วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565

"กรมการแพทย์ สธ.-มจร" จับมือเปิดรพ.สงฆ์มหาจุฬาฯ บริการสุขภาพและวิชาการพระสงฆ์ทั่วประเทศ




เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕  ที่สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการบริการสุขภาพและวิชาการ (MOU) ระหว่างกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยทั้งสองฝ่ายตกลงทําข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการบริการสุขภาพและวิชาการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามภารกิจของหน่วยงานทั้งสอง รวมถึงการดําเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของหน่วยงานทั้งสอง 

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวปรารภความร่วมมือว่า โรงพยาบาลสงฆ์ จะถวายความรู้แด่พระสงฆ์และทำให้เป็นรูปธรรม นำเรื่องธรรมมานำสุขภาพ ตั้งเป้าหมายระยะสั้น เป็นการรวบรวมข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของบุคลากร มจร และเป้าหมายระยะยาวคือการดูแลพระสงฆ์ทั่วประเทศ 
โดยในข้อตกลงระบุว่า ข้อ ๑ กรอบและแนวทางความร่วมมือ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือในกิจกรรมต่อไปนี้

๑.๑ ความร่วมมือทางด้านบุคลากร นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร ข้อมูล เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะนําไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลแบบประคับประคอง(Palliative Care) สุขภาพพระสงฆ์ รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชน และการส่งเสริม และสนับสนุนการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของพระสงฆ์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

๑.๒ ความร่วมมือทางวิชาการในด้านการวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดความร้ดู้าน การดูแล สุขภาวะพระสงฆ์ การฝึกอบรม การสัมมนา การประชุมทางวิชาการ การพัฒนาเครือข่าย การพัฒนาหลักสูตร และการจัดกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ ที่เป็นการบูรณาการด้าน พระพุทธศาสนากับสุขภาวะองค์รวม ระหว่างทั้งสองหน่วยงานอันจะนําไปสู่การสร้างเสริมสุข ภาวะพระสงฆ์และชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม

๑.๓ ประสานงาน ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนบุคลากร นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร ข้อมูล เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะนําไปสู่การ ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลแบบ ประคับประคอง (Palliative Care) สุขภาพพระสงฆ์ อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม รวมถึงการการจัด กิจกรรมต่างๆ ของทั้งสองฝ่ายให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินกิจกรรมตามบันทึก ข้อตกลงนี้ให้เป็นไปตามระเบียบราชการของแต่ละฝ่าย ในกรณีที่ต้องดําเนินการร่วมกัน หรือมี ค่าใช้จ่ายอื่นใดให้ร่วมกันพิจารณาเป็นรายกรณีไป

ข้อ ๒ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน

๒.๑ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

๑) ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ องค์ความรู้ และ นวัตกรรมทางการแพทย์ด้านการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ ตลอดจนปัจจัย อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะนําไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟู สมรรถภาพ และการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) สุขภาพพระสงฆ์

๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของพระสงฆ์ภายใต้ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และจัดบริการทางการแพทย์ในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ภายใต้ หลักพระธรรมวินัย

๒.๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา หลักสูตร การจัดการศึกษา

การอบรม การสัมมนา การประชุมทางวิชาการ การพัฒนาเครือข่าย และการจัดกิจกรรมทาง วิชาการอื่นๆที่เป็นการบูรณาการด้านพระพุทธศาสนากับสุขภาวะองค์รวม อันจะนําไปสู่การ สร้างเสริมสุขภาวะพระสงฆ์และชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สมบูรณทั้งทางกาย ทางจิต ทาง ปัญญาและทางสังคม

๒) ประสานงานกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานกิจกรรมภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ รวมถึงสนับสนุนบุคลากร สถานที่ เวลา และทรัพยากรอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้

ข้อ ๓ การดําเนินงานตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้

บันทึกข้อตกลงฉบับนี้เป็นข้อตกลงทั่วไปเพื่อประโยชน์แห่งความร่วมมือตามข้อตกลงนี้ ในการดําเนินงานขั้นต่อไป ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกําหนดรายละเอียดเฉพาะเรื่องภายใต้ขอบเขตแห่ง ข้อตกลงนี้และสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด และหรือคําสั่งของแต่ละฝ่าย

๓.๑ ให้ผู้แทนหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้แทนของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ดําเนินงาน ประสานงาน และตกลงร่วมกันในเรื่องค่าใช้จ่าย การใช้ทรัพยากร สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และเรื่องอื่น ๆ เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์แห่งข้อตกลงนี้ โดยจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร

๓.๒ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค และประสาน ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานและการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

๓.๓ ในการดําเนินงานตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านบริการสุขภาพ และวิชาการนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะมีการเจรจาเพื่อกําหนดรายละเอียดและขั้นตอนการ ดําเนินงานเป็นรายกรณี โดยสามารถจัดทําเป็นบันทึกแนบท้ายบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ทางด้านการบริการสุขภาพและวิชาการนี้

ข้อ ๔ การทบทวนและการแก้ไขข้อตกลง

บันทึกแนบท้ายบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกข้อตกลง

หากข้อความใดในบันทึกแนบท้ายบันทึกข้อตกลงที่ขัดหรือแย้งกับข้อความในบันทึกข้อตกลงนี้ ให้ใช้ข้อความในบันทึกข้อตกลงนี้ใช้บังคับและกรณีที่ข้อความในบันทึกแนบท้ายบันทึกข้อตกลงขัด หรือแย้งกันเอง ให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณาปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดด้วยความเป็นธรรม และความเหมาะสม
ข้อ ๕ ระยะเวลาของความร่วมมือ การปรับปรุง และการยกเลิกข้อตกลง บันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีระยะเวลา ๕ ปี นับแต่วันที่ผู้มีอํานาจลงนามของทั้งสองฝ่าย ได้ลงนามเป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ให้กระทําได้โดยความ เห็นชอบของอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องแจ้งรายละเอียดให้ทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อย กว่า ๙๐ วัน (เก้าสิบวัน) ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงกิจกรรม หรือเรื่องที่ผูกพันหรือ ดําเนินการอยู่ก่อนตามนิติกรรมสัญญาที่มีต่อกันแล้วแต่ละกรณี การเพิ่มเติม การปรับปรุง การแก้ไขหรือขยายความร่วมมือ กระทําได้ตามความเหมาะสม โดยความเห็นชอบร่วมกันและให้ทําเป็นบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ 

บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านบริการสุขภาพและวิชาการฉบับนี้ ได้จัดทําขึ้น เป็นสองฉบับ ซึ่งมีข้อความถูกต้องตรงกัน และทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยละเอียดแล้ว เห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ที่มุ่งประสงค์จะร่วมมือกันทางด้านการบริการสุขภาพและวิชาการ ทุกประการ จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญต่อหน้าพยาน และแต่ละฝ่ายต่างได้ยึดถือไว้คนละหนึ่งฉบับ จากนั้นเป็นพิธีเปิดสถานพยาบาลอย่างเป็นทางการ และเดินชมบริเวณสถานพยาบาล โดยจะให้บริการทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ สถานพยาบาล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  จ.พระนครศรีอยุธยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...