วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

อ.สุจินต์เทศน์กัณฑ์ใหญ่! พระภิกษุขอใช้สิทธิยุ่งการเมือง ขัดหลักพระวินัยจะบวชทำไม


วันที่ 12 พ.ย.2563 อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ นักบรรยายธรรม มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.) ได้นำเสนอประเด็นเรื่อง "พระภิกษุยุ่งการเมือง บวชทำไม" เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก ชมรมบ้านธัมมะ มศพ. มีเนื้อหาดังนี้ พระไม่รู้จักตัวเองว่าเป็นพระพระภิกษุขอสิทธิทางการเมืองขอเสรีภาพแต่ขัดหลักพระธรรมวินัยบวชทำไม อ้างมายาคติ พระทำไม่ได้ที่จะสละ ที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง แล้วบวชทำไม และกิจหน้าที่ของพระภิกษุที่บวชมาคืออะไร?          

พระภิกษุไม่รู้จักว่าตนเองเป็นพระภิกษุ เป็นเชื้อสายศากยะบุตร บุตรของพระพุทธเจ้า บวชมาเพื่อสละความเป็นคฤหัสถ์ ไม่ประพฤติแบบคฤหัสถ์ ละกิเลส ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่งด้วยจุดประสงค์ คือ การดับกิเลส เพราะฉะนั้น การกระทำใดที่ทำดั่งเช่นคฤหัสถ์ที่เคยทำได้ แต่ภิกษุทำไม่ได้ เช่น รับและยินดีในเงินและทอง มีส่วนร่วมกับการเมือง การเลือกตั้ง การชุมนุม เดินประท้วง เหล่านี้ควรถามตัวเองว่าเป็นไปเพื่อมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา หรือเป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลส แล้วต่างจากคฤหัสถ์อย่างไร บวชทำไม?          

เสรีภาพ ความเป็นอิสระ แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ความดี คฤหัสถ์มีเสรีภาพ อิสระ ที่จะกระทำ แต่ อิสระเสรีภาพนั้น เป็นไปในขอบเขตที่ถูกต้องในคุณธรรมความดี และ ขอบเขตของคฤหัสถ์ ที่จะไม่ไปละเมิดล่วงสิทธิเสรีภาพคนอื่น จนถึง กระทำความเดือดร้อนให้คนอื่น ทั้งทางกาย วาจา เป็นต้น พระภิกษุ มีสิทธิเสรีภาพ ตามระเบียบและขอบเขตของพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว บวชเพื่อสละ ละทุกสิ่ง เว้นการกระทำดั่งเช่นคฤหัสถ์ มีการรับเงินทอง หรือ สนใจการเมือง มีส่วนร่วมกับการเลือกตั้ง หรือไปชุมนุมเกี่ยวกับการเมือง          

บรรทัดฐานจากการอ้างว่าภิกษุต่างประเทศก็ร่วมการเมือง พระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับให้ใครบวชทุกรูป แต่เมื่อบวชแล้ว ภิกษุทุกรูปมีกฎระเบียบและเสรีภาพตามพระธรรมวินัย สมกับเป็นเชื้อสายศากยบุตร บุตรของพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าก็ต้องประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า          

พระธรรมวินัย พระวินัยบัญญัติ ต่างหากที่เป็นบรรทัดฐานสำคัญที่ภิกษุทุกรูปจะต้องประพฤติตาม ไม่ใช่มีภิกษุต่างประเทศ ประเทศอื่นๆ ที่ประพฤติไม่ตามพระวินัยแล้วเอาตัวอย่างที่ผิดอ้างในสิ่งที่ผิด เพื่อจะทำผิดเป็นบรรทัดฐานของตน แต่ไม่ตามพระธรรมวินัย          

บวชแล้วควรสำนึกว่าตนเองเป็นพระภิกษุที่สละทุกสิ่ง สละอาคารบ้านเรือน สละกิจการงานของคฤหัสถ์ ที่จะประพฤติขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง ศึกษาพระธรรม ไม่กระทำตนดั่งเช่น คฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงกิจของพระภิกษุ มี 2 อย่าง คือ วิปัสสนาธุระ การอบรมเจริญปัญญาดับกิเลส และ คันถธุระ การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า          

คฤหัสถ์ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่เคารพพระธรรม พระภิกษุไม่ศึกษาพระธรรม ไม่เคารพพระธรรม เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์ก็ไม่รู้จักพระภิกษุว่าคือใคร ต้องมีหน้าที่อะไร พระภิกษุก็ไม่รู้จักตนเองว่า บวชมาเพื่ออะไร ใครเป็นศาสดาของตน และ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้วต่างหากที่เป็นศาสดา เป็นบรรทัดฐานที่ต้องประพฤติตาม          

วิกฤตพระพุทธศาสนา จึงมีมาเรื่อยๆ นับวันมีแต่มากขึ้น เพราะใครอยากทำอะไรก็ทำ โดยไม่สนใจพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ไม่รู้ก็ไม่คิดว่าเป็นวิกฤตพระพุทธศาสนา เพราะยังไม่รู้จักว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคืออะไร

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...