วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"รองอธิการบดีมจร" แนะนำหลักไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง แบบธรรมาธิปไตย สร้างสังคมสันติสุข


เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2563 ที่ผ่านมา พระเทพปวรเมธี รศ.ดร.รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 2562 ภายใต้หัวข้อ  #บทบาทผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ความโดยสรุปว่า ตราบใดที่คนมีกิเลสย่อมมีความขัดแย้ง ที่ขัดแย้งเพราะเราตีความคนละมุมกัน บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยจึงต้องทำหน้าที่ช่วยเหลือคู่พิพาทในการพยายามเจรจาต่อรองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยจะต้องทักษะในการสื่อสาร มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะการวางแผน  

"ราจึงต้องสร้างสังคมสันติสุขจะต้องอุดมคุณธรรม พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องทุกข์กับความดับทุกข์ ความขัดแย้งมีความทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงเป็นแพทย์ผู้รักษาโรคให้คนทั้งปวง ลักษณะของผู้ไกล่เกลี่ยจึงมี 3 ประเภท 1) ผู้ไกล่เกลี่ยแบบอัตตาธิปไตย 2)ผู้ไกล่เกลี่ยโลกาธิปไตย 3)ผู้ไกล่เกลี่ยแบบธรรมาธิปไตย  การพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีศรัทธา สติ และปัญญา" พระเทพปวรเมธี กล่าวและว่า     

การพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยตามแนวทางพระพุทธศาสนา จะต้องภาวนา 4 คือ 1)กายภาพ ให้มีความน่าเชื่อถือ 2)พฤติภาพ  มีต้นแบบในทางที่ดี  3)จิตตภาพ พัฒนาจิตให้มีความเข้มแข็ง  4)ปัญญาภาพ ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาหรือการทำงานเพื่อแก้ความขัดแย้ง จะทำให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยมืออาชีพ  สิ่งสำคัญจงต้องปราศจากอคติทั้งปวง  เพราะชอบ ชัง เขลา กลัว พร้อมเพียรบำเพ็ญพรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุธรรม เบญจศีล เบญจธรรม จริต สาราณียธรรม สัปปุริสธรรม มรรค  สิ่งที่พึงตระหนักมากคือ ปิยวาจา วาจาอันเป็นที่รัก เพราะอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดคือ วาจา ใช้วาจาให้เกิดขัดแย้งหรือเกิดสันติสุขได้ ผู้ไกลี่ยเกลี่ยจึงเป็นต้องมีศีล 5 เป็นพื้นฐานประกันชีวิตทรัพย์สิน ครอบครัว สังคม และสติปัญญา คุณค่าของการไกล่เกลี่ยจึงต่างกันคือ  #ผมกำลังก่ออิฐ #ผมกำลังก่อกำแพง  #ผมกำลังก่อสร้างเมือง          

ดังนั้น จึงสรุปว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ภายใต้ 5 การ คือ 1) หลักการคือ กฏระเบียบ กฏหมาย พระธรรมวินัย นโยบาย ข้อตกลงMou 2) กระบวนการคือ การให้การบริการ เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ย 3)  วิธีการคือ ฝึกพัฒนา 4)ปฏิบัติการคือ มีความรู้ดี  มีคุณธรรม นำสันติสุข   5)สิทธิการ คือ ความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ไม่ต้องขึ้นศาล มีความเป็นธรรมาธิปไตย win win ในโอกาสสุดท้ายผู้เข้าอบรมได้ถวายมุทิตาเนื่องในโอกาสอายุวัฒนมงคล             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...