วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

อธิการบดีมหาจุฬาฯแนะนำอริยสัจโมเดล ประยุกต์แก้ความขัดแย้งสังคมไทย


พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาจุฬาฯ แนะนักวิชาการสันติวิธีนำอริยสัจโมเดล ประยุกต์แก้ความขัดแย้งสังคมไทย

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ห้องสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมจร ได้บรรยายพิเศษในการฝึกอบรมการเขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร TCI ฐาน 1 ในหัวข้อ "การเขียนเพื่อสันติภาพ"  ซึ่งดูแลการฝึกอบรมโดยพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ ผศ.ดร. บรรณาธิการ พระมหาปิยะนัฐ ปิยรตโน ผู้ช่วยบรรณาธิการ พระสมพร ปสนฺโน ผู้ช่วยบรรณาธิการ พร้อมทีมงาน และกำกับดูแลโครงการโดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร         

พระราชปริยัติกวี กล่าวว่า เขียนอย่างไรให้สำเร็จ เขียนอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ ในปัจจุบันมีความง่ายกว่าในอดีตที่ผ่านมาเพราะมีเครื่องมือมากมาย  เราในฐานะนักวิชาการที่จะนำเสนอผ่านงานวิชาการในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทุกระดับในปัจจุบันในสังคมไทย การเสนอทางวิชาการจึงมีความสำคัญ เราจึงต้องทำตนให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือเป็นอันดับแรก เราในฐานะเป็นนักวิชาการจะต้องทำตนให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งปัจจุบันมีความง่าย สร้างช่องทางประชาสัมพันธ์ให้สังคมรู้จักเรา จะช่วยให้งานของเราน่าสนใจ       

งานวิชาการเกี่ยวกับสันติศึกษา จะต้องมีหลักพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งในบทความ โดยยึดกรอบอริยสัจ 4  โดยไปอ่านหนังสือพุทธธรรมเป็นฐานในการนำเสนอ งานทางวิชาการสันติศึกษาจะต้องเป็นงานที่นำเสนอแก้ปัญหาจริงๆ จะต้องเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย โดยเริ่มต้นจากสภาพปัญหาคือตัวทุกข์จริงๆ    


งานวิชาการด้านสันติศึกษาไม่ใช่เพียงบริโภคทางวิชาการเท่านั้น แต่จะต้องยกระดับไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งของสังคม จึงต้องวิเคราะห์ว่าอะไรคือความปัญหาความขัดแย้งจริงๆ ต้องสามารถศึกษาแล้วนำเสนอผ่านงานวิชาการออกมาให้ได้ ต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาให้ได้ ความขัดแย้งทั้งปวงไม่มีสาเหตุเดียว ส่วนมากมักจะมีหลายสาเหตุ แล้วมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหา หาสาเหตุหลักให้เจอ นั่น สมุทัย  จากนั้นทำอย่างไรให้หมดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน นิโรธ คือ ยกตัวกรณีตัวอย่างในการแก้ปัญหาได้ ต้องนำมารีวิวว่าวิธีการนี้ใช้ได้ผลมาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงนำ "มรรค" ไปไว้ข้อสุดท้าย คือ วิธีการแก้ปัญหา แต่สิ่งสำคัญเราจะต้องนำเสนอคุณสมบัติของผู้จะนำเครื่องมือไปใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย โดยให้เห็น 4 ส่วน คือ ส่วนวิธีการ และส่วนผู้จะนำวิธีการไปใช้      

บ้านเมืองเรามีวิธีการในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ถือว่าไม่มีปัญหาแล้วด้านเครื่องมือวิธีการ เรามีเครื่องมือสันติวิธี เช่น สถาบันพระปกเกล้ามีสันติวิธี  หลักสูตรสันติศึกษา มจร มีเครื่องมือพุทธสันติวิธี ตัววิธีการไม่มีปัญหา แต่บุคคลที่จะนำวิธีการไปใช้มีปัญหา จึงสะท้อนว่าบุคคลที่จะนำวิธีการไปใช้นั้นควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร? บทความจึงต้องเดินตามกรอบของอริยสัจ 4 โดยศึกษาตามแนวทางของพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ เสนอแนะบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำวิธีการไปใช้ควรจะเป็นอย่างไร? พระพุทธเจ้าเวลาจะส่งพระสงฆ์สาวกไปจัดการความขัดแย้งในมิติต่างๆ จะใช้ต่างกัน เวลาจะไปแก้ปัญหาความขัดแย้งกับบุคคลที่มีความดุร้าย จะส่งสาวกที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใช้พระโมคคัลานะ หรือ ใช้ที่พระที่เคารพนับถือ แล้วแต่กรณี การเขียนบทความจะต้องเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ซึ่งหมายถึง บทความอันจูงใจคนให้คล้อยตามเชื่อถือด้วยหลักฐานทางวิชาการ ส่งผลให้เกิดประโยชน์ส่วนตนและเกิดประโยชน์ต่อสังคม เราจึงมีสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ เพราะปัจจุบันมีหนังสือแปลจากต่างประเทศเป็นจำนวน เราจึงต้องผลิตผลงานทางวิชาการให้มากที่สุด        


ดังนั้น ในท้ายสุด พระราชปริยัติกวี ได้ให้กำลังใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่านในการพัฒนางานเขียน ผลิตงานทางวิชาการเพื่อนำเสนอสังคม การเขียนให้ได้ตีพิมพ์คือการเขียนตามกรอบอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นับว่าเป็นการบรรยายที่ล้ำค่าสอดรับกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาส...