วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

เจ้าคุณประสารเผย "มจร" เร่งฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดด



เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567  พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ในฐานะผู้อำนวยการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยโดยนโยบายของพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี ได้ออกนโยบายเรื่องการพัฒนาบุคคลากรในทุกระดับเพื่อเพิ่มสมรรถนะ เพิ่มศักยภาพและมองเห็นเป้าหมายร่วมกันเพื่อจะได้นำพาองคาพยพของมหาวิทยาลัยไปสู่การพัฒนาในรูปแบบก้าวกระโดดเพืัอให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา          

พระราชวัชรสารบัณฑิต ได้กล่าวต่อไปว่า การอบรมผู้บริการนั้นจะมีทุกระดับโดยเริ่มที่การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรใหม่ จำนวน 312 รูป/คนในระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ หอประชุมอาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  การฝึกอบรมพัฒนาผู้บริการระดับต้น จำนวน 85 รูป/คน ระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2567 ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มจร ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน และในครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับกลางทั้วประเทศ จำนวน 253 รูป/คน ระหว่างวันที่ 24-27 เมษายน 2567 วัตถุประสงค์ในการจัดการจัดฝึกอบรมพัฒนาอย่างเข้มงวดในครั้งนี้เพื่อฝึกทักษะในการบริหาร การจัดการให้มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ทักษะวิชาการใหม่ๆ เรียนรู้รักสามัคคีในสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงอย่างรู้เท่าทัน มีจิตสำนึกรักองค์กร และเรียนรู้โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อทันโลก ทันสมัย ทันสถานการณ์เพื่อจะสามารถนำพามหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพบนฐานของวิกฤติมหาวิทยาลัยทั่วประเทศและทั่วโลก นอกจากการฝึกอบรมด้านวิชาการ  แล้ว ยังมีการไปศึกษาดูงานของความสำเร็จด้านอุดมศึกษานอกสถานที่ื การทำวัตรสวดมนต์และการปฎิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อพัฒนาปัญญาอีกด้วยและในอีกสองเดือนข้างหน้านี้ก็จะมีการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับสูงเพื่อเพิ่มสมรรถนะต่อไป        

"การอุดมศึกษาในทั่วโลกกำลังประสบภาวะวิกฤติ เฉพาะมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเช่นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคงหนีไม่พ้นเช่นกัน เช่นโลกเปลี่ยนไปผู้คนสนใจเทคโนโลยีเพื่อหารายได้มากกว่าการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย องค์ความรู้เปลี่ยนผ่าน การดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ประชากรลดลง ศาสนทายาทถดถอย ทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนเป็นสิ่งท้าทายมหาวิทยาลัยในดำรงอยู่บนฐานของศรัทธา ปัญญาและความมั่นคง การพัฒนาบุคคลากรในทุกระดับเพื่อรับมือ  เพื่อการรู้เท่าทันเพื่อให้ปรับตัวในการก้าวกระโดดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...