วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567

"หลักสูตรสันติศึกษา มจร" โหนกระแส ถอดบทเรียนความขัดแย้งภิกษุโกสัมพี ชี้ชัดเข้าถึงแก่นพระไตรปิฎก



วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มจร เป็นประธานสันติสนทนาในพระไตรปิฎก โดยได้รับความเมตตายิ่งจากพระมหายุทธนา นรเชฏโฐ, รศ.ดร. หัวหน้าภาควิชาพระพุทธศาสนาและ ผู้อำนวยการพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มจร สะท้อนสันติสนทนาในพระไตรปิฎกภายใต้หัวข้อ “การไกล่เกลี่ยในพระไตรปิฎก” สาระสำคัญว่า เป็นความพยายามเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนด้วยการพูดคุยให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ในพระไตรปิฎกมองความขัดแย้งของภิกษุโกสัมพี (ม.มู (ไทย) ๑๒/๔๙๑-๕๐๐/๕๒๙-๕๓๖ โดยพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งภิกษุโกสัมพีใช้ปากทิ่มแทงกัน  ไม่ทำความเข้าใจ ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาปรองดองกัน  โดยกระบวนการไกล่เกลี่ยของพระพุทธเจ้าซึ่งมีภิกษุมีความบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปาดทิ่มแทงกัน ซึ่งพุทธวิธีสำหรับการจัดการความขัดแย้ง คือ “เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม” โดยมุ่งใช้สาราณียธรรม ซึ่งทิฐิเป็นยอดจะต้องปรับทัศนคติก่อน ซึ่งทิฐิเป็นข้าศึกเป็นทิฐิ จะมองกันด้วยเมตตาก่อน ถ้าเมตตากันไม่ได้จึงยากจะสร้างความเข้าใจกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าใช้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วย “การไม่จองเวรกัน  มีโสรัจจะ ให้มีขันติ” เมื่อพระพุทธเจ้ามองว่ายังรุนแรงจึงหลีกหนีไปอยู่ในป่ากับช้าง ทำให้เกิดมาตรการทางสังคมด้วย “การไม่แสดงความเคารพ ไม่ถวายอาหารบิณฑบาต”  พระพุทธเจ้าทรงไกล่เกลี่ยด้วยสังฆสามัคคี จึงมี “การขอขมา เกิดสังฆสามัคคี” 

โดยมองสังฆเภทขันธกะว่าด้วยสงฆ์แตกกัน มองมิติพระเทวทัตซึ่งสร้างความขัดแย้งอย่างหนัก     จึงมองพระสารีบุตรเป็นทูต ๘ ประการประกอบด้วย ๑)รู้จักฟัง ๒)สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้ ๓)ใฝ่ศึกษา ๔)ทรงจำได้ดี ๕)เป็นผู้รู้เข้าใจชัด ๖)สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ๗)ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๘)ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท ย้ำว่า นักไกล่เกลี่ยต้องสร้างปัญหาเพิ่ม  โดยมูลเหตุของความขัดแย้งในพระไตรปิฎกคือ “ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา มานะ ทิฐิ” ซึ่งระบุไว้ในพระไตรปิฎก นำไปสู่ความรุนแรงอาฆาตพยาบาทกัน  

เมื่อมองความขัดแย้งและรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพระไตรปิฎกสาระสำคัญว่า  ในพรหมชาลสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๙ เน้นการตั้งใจฟัง  มีการสรรเสริญและนินทา อดทน ขันติ เน้นการฟังให้จบ อย่าเพิ่งแทรก ไม่ยินดียินร้าย  โดยจุดเริ่มของการไกล่เกลี่ยจะต้องฟัง  หัวใจสำคัญของการไกล่เกลี่ยคือการฟังอย่างลึกซึ้ง ปัจจุบันความใจร้อนเกิดได้รวดเร็ว  ถ้ามีการกล่าวหาเรา “ถ้าเราโกรธคนกล่าวหาเราอันตรายจะตกที่เรา”  อันตรายจะเกิดแก่ปฐมฌานต่อคุณธรรม คนโกรธไม่รู้อรรถ คนโกรธไม่รู้ธรรม อย่าถามหาเหตุผลกับคนที่โกรธ จึงต้องฝึกขันติมีอุเบกขา มีการวางใจเป็นกลาง อุเบกขามี ๑๐ ชนิด อุเบกขาในขณะที่ฟังพิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นที่เผ่าพันธุ์  “วางใจเป็นกลางอย่างเที่ยงธรรมในสัตว์และสังขาร” ด้วยอุเบกขา ก่อนจะตัดสินวินิจฉัย อุเบกขาบารมี ๑๐ ทัศปฏิบัติยากมาก ซึ่งการจะเป็นการกลางอย่างเที่ยงธรรม มิใช่การการวางเฉย ในหลักพรหมชาติสูตรมีหลักการวางใจเป็นกลางอย่างเที่ยงธรรม กรณีคนมาชื่นชมเกิดมหากุศลโสมนัส แต่ระวังโลภะโสมนัส เป็นความยินดีในตนเอง พรหมณัฐมานพชื่นชมยินดีในพระรัตนตรัย “คนโลภไม่รู้ธรรมไม่รู้อรรถ” จึงต้องฟังด้วยใจเป็นกลางไม่ว่าจะยกย่อง สรรเสริญ แต่อันตรายจะเกิดต่อตน ซึ่งอาจจะนำไปสู่การอิจฉา ริษยา 

พระพุทธเจ้าสอนคนให้พ้นทุกข์ให้มีสัมมาทิฐิ แต่บางสำนักในสมัยพุทธกาลสอนมิจฉาทิฐิ  ทิฐิของคนมากกว่า ๖๒ ประเภท ความเห็นของคนที่นำไปสู่ความขัดแย้ง การแตกแยกเพราะศีล ในลาภสักการะ  มิติของความขัดแย้งจำนวน ๖๒ ขั้น โดยพื้นของปัจจัย ๔ ผลประโยชน์ ยศ  ตำแหน่ง  ลัทธิ ศาสนา ถูกไม่ถูก  ทิฐิต้องใช้ปัญญาเป็นตัวจัดการ “สอนให้พระอย่าโกรธเมื่อคนมากล่าวหา” ใครกล่าวหาพระสงฆ์ต้องไม่โกรธจะต้องฟังให้จบจะต้องวางใจเป็นกลาง รวมถึงเมื่อเขายกย่องไม่หลงตนเอง ลืมตัว ฟังให้จบแล้ววางใจเป็นกลาง โดยลูกศิษย์ยกย่องครูอาจารย์เพราะเลื่อมใสในครูอาจารย์ ลูกศิษย์ยกย่องสรรเสริญครูอาจารย์ยกว่าครูบาอาจารย์บรรลุขั้นต่างๆ ทำให้สำคัญตนเองผิดว่าตนเองบรรลุ เพราะการยกย่องสรรเสริญของลูกศิษย์จนสำคัญตนผิด เพราะถ้ากลัวแสดงว่ายังไม่ถึง ใครที่สรรเสริญเราจึงพิจารณาว่าจริงเพียงใดจึงวางใจเป็นกลาง จึงไม่ควรหลงในการสรรเสริญยกย่องให้เราฟังให้จบ มีใจเป็นกลางอย่างเที่ยงธรรม   โดยในพรหมชาลสูตรมุ่งศีล พึงรักษาศีล และทิฐิ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้ง  จึงย้ำว่าเมื่อผู้คนกล่าวหาอย่าโกรธแต่ชี้แจงด้วยเหตุด้วยผลฟังให้จบ 

กรณีภิกษุชาวเมืองโกสัมพีขัดแย้งกัน โดยเริ่มจากการเข้าห้องน้ำตักน้ำไม่ได้คว่ำขัน น้ำยังเหลือค้างอยู่ ถือว่าเป็นอาบัติทุกกฎ พระธรรมกถึกในฐานะพระนักบรรยายจึงขอปลงอาบัติ แต่พระวินัยธรเหมือนจะจบแต่ไม่จบ จึงนำไปสอนลูกศิษย์ว่าเป็นอาบัติซึ่งเป็นขนาดถึงพระธรรมกถึก โดยลูกศิษย์ขยายผลจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน ทำให้พระสงฆ์แตกแยกกันทำให้พระพุทธเจ้าได้แสดงถึงโทษของการวิวาท แต่ไม่ฟังกันแตกแยกทั้งทั้งพระสงฆ์ เทวดา ลูกศิษย์ นำไปสู่ทิฐิมานะ โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปเองยังไม่ยอมรับ จึงหนีไปป่าเพียงพระองค์เดียว ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจพระสงฆ์ด้วยการคว่ำบาตร ด้วยการไม่ใส่บาตรให้พระสงฆ์ ทำให้พระสงฆ์ยอมคุยกันร่วมสังฆกรรมร่วมกัน จึงมีการขอขมาพระพุทธเจ้า โดยพระเจ้าปเสนทิโกศลอนุญาตให้เข้าเฝ้าในฐานะดูแลในแคว้นโกศล อนาถบิณฑเศรษฐีตอนแรกไม่ให้เข้าเฝ้าเพราะมองว่าสร้างกรรมต่อพระรัตนตรัย โดยพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมทำให้พระสงฆ์เข้าใจอริยสัจ เพราะปัญหาของความขัดแย้งมาจากสมุทัยสัจจะ คือ สาเหตุ จากการนำข่าวไปสื่อสารแพร่ขยายทำให้ความเข้าใจผิด  การแก้ปัญหาเป็นนิโรธสัจจะ ทำให้พระภิกษุโกสัมพีสามารถแก้ปัญหาได้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งของภิกษุโกสัมพีเพราะมีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่การขัดแย้งในครั้งนี้นำไปสู่การไม่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงมีการขอขมา เพราะมีการสร้างกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมต่อพระพุทธเจ้า  จึงแก้ปัญหาด้วยอริยสัจ

การแย่งน้ำญาติของพระพุทธเจ้า ในการนำน้ำทำเกษตรแต่น้ำไม่เพียงพอ จึงนำไปสู่การแยกน้ำกันจากชาวนายกระดับไปถึงระดับเมือง จึงมีการยกทัพไปหากันด้วยการใช้วาจาด่ากันอย่างรุนแรง ระหว่างน้ำกับพระราชาใครมีค่ามากกว่า ถ้าพระราชามีค่ามากกว่าทำไมต้องเอาพระราชามารบกัน สร้างความเข้าใจจึงวางอาวุธจึงเทศน์โปรดจนนำไปสู่ความเลื่อมใส จึงยกราชกุมาร ๕๐๐ ท่านเพื่อออกบวชนำไปสู่พระอรหันต์หนุ่มๆ น่าเลื่อมใส ทำให้เทวดาเลื่อมใสมาก โดยพระพุทธเจ้าแสดงสมัยสูตร และกหลวิวาทสูตร ว่าด้วยการทะเลาะวิวาทกันว่าเกิดมาจากอะไร โดยตั้งปัญหาทูลถามว่า การทะเลาะวิวาท  ตระหนี่ ดูหมิ่น ส่อเสียดมาจากอะไร คำตอบคือ มาจากสิ่งที่เป็นที่รัก สิ่งที่เป็นมี ๒ อย่าง คือ ๑)สัตว์ที่เป็นที่รัก คือ บิดามารดา  ญาติ  มิตรสหาย  ๒)สังขารอันเป็นที่รัก คือ รูปร่าง  ถือว่าเป็นที่มาที่ไปนำไปสู่การทะเลาะวิวาท  โดยต้นตอของการทะเลาะวิวาทคือ ฉันทะความพอใจ กามฉันทะ พอใจในการแสดงทรัพย์สิน จึงมอง ฉันทะ ๕ ประการ ฉันทะต้นเหตุมาจากยินดีพอใจสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา ความดีใจความเสียใจ หรือ เวทนาเป็นต้นเหตุของฉันทะ แล้วสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาคือผัสสะ เป็นต้นเหตุต้นเรื่อง จะต้องหาสาเหตุหรือแรงจูงใจอะไรในการนำไปสู่ความขัดแย้งหรือการทะเลาะวิวาท ในกลหวิวาทสูตรจึงเป็นการแสดงธรรมเทวดามองสาเหตุของความขัดแย้งคือ ทิฐิ หาต้นตอต้นแรกของความขัดแย้ง จะต้องใช้ปัญญาในการแก้ด้วยศีลและปัญญา  

โดยเน้นพรหมชาลสูตรจึงเน้นเรื่องศีล นิพพานที่จับต้องได้ถือว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ทิฏฐิธรรมนิพพานถือว่าเป็นนิพพานในทิฐิ จะต้องไปศึกษาอรรถกถาพรหมชาลสูตร จะต้องฟังให้มากกว่าที่สุดสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยใช้หลักพรหมวิหาร อคติ สาราณียธรรม เป็นฐานของการเข้าใจแก้ปัญหาความขัดแย้ง จะต้องมีขันติเมตตา มีความเยือกเย็นด้วยอุเบกขาด้วยการวางใจเป็นกลางอย่างเที่ยงธรรมในสัตว์ทั้งหลายไม่เห็นแก่พวก ไม่เห็นแก่อำนาจ  จึงมองถึงโทณพราหมณ์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเมืองเล็กๆ ซึ่งโทณพราหมณ์เคยสอนกษัตริย์ทั้งหมดสมัยเป็นพระราชกุมารจึงทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเพราะทุกเมืองทุกต้องสารีริกธาตุจึงยกทัพมาเข้ามาเพื่อแย่งชิงพระบรมสารีกธาตุ ทำให้โทณพราหมณ์ถือว่าเป็นครูอาจารย์ของเมืองต่างๆ ทุกคนยอมทำตามเพราะอาศัยการเป็นอาจารย์ที่มีคุณธรรมแต่ไม่มียศตำแหน่ง การแก้ปัญหาของโทณพราหมณ์มีการสื่อสารที่งดงาม สามารถแก้ปัญหาได้อย่างดียิ่งเพราะใช้ความเป็นอาจารย์ทำให้ยุติสงคราม ไม่นำไปสู่สงคราม  วัสการพราหมณ์ผู้ทำให้เมืองวัชชีแตกแยก เพราะวัชชีแข็งแกร่งมากๆ แต่เมืองมคธกองทัพแข็งแกร่งมาก วัสการพราหมณ์สุดยอดของการทำให้แตกแยก ซึ่งอปริหานิยธรรมมีความแข็งแกร่งมากถ้านำไปใช้จริงๆขององค์กร วัชชีปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม วัสการพราหมณ์ทำหน้าที่คนกลาง คนยุแยง เป็นคนทำลายความสามัคคีของวัชชี แต่มองมุมหนึ่งคือรักษาชีวิตคน ซึ่งพระเจ้าอชาติศัตรูพยายามจะยึดวัชชีจึงใช้แผนวัสสการพราหมณ์  อปริหานิยธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีทางเสื่อมนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง  การไกล่เกลี่ยจึงต้องมีเมตตาวจีกรรมใช้ภาษาสุภาพ 

ในอภิธรรมปิฎกที่เป็นต้นตอไปสู่ความขัดแย้งคือ โลภะ โทสะ โมหะ  ชีวิตกับทรัพย์สินอะไรมีค่ามากกว่า เวลาทะเลาะกันอะไรมีค่ามากกว่าให้ผู้ขัดแย้งมีตระหนักรู้ด้วยตนเอง ฟ้องคดีคดีจบศาลตัดสินแต่ความอาฆาตพยาบาทไม่จบ จบด้วยใจจบด้วยการจบสิ้นอาสวะกิเลส จบที่ศาลจบด้วยชาติเดียวจบด้วยกระดาษ แต่การจบที่ไกล่เกลี่ยจบที่ใจให้อภัย “วันพระไม่ได้มีหนเดียว” จึงอาฆาตก่อเวรกันจึงต้องไปศึกษาเปตวัตถุ ใครทำกรรมใดที่นำไปสู่การเป็นเปรต ซึ่งในประเทศไต้หวัน มีพระสงฆ์ไปนั่งฟังว่าคดีนี้เกิดจากโลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุ แล้วสอนธรรมเยียวยาให้กับเยาวชนไม่มีการทำผิดครั้งที่สอง  จึงต้องมีการการขอขมา  ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย ต่อบุคคลทางกาย วาจา ใจ ต่อหน้า ลับหลัง ล่วงเกิน ยอมลำทิฐิ ลมมานะ ไม่ผูกเวรกรรมต่อกัน เป็นมิตรกันต่อกัน เราคือเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเพื่อนทุกข์  เริ่มจากใจ ให้อภัยใจของเรา  ขันติ เมตตาต่อกัน อดทนเอาชนะใจตนเอง เอาชนะใจตนเองมันยากมาก การยอมขอขมาคนอื่นการเอาชนะใจตนเอง ผ้าเช็ดเช้า โคเขาขาดไม่ขวิดใคร  ถอยคนละก้าว มีการขอโทษ  ด้วยการขออโหสิกรรม  จบที่ใจของเราโดยสุดท้ายคนไทยว่า หยุดคิดไม่ดีกับคนอื่น หยุดพูดไม่ดีกับบุคคลอื่น  หยุดทำไม่ดีกับบุคคลอื่น  แต่จึงคิดดีกับผู้อื่น จงพูดดีกับผู้อื่น จงทำดีกับผู้อื่น โดยหยุดที่ตัวเราเอง เพราะการหยุดคนอื่นหยุดยาก  พยายามบอกว่าเราหยุดแล้ว แต่ท่านไม่หยุด เราหยุดสร้างเวรกรรมแล้ว 

ไม่มีความขัดแย้งไม่มีพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์มีความขัดแย้งภายในจึงตั้งคำถามที่พระองค์เผชิญหน้า  แสวงหาหนทางด้วยพระองค์ ด้วยการรู้จักความขัดแย้ง เผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ด้วยมรรควิธี  สามารถนำไปสู่จัดการความขัดแย้ง นำความขัดแย้งไปใช้ประโยชน์  เพราะเมื่อเกิดความขัดแย้งจึงมีโอกาสคุยกันมากขึ้น  เมื่อเกิดความขัดแย้งเชิงลบแล้วนำไปสู่ความขัดแย้งเชิงบวก นำความขัดแย้งสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างผลผลิต  ความขัดแย้งจึงเป็นบุญและเป็นบาป  จึงต้องมองยอดภูเขาน้ำแข็ง  คือ ความขัดแย้งระดับข้อมูล  ความขัดแย้งระดับผลประโยชน์  ความขัดแย้งระดับความสัมพันธ์ ส่วนใต้ภูเขาน้ำแข็ง คือ  ความขัดแย้งระดับโครงสร้าง  ความขัดแย้งระดับค่านิยม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...