วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567

วัดพระธรรมกายไอจิ ฉลอง 13 ปี จัดพิธีตักบาตรคณะสงฆ์ 12 วัด - ปิดทองโปรยรัตนชาติ ลูกนิมิตมหาสมบัติ - ทอดผ้าป่าสามัคคี



วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567 วัดพระธรรมกายไอจิ ประเทศญี่ปุ่น จัดพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ฉลองครบรอบ 13 ปี โดยมี พระครูวิบูลนิติธรรม เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายไอจิ เป็นประธานสงฆ์ และขออนุโมทนาบุญกับ คณะประธานเอกบรมเศรษฐีทรัพย์อนันต์ กัลฯ นวิยา อิศรางกูร ณ อยุธยา, กัลฯ กันธนา ไพรคณะรัตน์, กัลฯ พรรณรังศรี ตรงพิทักษ์กุล พร้อมด้วยคณะสงฆ์ในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 12 วัด และกัลยาณมิตรวัดพระธรรมกายในประเทศญี่ปุ่นทั้งชาวไทย และชาวท้องถิ่น อาทิ คุณชนันภรณ์ รสจันทน์, คุณวิไลพร สายสิงห์ทอง, คุณรัตนาภรณ์ ทานันท์, คุณศศิวรรณ ทสึจิซาว้า, คุณชฎารัตน์ คาโต้, 86Iสุนิดา หมู่ธิมา, คุณทะนิโนะ ฮิเดกิ เป็นต้น 

โดยภาคเช้าคณะสงฆ์ และเจ้าภาพสาธุชน ร่วมกันสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา จากนั้น สาธุชนกล่าวแสดงตนเป็นพุทธมามกะ กล่าวถวายบุปผามาลาสวรรค์, คิลานเภสัช, ค่ายานพาหนะ, จตุปัจจัยไทยธรรม, และภัตตาหารเป็นสังฆทาน จากนั้น เป็นพิธีปิดแผนทองและโปรยรัตนชาติ ดวงแก้วมหาสมบัติโทชิหงิ นำโดย พระครูวิบูลนิติธรรม เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายไอจิ พร้อมด้วย พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย และพระอาจารย์ ชาญณรงค์ อุตฺตโม รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายไอจิ ต่อด้วยคณะประธานฝ่ายฆราวาสร่วมกันโปรยรัตนชาติ และปิดทองด้วย จากนั้นเป็นพิธีตักบาตร และถวายภัตตาหารแด่คณะสงฆ์ 

ภาคบ่ายเป็นพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ฉลอง 13 ปี พิธีเริ่มด้วยขบวนอัญเชิญผ้าป่าเข้าสู่ศูนย์กลางพิธี จากนั้น เป็น พิธีเจริญพระพุทธมนต์ฉลองวัด และปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา และพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ต่อด้วยพระครูวิบูลนิติธรรม กล่าวสัมโมทนียกถา คณะสงฆ์ให้พร 

การนี้ พระครูวิบูลนิติธรรมให้โอวาทไว้ว่า “เรามีเวลาจำกัดในโลกมนุษย์ ถ้าสมมติว่าเรามีอยู่ 100 ปี ให้นับถอยหลังว่า เราจะเหลืออีกกี่ปี ฉะนั้น จะทำอะไรก็ให้รีบๆ ทำ เพราะเวลาชีวิตและความแข็งแรงของร่างกายมีข้อจำกัด เวลาที่เหลือจะใช้ชีวิตอย่างไร ให้ ทุกข์น้อย สุขมาก ซึ่งความทุกข์พื้นฐานของเรามี 5 กลุ่ม (1) ทุกข์จากสรีระ ทุกข์ประจำกาย 6 ได้แก่ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ, ทุกข์จร 5 ได้แก่ ความเสื่อมของสรีระ, ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง, อิริยาบถไม่เหมาะสม, ถูกประทุษร้าย, วิบากรรมในอดีต (2) ทุกข์จากเลี้ยงชีพ เศรษฐกิจ การเงิน ปัจจัย4 อาชีพ แบ่งคนเป็น 4 กลุ่ม ไม่มีกิน, มีกินไม่มีใช้, มีกินมีใช้, เหลือกินเหลือใช้ ขึ้นกับผลการทำทานและความปลื้ม (3) ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน ระหว่างประเทศมาจาก สงคราม ความขัดแย้ง ผลประโยชน์ อำนาจ ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ จองเวรกันมา ส่วนในครอบครัว เป็นคำพูดกับมารยาท ขึ้นกับความดีสากล 5 ประการ สะอาด ระเบียบ สุภาพ ตรงเวลา จิตผ่องใส, อยู่ด้วยกันอย่างมีน้ำใจให้กันด้วย สังคหวัตถุ 4, เป็นผู้ใหญ่ต้องมีพรหมวิหารธรรม เมตตา กรุณา คือ การให้, มุทิตา อุเบกขา ใครได้ดียินดีด้วย แข่งสร้างความดี แต่ไม่แข่งดี เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และมหาอุบาสิกาวิสาขา มีสังคหวัตถุ และพรหมวิหาร อยู่ในฐานะโยมพ่อโยมแม่ของพระ อุปัฏฐากย์อุปถัมภ์พระอยู่เสมอ (4) ทุกข์จากความคิดและจิตใจ นอยด์ ซึมเศร้า ความคิดและคำพูดไม่มีอารมณ์ผสมเป็นคำพูดที่มีสติ ส่วนความคิดและคำพูดที่มีอารมณ์ผสม จะถูกเชิดด้วยกิเลส เช่น โทสะ โมหะ ฯลฯ จากบทธรรมจักร “อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ .. ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ .. ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ .. ดังนั้น ถ้าไม่ปล่อยวางก็เป็นทุกข์ ทุกข์มองไม่เห็น แต่ถ้าไม่วางก็เป็นทุกข์ ยิ่งยึดถือนานยิ่งเป็นทุกข์ ... ขึ้นกับว่า เตือนตัวเองได้ไหม หรือ มีกัลยาณมิตรไหม ค่อยดึงให้ฟังธรรมะและนั่งสมาธิ และปล่อยวางได้ ก็ปล่อยทุกข์ การแก้ไขอยู่ที่มุมมอง วางได้ก็ทุกข์น้อย และ (5) ทุกข์จากวิบากอกุศลมาส่งผล ควบคุมไม่ได้ แต่ออกแบบชีวิตให้ดีขึ้นได้ ซึ่งทุกข์ทั้ง 5 ข้อนี้ ถ้ารู้ไม่เท่าทัน ก็สุขน้อยทุกข์มาก ถ้ารู้เท่าทัน ก็สุขมากทุกข์น้อย”

ทั้งนี้ วัดพระธรรมกายไอจิ ( タイ国タンマガーイ寺院愛知別院 ) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2554 โดยชาวไทยในเมืองนาโกยาได้อาราธนาพระภิกษุ มาจำพรรษาและเผยแพร่ธรรมะให้กับทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้ามาเรียนรู้พระพุทธศาสนาและฝึกสมาธิที่วัดพระธรรมกายไอจิเป็นจำนวนมาก การทำบุญฉลอง 13 ปีวัดในครั้งนี้ ถือเป็นสามัคคีธรรมของกัลยาณมิตรในประเทศญี่ปุ่น เพราะเดินทางกันมาจากทั่วญี่ปุ่นเลย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...