วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

"ดร.มหานิยม" พาไปไหว้ พระวัดงามตามรอยพระอริยะ วัดป่าโสมพนัสสกลนคร



เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา อดีต สส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย  หรือ "ดร.มหานิยม" ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฯพณฯภูมิธรรม เวชยชัย พาไปวัดป่าโสมพนัสบ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร   วัดป่าแห่งนี้ ขึ้นชื่อด้านการเผยแผ่พุทธธรรมด้วยการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว โดยมี "พระอาจารย์สุริยา มหาปญฺโญ" เป็นประธานสงฆ์ ตามแนว "หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ" มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 โดยมีผู้ที่เข้ามารับการฝึกปฏิบัติในแต่ละปีเป็นจํานวนมาก

 การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว คือ ให้ระลึกรู้อยู่กับอิริยาบถปัจจุบัน รู้เท่าทันความคิด ไม่ปรุงแต่งจิต ไม่ยึดติดรูปนาม รู้จักตนเอง รู้จักความทุกข์ รู้สาเหตุและทางออกจากทุกข์ สอนให้เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ไม่ยึดติดประเพณีพิธีกรรม โดยพระอาจารย์สุริยา จะดูแลทําการสอนอย่างจริงจัง แต่เรียบง่าย และให้ความเอาใจใส่ผู้ปฏิบัติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้รู้ได้เห็น ได้เป็นได้สัมผัสในหลักธรรมคําสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่การดับทุกข์อย่างแท้จริง

 วัดป่าโสมพนัส มีความเป็นมา ว่า พ.ศ. 2492 - 2494 เป็นช่วงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำภูเพ็ก โดยใช้แรงงานคนในการก่อสร้าง มีการจ้างแรงงานชาวบ้านรอบๆ พื้นที่ โดยเฉพาะ บ้านนาหัวบ่อ บ้านหนองดินดํา การเดินทางมาทํางานมีคนงานบางคนก็เดินทางไปเช้าเย็นกลับ โดยจักรยานบ้าง เดินเท้าเปล่าบ้าง และมีบางส่วนก็สร้างที่พักรอบๆอ่างเก็บน้ำเพื่อไม่ต้องเดินทางกลับ โดยพักอยู่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ จึงเริ่มเกิดชุมชนขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

แต่คนในชุมชนบ้านอ่างจะเดินทางไปประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาในวันสําคัญๆ เช่นการทําบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ที่วัดโพธิ์คํา บ้านนาหัวบ่อ ซึ่งต้องเดินทางไกลและยากลําบากระยะทาง 6-7 กิโลเมตร ในสมัยนั้นถนนหนทางไปมาไม่สะดวก และแต่ก่อนวัดพระธาตุภูเพ็กก็ยังไม่เกิดขึ้น มีเพียงโบราณสถานบนภูเขากลางป่าเท่านั้น ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัยไม่ค่อยมีชาวบ้านขึ้นไปเพราะการเดินทางยากลําบาก แต่บางครั้งก็มีพระธุดงค์ปลีกวิเวกขึ้นไปจําพรรษาบ้าง เพราะเป็นสถานที่สงบวิเวก

เมื่อ พ.ศ.2494 หลวงปู่โสม โสภิโต ซึ่งเป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดสุรินทร์ ได้เดินธุดงค์เพื่อไปจําพรรษาที่พระธาตุภูเพ็ก และเดินมาถึงบริเวณที่กําลังมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในคืนนั้น รุ่งเช้าเมื่อชาวบ้านพบเห็นจึงนําอาหารมาถวายและชาวบ้านก็ได้นิมนต์ท่านอยู่ที่หมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านภูเพ็กไม่มีวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเวลาทําบุญต้องเดินทางไปที่วัดโพธิ์คํา บ้านนาหัวบ่อ

จากนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิ ศาลา ห้องน้ำ เป็นที่พักสงฆ์ขึ้น บริเวณลานหิน ใกล้กับต้นไฮใหญ่ติดกับห้วยวังกอไผ่ ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน โดยไม่มีชื่อวัด แต่ชาวบ้านเรียกที่พักสงฆ์นั้นว่า วัดหลวงพ่อเซ็น ซึ่งเป็นผู้มาริเริมก่อตั้ง

ต่อมา พ.ศ. 2503 พระมหาสม สุมโณ เลขานุการวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ท่านเป็นผู้มีความรู้ และชอบค้นคว้าวิชาโบราณคดีประวัติศาสตร์ได้ติดตามคณะเจ้าคณะพระมหาเถระระดับภาคที่ต้องการเยี่ยมชมพระธาตุภูเพ็ก พร้อมด้วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมและพระมหาเถระระดับภาคอีกจํานวนหนึ่งทุกครั้งที่ท่านมาจะพักที่วัดหลวงพ่อเซ็น พระมหาสมจึงได้ตั้งชื่อให้ว่า วัดโสมพนัส 

 ตลอดระยะเวลาพ.ศ.2494- 2538 วัดโสมพนัสได้เป็นที่พักของพระสงฆ์ มีพระจําพรรษาในบางปีและหลายปีก็เป็นวัดร้างไม่มีพระจําพรรษา

จากการที่มีกลุ่มพระมหาเถระมาศึกษาพระธาตุภูเพ็กครั้งนั้น ทําให้เกิดการสร้างถนนขึ้นและต่อมาพระธาตุภูเพ็ก จึงเป็นโบราณสถานที่รู้จักทั่วไป โดยพระมหาสมได้ร่วมกับคณะสงฆ์อําเภอพรรณานิคมและร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาก่อสร้างถนนหนทางขึ้นวัดพระธาตุภูเพ็ก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การเปลี่ยนแปลงชื่อวัด ระยะแรกชาวบ้านเรียกชื่อเป็นวัดหลวงพ่อเซ็น ต่อมา วัดโสมพนัส  วัดป่าโสมพนัสสามัคคีธรรม ถูกตั้งชื่อในสมัยที่หลวงพ่อสนใจ จําพรรษาอยู่ระหว่างพ.ศ.2531- พ.ศ.2534 และ “วัดป่าโสมพนัส” ถูกตั้งชื่อในสมัยที่พระอาจารย์สุริยา มหาปญฺโญ มาจําพรรษาที่วัดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 ถึง ปัจจุบัน

 วัดป่าโสมพนัสได้มีการย้ายจุดที่ตั้งวัดตามลําดับอยู่ 2-3 ครั้ง เนื่องจาก การขยายตัวของหมู่บ้านและการก่อสร้างโรงเรียนบ้านภูเพ็ก จาก พ.ศ.2494 จน พ.ศ.2543 มีการขยายบริเวณวัดออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยญาติธรรมจากกรุงเทพฯได้ซื้อที่ดินทํากินจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณรอบๆ ทําให้ปัจจุบันวัดป่าโสมพนัสมีพื้นที่โดยประมาณ 60 ไร่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...