.พระพิมพ์ปางนาคปรก (พระโคนสมอ)  โดยให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นปีใหม่ไทย กิจกรรมสรงน้ำพระพุทธรูปประจำวันเกิด  การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เช่น  ระบำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง การแสดงหุ่นละครเล็ก ตอนเทพประทานพร มหาสงกรานต์ โดยหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ ของเล่นพื้นบ้านและการละเล่นของเด็กไทย “เดินกะลา” รวมทั้งมีการสาธิตทางวัฒนธรรม ได้แก่ การร้อยพวงมาลัยดอกไม้สด ทำน้ำอบน้ำปรุง  แป้งพวง ลูกชุบและวุ้นใบเตย จึงขอเชิญชวนคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเที่ยวงานนี้เพื่อร่วมกันสืบสานอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ดั้งเดิมของไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...