วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พระเตือนสติ! จะเป็นประชาธิปไตยแห่งการตื่นรู้ หรือมุ่งสู่ประตูแห่งการเป็นประชาธิปตาย


วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า  จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่การแสดงออกซึ่งความรุนแรงทางวาจาด้วยการเสียดสี และด่าทอ จนในที่สุด สถานการณ์ได้ลุกลามจนก่อให้เกิดการทำร้าย และบาดเจ็บระหว่างพี่น้องชาวไทยนั้น หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงขอส่งความห่วงใยมาถึงผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันสร้างประชาธิปไตยแห่งการตื่นรู้ ดังต่อไปนี้ 

1: ตามที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็นพุทธมามกะตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งการประนีประนอม" จึงขอให้รัฐสภาโปรดนำพระราชดำรัสของพระองค์ใส่เกล้าใส่กระหม่อม และน้อมนำมาเป็นหัวใจหลักในการพูดคุยปรึกษาหารือ เพื่อแสวงแนวทางที่ดีที่สุดต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สามารถสนองตอบความต้องที่แท้จริงของทุกฝ่ายโดยสันติวิธี 

2: อุดมการณ์หลักของประชาธิปไตยนั้น เน้นเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ควรเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายได้มีเสรีภาพแสดงความรู้สึก และความต้องการที่แท้จริงผ่านช่องทางต่างๆ โดยสันติวิธี  อีกทั้งบังคับใช้กฏหมายต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยความเสมอภาพ บนฐานของความคิดและความเชื่อที่ว่า ไม่ว่าเราจะเป็นใคร เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เราต่างก็เป็นคนไทย เป็นพี่เป็นน้องที่มีสายเลือดของความเป็นไทย ขอให้ดึงทุกเข้าสู่เวทีพูดคุย อย่ากันคนเห็นต่างออกไป 

3: การสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตามวิถีแห่งประชาธิปไตยนั้น มิอาจสร้างขึ้นมาได้ด้วยการใช้ความรุนแรงทั้งทางตรงด้วยอารมณ์ความเกลียดชัง การแบ่งเขาแบ่งเรา การด่าทอ ประทุษร้ายทำลายกัน และความรุนเชิงโครงสร้างภายใต้ความอดอยากหิวโหย การเอารัดเอาเปรียบ การบังคับใช้กฏหมายภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ไม่ทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม  ขอให้ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรงข้างนอก แล้วช่วยกันไขแก้ไขความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ผ่านเวทีและกลไกต่างๆ โดยสันติวิธี 

4: เมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชาติบ้านเมืองยืนยันที่จะใช้หลักสันติวิธีเป็นเครื่องมือพัฒนาวิถีประชาธิปไตยให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืนแล้ว ไม่ว่าจะเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคอะไรก็ตาม ขอให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้นต่ออุดมการณ์และความเชื่อที่แตกต่าง และระมัดระวังมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสร้างเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...