วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พี่ศรีหนุนพระ-เณรแยกม็อบ ถกแก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์2505

 


เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2563  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระวัดสร้อยทอง และนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญไทย ถกเรื่องมติของมหาเถรสมาคม ห้ามพระสงฆ์ และสามเณร ยุ่งกิจกรรมการเมือง ในรายการ #ถามตรงๆกับจอมขวัญ  เวลา 17.15 น. ที่ ไทยรัฐทีวี ช่อง 32 ทั้งนี้นายศรีสุวรรณไม่เห็นด้วยกับพระสงฆ์และสามเณรร่วมชุมนุมกับคณะราษฎร แต่เห็นด้วยที่จะแยกชุมนุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับพระธรรมวินัย จะใช้พุทธมณฑล จ.นครปฐมก็ได้

https://www.youtube.com/watch?v=wVTjU7nPuZ0


ทั้งนี้เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ได้รายงานรายละเอียดว่า 
          
ศรีสุวรรณ : เก็บรวบรวมข้อมูลมาโดยตลอด แล้วฟังว่าทางมหาเถรสมาคม ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะทำอะไรบ้าง แต่ก็เงียบอยู่ จนเห็นว่าพระเริ่มออกมาม็อบกันมากขึ้น ทั้งใช้โทรโข่งเดินปราศรัย แบบนี้คิดว่าไม่เหมาะสม เพราะเรานับถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก พอมาเห็นการกระทำของพระภิกษุ-เณรเหล่านี้ ทำให้ไม่สบายใจ จริงๆ ม็อบเป็นเรื่องปกติ แต่ส่วนตัวไม่อยากให้พระ-เณร เข้ามาร่วมม็อบ จึงใช้วิธีการร้องเรียนให้หน่วยงานที่เขามีหน้าที่โดยตรงมาดำเนินการเอาผิดกับพระที่ออกมา
          
พระมหาไพรวัลย์ : มองว่าไม่เป็นธรรม สังคมไทยเน้นการใช้อำนาจมากกว่าการใช้ความเป็นธรรม คือพอมีปัญหาก็คิดแต่วิธีการจะใช้อำนาจ ทั้งคำสั่ง กฎ ไปกดทับคนกลุ่มหนึ่งที่พยายามจะออกมาพูดถึงประเด็นที่เป็นปัญหา ทำให้คนที่ออกมาเรียกร้องไม่สามารถจะใช้สิทธิโดยชอบธรรมของตนเองได้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ไม่ชอบธรรม ไม่เคยถามความรู้สึกนึกคิดพระที่มีต่อพระราชบัญญัติตัวนี้ ทำให้เห็นกรณีพระโดนจับสึกโดยไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำให้เห็นว่ากฎบางข้อมันละเมิดสิทธิของพระ-เณร
          
ศรีสุวรรณ : สังคมมนุษย์ย่อมมีกฎ ระเบียบ เพื่อให้คนหมู่มากอยู่กันด้วยความสงบ ถ้าไม่มีกฎมีระเบียบ สังคมก็จะวุ่นวายขัดแย้ง คิดว่าพุทธศาสนาก็เป็นหลักการเดียวกัน แน่นอนว่าคณะสงฑ์ก็ต้องมีหลักธรรมวินัย ฉะนั้นฝ่ายการเมืองจึงมีกฎหมายเพื่อให้พระสงฆ์ปกครองดูแลกันเองได้ใช้เป็นเครื่องมือควบคุมดูแล ไม่ให้พระ-เณร ออกมากระทำการที่ผิดเพี้ยนไปจากพระธรรมคำสั่งสอน จึงมีกฎหมาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ปี 2505 ออกมาบังคับใช้ โดยมีการแก้ไขกันมาเป็นลำดับ
          
พระมหาไพรวัลย์ : นักปรัชญาด้านกฎหมายคนหนึ่งพูดไว้ชัดเจนว่า ความยุติธรรมคือเจตนาภรณ์ของการใช้กฎหมาย แต่ถ้ากฎหมายไม่ยุติธรรม จะเรียกว่ากฎหมายได้อย่างไร โดยการเมืองกับศาสนาไม่มีทางแยกออกจากกันได้ ซึ่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์ เกิดจากทางการเมือง สำนักงานพุทธมีที่มาจากการเมือง
          
ศรีสุวรรณ : ยืนยันว่าอยู่ในสังคมต้องมีระเบียบวินัย ถ้าพระสงฆ์อยากทำอะไรตามใจก็ควรเป็นฆราวาส ไม่ควรเข้ามาอยู่ในแวดวงนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ใช้ช่องทางที่มีอยู่ดำเนินการไปตามนั้น แต่การที่พระ-เณร ออกมาประท้วงการเมือง รู้อยู่ว่าออกมาเพราะอะไร มันกระทบต่อจิตใจคนทั้งประเทศ การที่พระสงฆ์ออกมาชุมนุมแปลว่าเห็นด้วยกับกลุ่มม็อบ การที่มีพฤติกรรมแบบนี้มันไม่ถูกต้อง การจะขอใช้สิทธิตัวเองนั้นทำได้ แต่ไม่ควรออกมาผสมกับม็อบที่ทำผิดกฎหมายเหล่านี้
          
พระมหาไพรวัลย์ : การที่พระออกมาพื้นที่ชุมนุม ไม่ได้หมายความว่าจะทำอะไรตามอำเภอใจ ถ้าพระสงฆ์ละเมิดธรรมวินัยข้อไหนก็ดำเนินการไป การที่บอกว่าทำผิดควรต้องบอกให้ชัดว่าทำผิดข้อไหน อย่างไร และอย่าพยายามบอกว่าการออกมาประท้วงเป็นเรื่องสกปรก ไม่อยากให้มองอย่างนั้น
          
พระมหาไพรวัลย์ : ควรให้พระสงฆ์กลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความไม่เป็นธรรมของบ้านเมือง ออกมาพูดบ้าง เพราะสังคมกับการเมืองมันไปด้วยกัน แล้วทำไมพระสงฆ์ถึงออกมามีบทบาทไม่ได้ การออกมาด้วยท่าทีอย่างไรต่างหากที่ต้องดูจุดนี้ และอยากให้ดูเป็นข้อๆ ไป
          
ศรีสุวรรณ : เราเห็นพระเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทยมาโดยตลอด ไม่ใช่เฉพาะแค่ช่วงนี้สมัยนี้ แต่คิดว่าไม่อยากให้ทางพระมายุ่งเกี่ยวกับทางโลก ถ้ามีปัญหาภายในเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ก็ควรที่จะไปพูดคุยกันเพื่อหาข้อยุติ ขออย่ามายุ่งเรื่องทางโลก เพราะจะทำให้คนมองพระ-เณรมัวหมองไปด้วย
          
พระมหาไพรวัลย์ : เป็นประเด็นที่ควรจะต้องพูด เพราะทุกวันนี้ศาสนาพุทธถูกโจมตีอยู่ตลอด ว่าได้รับสิทธิมากกว่าศาสนาอื่นๆ คณะสงฆ์บางกลุ่มก็ไม่ใช่ว่าจะเห็นด้วยกับโครงสร้างระเบียบที่เป็นอยู่แบบนี้ และอยากให้ทุกอย่างเป็นเรื่องที่เสมอภาคต่อกัน แม้แต่กับคนที่ไม่มีศาสนาก็ตาม
          
ศรีสุวรรณ : ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียเปิดกว้าง สามารถให้ท่านเสนอปัญหาข้อเรียกร้องมากมายในพื้นที่สาธารณะ และถ้ามีพระสงฆ์เห็นด้วยกับข้อเสนอเหล่านี้ ก็มาตกลงหารือกันเพื่อให้คนอื่นมาร่วมมือกัน แต่สำหรับผมคิดว่าข้อเสนอแบบนี้พระองค์อื่นเขาไม่ค่อยเห็นด้วย ฉะนั้นก็ลองทำขึ้นมา

อย่างไรก็ตามเฟซบุ๊ก Phra Narong Sangkhawichitได้โพสต์โดยสรุปว่า ...พระเลือกตั้งได้/ไม่ได้..ประเทศใดบ้าง....เพิ่มบังคลาเทศ ในเอเซีย เท่าที่ทราบดูเหมือนว่าในเอเซีย ประเทศที่มีประชากรนับถือพุทธศาสนา ประเทศที่รัฐบาลไม่อนุญาตมีเพียงประเทศไทยและประเทศภูฐานเท่านั้น 

ส่วนทิเบตโดยรัฐบาพลัดถิ่น อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ศรีลังกา  บังคลาเทศ อนุญาตให้พระได้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ตามรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย  นอกจากนั้น ทิเบตพลัดถิ่น อินโดนีเซีย ศรีลังกา และอินเดีย ยังอนุญาตให้พระสามารถเป็นสมาชิกและผู้นำทางการเมืองได้ สำหรับกรณีประเทศไทยนั้นปัจจุบันเดิมพรรคอนาคตใหม่คงเป็นพรรคการเมืองเดียวที่กล้ายืนยันสิทธิ์การเลือกตั้งของพระสงฆ์นี้ตามระบอบประชาธิปไตยว่าสามารถกระทำได้นั้นเพราะเพื่อให้รัฐธรรมนูญได้ยืนยันเจตนารมณ์แห่งสิทธิและเสรีภาพโดยเท่าเทียมและเป็นธรรมต่อพลเมืองทุกคน ส่วนพระจะไม่เลือกตั้งเพียงเพราะข้อวัตรปฏิบัติ หรือความเข้าใจทางพระธรรมวินัยเป็นเรื่องสิทธิของท่านที่สามารถกระทำได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...