วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567

​"รัดเกล้า" ชี้ราคายางสูงขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากปราบปรามการลักลอบนำยางเถื่อนข้ามพรมแดนของรัฐบาล



​"รัดเกล้า" ชี้ ราคายางในประเทศสูงขึ้นส่วนหนึ่ง เป็นผลจากมาตรการ ปราบปรามการลักลอบนำยางเถื่อนข้ามพรมแดนของรัฐบาล วอนโลกโซเชียล อย่าบั่นทอนกำลังใจคนทำงาน ดิสเครดิตรัฐบาลไปเรื่อย​

 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567   นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบโต้กรณีที่มีกลุ่มคนบนโลกโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบนช่องทาง X (ทวิตเตอร์) ที่สร้างกระแสตั้งข้อกังขาถึงการทำงานของรัฐบาลว่าเคลมผลงานราคายาง​ ทั้ง ๆ ที่ราคายางที่ขึ้นนั้นเป็นผลพวงจากราคายางในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่ปฏิเสธที่ราคายางในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจริง​ ในสภาวะขณะนี้ที่ยางขาดตลาด เป็นปรกติที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกจะมีบทบาทในการชี้นำราคาในตลาดโลกให้เพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ และไม่จีรัง มีขึ้น มีลง เป็นปรกติของการตลาด

ฉะนั้น มองได้ว่าราคาตลาดโลกเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคายางเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่วอนประชาชนทำความเข้าใจด้วยว่าในบริบทของประเทศไทยนั้น แท้จริงมีอีก​หนึ่งปัจจัยที่กดทับไม่ให้ราคายางขึ้นตามตลาดโลกอยู่นั่นคือ “การลักลอบนำเข้ายางเถื่อนจากประเทศเพื่อนบ้าน” ซึ่งตามบริเวณที่มีชายแดนติดกัน มักจะมีการลักลอบส่งเข้ามาในประเทศไทย​ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้เป็นปริมาณสำรองกันชน​ หรือ Buffer Stock เพื่อกดราคาการรับซื้อยางในประเทศ ให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น   เช่น​ การมี​ Buffer Stock ปริมาณ 450,000 ตัน สามารถคิดได้เป็นราว 9% ของปริมาณผลผลิตต่อปีในไทย สามารถใช้เป็นกันชน​ กล่าวคือใช้เป็นอำนาจต่อรองกับการรับซื้อยางในประเทศของพ่อค้าคนกลางในประเทศได้​ กดราคายางในประเทศให้ต่ำ ได้นานมากกว่า 45 วัน

“ขอชวนให้ประชาชน ให้กำลังใจคนทำงาน และรู้สึกภาคภูมิใจในการทำงานของรัฐบาลตนเอง ที่สามารถ ออกมาตรการ ป้องกัน การทะลัก เข้ามาของยางเถื่อนเหล่านี้ได้  มากกว่าการตั้งข้อการขาและดิสเครดิตการทำงานของรัฐบาลบนโลกโซเชียลมีเดีย” นางรัดเกล้ากล่าว

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า นอกจากการปิดกั้นการนำเข้ายางจากพม่าแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังประสพความสำเร็จในการทำแอพพลิเคชั่น (Application) ที่สามารถทำให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตและมาตรฐานของสินค้ายางพาราจากไทยว่าไม่ได้มาจากการทำลายป่าหมาย ตามกฎหมายว่าด้วย EUDR (EU Deforestation Regulations) ที่กลุ่มประเทศนำเข้าในอียูได้ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2566 และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม 2567 นี้ มีผลทำให้ผลผลิตยางพาราจากไทยได้รับความเชื่อมั่นสูงขึ้นจากประเทศคู่ค้า และมีความสามารถในการแข่งขันเป็นที่ยอมรับของตลาดมากขึ้น เมื่อจีนและญี่ปุ่นรู้ว่าต่อไปมีแนวโน้มว่ายางคุณภาพดีจากไทยจะเป็นที่ต้องการจากประเทศทางตะวันตกมากขึ้น จึงเร่งไล่ซื้อเก็บของดีเข้าสต๊อกเอาไว้ก่อนที่คู่แข่งจะเข้ามาแย่งซื้อของในตลาด เมื่อเร็วๆนี้ก็เพิ่งจะมีข่าวออกมาว่า จีนตกลงซื้อยางล็อตใหญ่จากไทย 200,000 ตันมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาททีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...