วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565

หม่อมหลวงปนัดดาแนะ "ขรก." ที่ดี อย่าเป็นคนของพรรคการเมืองใด

 


หม่อมหลวงปนัดดาแนะจัดระเบียบประเทศไทยใหม่ แนะสังคมให้กำลังใจ "ขรก." รุ่นใหม่  ให้เป็น "ขรก." ที่ดี อย่าได้เป็นคนของพรรคการเมืองใด

วันที่ ๑๑  มกราคม ๒๕๖๕  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.  อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  นักศึกษาหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง รุ่น ๑๗ กระทรวงยุติธรรม เรียนผ่านระบบออนไลน์ ณ หลักสูตรสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า ภาคเช้ารับการเรียนรู้และฝึกอบรม “หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง” รุ่น ๑๗ ในฐานะเลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งดูแลยุติธรรมทางเลือกให้การบริการสังคมให้เกิดสันติสุขในสังคมและดูแลกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งจัดพัฒนาและฝึกอบรมโดย สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ภายใต้หัวข้อ #การบริหารความแตกต่างด้วยหลักคุณธรรมและจริยธรรม บรรยายโดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภาและประธานพิพิธภัณฑ์วังวรดิสและหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 

หม่อมหลวงปนัดดา  กล่าวประเด็นสำคัญว่า เราควรจัดระเบียบใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะเราเจริญด้านวัตถุมากแต่ความเจริญในด้านจิตใจของผู้คนลดน้อยลง ซึ่งข้าราชการจะต้องมีความระมัดระวังในฐานะเป็นข้าราชการโดยยึดธรรมาภิบาลเป็นฐาน “อย่าหลงลืมตัวเอง” ภาครัฐต้องรักษาศรัทธาให้ภาคเอกชนมีความศรัทธามั่นคง ซึ่งเอกชนมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพราะยึดมั่นในธรรมาภิบาล โดยไม่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งปัจจุบันแบ่งแยกว่าใครเป็นนักการเมืองหรือเป็นนักธุรกิจ 

คำถามว่าเราจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองในอดีตมีความรู้ ความรัก ความสามัคคีอย่างเข้มแข็ง โดยสะท้อนถึงการสื่อสารในสภาจะต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้ประชาชน ทำอย่างไรประเทศไทยจะมีความสง่างามเหมือนในอดีต โดยข้าราชการจะต้องพัฒนาตนเองให้ดีอย่างต่อเนื่อง จึงย้ำว่าอย่าเป็นข้าราชการในพรรคการเมืองใด จงทำหน้าที่ของข้าราชการเพราะถ้า “รู้จะเข้าใจ  รักจะเข้าถึง พัฒนาจะพัฒนา”

โดยให้กำลังใจข้าราชการรุ่นใหม่ให้ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่รักษาความซื่อสัตย์สุจริตเป็นฐาน โดยมีการยกตัวอย่างบุคคลสำคัญในการเป็นต้นแบบในการปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นข้าราชการที่ดี ในฐานะเป็นข้าราชการจึงต้องระวังการใช้ Fake News หรือ ข่าวปลอม สิ่งสำคัญเราต้องให้เกียรติชาติไทยของเราเองด้วยการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เราต้องระวังอย่าลบหลู่บรรพบุรุษในอดีตผู้เคยสร้างบ้านแปลงเมืองมา จึงต้องสร้างความตระหนักในฐานะเป็นข้าราชการเพราะ “คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง” ฐานสำคัญของข้าราชการคือการมีคุณธรรมจริยธรรม โดยยกในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นต้นแบบการทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง  โดยใช้ชีวิตที่เรียบง่ายมีธรรมาภิบาลเป็นฐาน ขอให้ข้าราชการช่วยกันอย่างสุดฝีมือ

จากการวิเคราะห์จากการรับฟังท่านหม่อมหลวงปนัดดาแล้ว โดยส่วนตัวชอบแนวคิดอุปนิสัยประจำชาติไทย ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ยกเนื้อหาที่ระบุว่า กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวเมื่อ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม ๓ อย่างอันเป็นอุปนิสัยประจำชาติคือ ๑)ความจงรักอิสระของชาติ love of national independence  ๒)ความปราศจากวิหิงสา toleration  ๓)ความฉลาดในการประสานประโยชน์ power of assimilation 

ดร.ชาญวิทย์ อธิบายต่อว่า ท่าน(กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) บอกว่า คนไทยสามารถประสานประโยชน์กันได้ดีมาก ประนีประนอมกัน พร้อมยกตัวอย่างเนื้อหาในหนังสือชื่อ The Balancing Act แปลเป็นไทยแล้วคือ “สู่ดุลยภาพ” เขียนโดย Joseph J. Wright, Jr. แปลเป็นไทยโดยศุภนิติ พลางกูร ดวงกมลพิมพ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยเฉพาะคนไทยมีความฉลาดในการประสานประโยชน์ หมายถึง การประนีประนอม หาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี หม่อมหลวงปนัดดาย้ำว่าให้เป็นข้าราชการที่ดี อย่าเป็นข้าราชการในพรรคการเมืองใด เราควรจัดระเบียบใหม่สำหรับประเทศไทยโดยมีหลักคุณธรรมจริยธรรมเป็นฐานสำหรับการเป็นข้าราชการที่ดี และขอให้ข้าราชการระมัดระวังโดยยึดธรรมาภิบาลเป็นฐาน พร้อมฝากข้าราชการทุกท่านรักษาบ้านเมืองให้อยู่ตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...