วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

อะไรคือการเมือง สัมพันธ์กับพุทธศาสนาอย่างไร



การเมือง (อังกฤษ: politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา (วิกิพีเดีย) 

การเมือง (Politics) หมายถึง การจัดสรรอำนาจรัฐแจกแจงแบ่งปันทรัพยากรที่มีคุณค่าซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชนน์สุขกับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน

ซึ่งการจัดสรรอำนาจ หมายถึง กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจททางการเมือง ซึ่งถูกกำหนดกฏเกณฑ์และกติกาให้เป็นไปตามรูปแบบหรือระบบการเมืองที่เป็นอยู่ โดยที่ความแตกต่างของระบบการเมืองทำให้กระบวนการเพื่อได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองแตกต่างกันออกไป

ส่วนการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีความหมายครอบคลุมถึงการใช้อำนาจในการบัญญัติและบังคับใช้กฏหมายและระเบียบทั้งมวลของสังคม เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างสงบสุข ตลอดจนอำนาจในการจัดสรรทรัพยากร และการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างเสมอภาคทั่วหน้า

ศาสนากับการเมือง

พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในท่ามกลางทิฎฐิหรือทัศนะของปราชญ์หลายหลายและมากมายไปด้วยวิธีการปกครองของผู้นำหลายระบบ และชาติพันธุ์ แต่วิิธีการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าแม้จำต้องเข้าไปเก่่ยวข้องกับกลุ่มนักปครองหรือนักการเมือง แต่วิธีการของพระพุทธองค์ไม่เคยสั่งสอนให้พุทธบริษัทหรือสาวกของพระองคืต้องลงสู่ภาคสนามเพื่อเรียกร้องความต้องการที่เอื้อประโยชน์ต่อนักบวช ปล่อยให้เรื่องของอาณาจักรเป็นวิธีการของนักปครอง แม้ในบางคราวสถาบันพระพุทธศาสนาจะถูกเบียดเบียนจากนักการเมือง ชุมชน พระพุทธองค์มุ่งพร่ำสอนให่พระสงฆ์ปฏิบัติตนตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด อยู่ในหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นประเด็นสำคัญ มุ่งทำงานด้านสร้างปัญญาให้ประชาชนยอมรับ และสร้างศรัทธาเป็นหลักสำคัญ

ดังนั้น การเมืองกับศาสนาพุทธในครั้งพุทธกาลมุ่งส่งเสริมเกื้อกูลต่อกันและกัน แต่ไม่ทำร้ายกันแต่สร้างความเข้าใจกันให้ถูกต้อง  พระพุทธองค์ในฐานะผู้นำศาสนาจะทำหน้าที่บทบาทแก้ไขสังคมสงฆ์ให้อยู่อย่างมีความสุขอย่างสมณะหรือนักบวช สร้างความโดดเด่นจากงานพระศาสนาให้สังคมโลกยอมรับและรับรอง ดัง พุทธดำรัสที่ว่า  จรถ ภิกฺขเว พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย มีแต่ให้บริการสังคม เพื่อสร้างความเข้มแข็งพุทธอาณาจักร  ไม่ให้สาวกทำกิจกรรมที่เป็ฯไปเพื่อความพอกพูนกิเลส แต่ให้เป็นไปเพื่อให้ คลายกิเลสเป็นสำคัญ

เพราะฉะนั้น การเมืองจะมีรูปแบบการปกครองแบบใดก็ตามพระพุทธสาสนาย่อมอยู่ได้อย่างยืนทุกมิติการปกครอง เว้นแต่นักปกครองใช้อำนาจเบียดเบียนศาสนา พระพุทธศาสนาจะมาปกป้องรักษาพุทธบริษัท ดังเช่น ศึกแย่งน้ำทำนา  และการทะเลาะวิวาทของคนในสังคม ตลอดจนเรื่องการปกครองรัฐพระองค์จะทรงแนะนำให้กระทำในทิศทางที่ถูกต้องเป็นประการสำคัญ (เฟซบุ๊ก Anond Metheevarachatra)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...