วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567

"ณพลเดช" ชี้ PM 2.5 เชียงราย-เชียงใหม่ เกินเยียวยา รบ. ควรหนุนงบกลางเข้าเยียวยาด่วน

 


 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567   ที่ ถ.พหลโยธิน ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมการเพื่อศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการขับเคลื่อนไปสู่รัฐสภาสีเขียว (Green Pariament) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงสภาพอากาศ ทั้งจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่ ที่มียอดแย่ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน 2-4 เท่า ดังที่ได้เกิดติดแทรนด์ #ฝุ่นเชียงราย #ฝุ่นเชียงใหม่ ซึ่งบางพื้นที่สูงกว่ามาตรฐานกว่า 5 เท่า บางพื้นที่สูงกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ด้วยเพราะในบางส่วนอาจมีการลักลอบเผาป่าเพื่อหาของป่า ล่าสัตว์ เลี้ยงสัตว์ เผาวัสดุเหลือจากการเก็บเกี่ยว เช่นฟางข้าว ข้าวโพด รวมถึงอ้อย แต่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยมีการจ้างปลูกจากนายทุนชาวไทย แบบ Contract farming ที่ทำให้การปลูกข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านมีการเผามากกว่าปริมาณที่มากกว่าปกติ ซึ่งมีหลักฐานจากภาพถ่ายดาวเทียม ตนจึงขอเสนอการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อเสนอต่อรัฐบาลในระยะต้น กลาง ปลาย ดังนี้

1.สนับสนุนงบกลางลงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ฉีดพ่นหมอกน้ำสู่อากาศ หรือดูดกรองอากาศ ในเขตเมืองดังที่เคยทำใน กทม. ช่วยได้ทั้งลดฝุ่นและมีผลทางจิตวิทยา

2.ดำเนินการโทษขั้นเด็ดขาด สำหรับบุคคลที่เผาในเมืองไทย

3.งดการนำเข้าผลิตผลการเกษตร เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศชายแดน หากไม่สามารถยืนยันว่าไร่นาที่ปลูก Contract farming ขาดการรับการรับรองว่าไม่ได้เผา

4.ทำฝนหลวงช่วยเหลือในจุดต่างๆ

5.ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติพร้อมเยียวยา ประชาชน และผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว

6.กำหนดมาตรการ ให้ประชาชนป้องกันตัวเองด้วยหน้ากากป้องกันฝุ่นที่เหมาะสม เพื่อสุขภาวะ

"อย่างไรก็ตาม การตรา พรบ.อากาศสะอาดฯ ควรเร่งทำให้เร็วที่สุด เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ กรอบงบประมาณ โทษตามกฎหมาย เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับ ในการจัดการกับอากาศให้สะอาด อันเป็นสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐานที่ควรมีควรได้" นายณพลเดช กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...