วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

อธิบดี พช.ปลุกชาวศรีสะเกษรักษาอัตลักษณ์ล้ำค่าของดินแดนสี่เผ่าไท

 


เปิดงาน “ร้อยดวงใจ จากภูมิปัญญาสู่ผืนผ้าชาวศรีสะเกษ” คึกคัก อธิบดี พช.ปลุกชาวศรีสะเกษร่วมรักษาอัตลักษณ์ล้ำค่าของดินแดนสี่เผ่าไท ชูของดีความโดดเด่นด้านศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ผ้าทอศรีสะเกษ ทุเรียนภูเขาไฟ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 20 พ.ย.63 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดงานเฉลิมฉลอง 238 ปี จังหวัดศรีสะเกษ ในกิจกรรม “ร้อยดวงใจ จากภูมิปัญญาสู่ผืนผ้าชาวศรีสะเกษ” ณ บริเวณลานโคปุระ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยรองผู้ว่าฯ นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล นายสำรวย เกษกุล นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิตร นายวิชัย ตั้งคำเจริญ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษและทีมงาน และประชาชนชาวศรีสะเกษเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพียง          

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่าจังหวัดศรีสะเกษเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในสมัยขอมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าศรีสะเกษ ก่อตั้งขึ้น ในปี พ.ศ.2325 เป็นเมืองที่มีความหลากหลายของชนเผ่าต่างๆ ได้แก่ ลาว เขมร กูย เยอ จนได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนสี่เผ่าไท” ที่มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกัน ภาษา ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย อาหารการกิน ที่หลากหลายและแตกต่างกัน แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน สามัคคีปรองดอง และจังหวัดศรีสะเกษ ยังมีผลไม้ที่มีชื่อเสียงไม่แพ้จังหวัดใด เช่น ทุเรียนภูเขาไฟ เงาะ มังคุด สะตอ เป็นต้น และมีพืชผลทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ คือ หอม กระเทียม          


อีกประการหนึ่งที่สำคัญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการแต่งกายของศรีสะเกษ เมืองที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์ ประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 4 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ ลาว เขมร ส่วย(กูย) และเยอ แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในศรีสะเกษ ต่างมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม เอกลักษณ์ อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของศรีสะเกษ คือเสน่ห์ คือความงาม คือมรดกอันทรงคุณค่า ที่บรรพชนคนศรีสะเกษได้รังสรรค์ไว้ให้สะท้อนผ่านภาษา วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และการแต่งกาย อันนำไปสู่วัฒนธรรมอันหลากหลาย ผสมกลมกลืนเป็นชาวศรีสะเกษที่มีความงดงามท่ามกลางความหลากหลายของรูปแบบวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่มีร่วมกันของชาวศรีสะเกษ คือ การทอผ้าซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างไปตามชาติพันธุ์ และมีการสืบสานสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น          

อธิบดี พช. กล่าวชื่นชมในความสมัครสมานสามัคคีของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัด ศรีสะเกษ โดยเฉพาะพลังสตรีของชาวจังหวัดศรีสะเกษ ที่ร่วมมือร่วมใจจัดกิจกรรม “ร้อยดวงใจ จากภูมิปัญญาสู่ผืนผ้าชาวศรีสะเกษ” นับเป็นการสืบค้น รวบรวม รักษามรดกภูมิปัญญาด้านการทอผ้าพื้นถิ่น และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาด้านการทอผ้าพื้นถิ่นดั้งเดิมไว้ไม่ให้สูญหายไป นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมรายได้ ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ เปิดโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับประชาชนในชุมชน  


        

“ผมขอขอบคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ส่วนราชการทุกหน่วยงาน ช่างทอ ช่างแส่ว ผู้บริจาคผ้า ผู้นำสตรี และพ่อแม่พี่น้องชาวศรีสะเกษที่ให้การสนับสนุนการจัดงานอย่างดียิ่ง จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี และขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ที่งดงามของจังหวัดศรีสะเกษ ผมหวังว่าการจัดกิจกรรมในวันนี้ จะเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัด ศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัด รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้รู้จักจังหวัดศรีสะเกษมากยิ่งขึ้น”อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...