วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดสถานชีวาภิบาลต้นแบบ วัดพระบาทน้ำพุจังหวัดลพบุรี

 


เมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 09.30 น. นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดและเยี่ยมชมการดำเนินงานสถานชีวาภิบาลต้นแบบเขตสุขภาพที่ 4 ที่วัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ร่วมกับเจ้าคณะจังหวัดลพบุรีและพระราชสุทธิประชานาถ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ  

นายแพทย์อดิสรณ์ วรรธณศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ และผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงกำหนดนโยบายขับเคลื่อนสถานชีวาภิบาลในโรงพยาบาล 816 แห่ง และในชุมชน 166 แห่ง รวม 982 แห่ง ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อเป็นหน่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างสงบสุข รวมถึงผู้สูงอายุ พระสงฆ์ ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย การดูและผู้ป่วยที่บ้านจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ และลดภาระบุตรหลาน ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน 

ประกอบด้วย กิจกรรมหลักที่สำคัญ คือ การเข้าถึงยาที่จำเป็น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพ และการบูรณาการทำงานทุกภาคส่วน โดยเขตสุขภาพที่ 4 ได้คัดเลือกวัดพระบาทน้ำพุ เป็นสถานชีวาภิบาลต้นแบบ เนื่องจาก เป็นวัดที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและระยะประคับประคองมาอย่างยาวนานถึง 31 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาต่อยอดมาสู่การเป็นสถานชีวาภิบาลวัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ภายใต้การขับเคลื่อนแบบบูรณาการของเขตสุขภาพที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และได้รับเมตตาจากพระราชวิสุทธิ              ประชานาถ ผู้ก่อตั้งสถานชีวาภิบาล วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี อนุญาตใช้อาคารวลัยลักษณ์ วัดพระบาทน้ำพุซึ่งได้ก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2538  เป็นอาคารหลังแรกของวัดพระบาทน้ำพุที่ใช้เป็นสถานที่รักษา พักฟื้นผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยเริ่มรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าพัก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 เรื่องสถานชีวาภิบาล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและพระสงฆ์อาพาธ ให้มีคุณภาพ ที่ดีขึ้น โดยมีพระคิลานุปัฏฐากและผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) ที่ผ่านการอบรม ดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...