วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเทพญาณวิเทศ ขึ้นชั้นรองสมเด็จที่ "พระพรหมวชิรญาณ"

       

  




เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2563  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสถาปนาสมณศักด์ 2 ฉบับความว่า 

 


ทั้งนี้เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้รายงานว่า พระเทพญาณวิเทศ (โรเบิร์ต สุเมโธ) หรือ พระอาจารย์สุเมโธ เป็นพระเถระในสายพระป่าในประเทศไทย ศิษย์ชาวตะวันตกองค์แรกของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ใน ประเทศไทย วัดอมราวดี ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ตราบจนเกษียณตนเองจากตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2553 และเป็นผู้นำองค์สำคัญในการเผยแพร่คำสอนเรื่องอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนามาสู่สังคมชาวตะวันตก 

พระเทพญาณวิเทศ (โรเบิร์ต สุเมโธ) เป็นชาวอเมริกัน มีนามเดิมว่า โรเบิร์ต แคน แจ็คแมน (Robert Kan Jackman) เกิดที่เมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ท่านออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) เพื่อมาบวชเป็นพระภิกษุที่จังหวัดหนองคาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มีโอกาสไปอยู่กับพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในการสอนกรรมฐาน ณ วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ระเบียบการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อชาในวัดหนองป่าพงนี้เป็นที่รู้กันว่าเข้มงวดและเคร่งครัด โดยเน้นที่ความเรียบง่ายและเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย พระอาจารย์สุเมโธได้ฝึกปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อชาเป็นเวลาถึง 10 ปี จึงได้รับเชิญจากมูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษ (The English Sangha Trust) ให้เดินทางไปอยู่ที่ลอนดอน ร่วมกับคณะศิษย์ของหลวงพ่อชา อีก 3 รูป

มูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษมีจุดมุ่งหมายจะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฝึกพระภิกษุในประเทศตะวันตก โดยมีสำนักสงฆ์บ้านแฮมสเตด (The Hampstead Buddhist Vihara) ณ เมืองลอนดอนเป็นจุดเริ่มต้น สำนักสงฆ์แห่งนี้มีความเหมาะสมพอสมควร แต่คณะสงฆ์ก็เห็นข้อดีของการมีสิ่งแวดล้อมที่สงบกว่า เช่น บรรยากาศในชนบท จึงพยายามตั้งวัดป่าขึ้นในประเทศอังกฤษ และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) โดยดัดแปลงบ้านที่ทรุดโทรมหลังหนึ่งในเวสต์ซัสเซกซ์ (West Sussex) ในเวลาต่อมาสถานที่นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า Chithurst Buddhist Monastery หรือวัดป่าจิตตวิเวก (Cittaviveka) นั่นเอง

เมื่อมีวัดที่เหมาะสมขึ้นแล้ว คณะสงฆ์จึงเริ่มเติบโต มีจำนวนพระภิกษุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งเริ่มมีการฝึกสีลธรา (Siladhara) มีทั้งผู้ที่ต้องการจะมาฝึกมาปฏิบัติในวัด และผู้ที่ต้องการจะถวายปัจจัยสนับสนุนวัด ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ต้องก่อตั้งวัดสาขาเพิ่มอีกหลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งศูนย์กลางการสอน ปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ขึ้น ณ วัดอมราวดี (Amaravati Buddhist Monastery) ในปี ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2527) วัดแห่งนี้ต่อมาเป็นสถานที่ที่พระอาจารย์สุเมโธพำนักอยู่เป็นส่วนใหญ่

สมณศักดิ์

5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระสุเมธาจารย์ 

12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชสุเมธาจารย์ พิศาลภาวนากิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 

28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพญาณวิเทศ วิเศษโพธิธรรมคุณ วิบูลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วธ.ร่วมสืบสานพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับคณะสงฆ์ ...