วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565

"เจ้าคุณว." แนะบทบาทศาสนา ต้องปรับจูนเข้ากับคนรุ่นใหม่สร้างชาติแบบมีสติ

 


"เจ้าคุณว."เตือนระวังเครื่องมือขยายโกหกบนสื่อออนไลน์สร้างความเกลียดชัง แนะบทบาทศาสนาต้องปรับจูนเข้ากับคนรุ่นใหม่ สร้างสังคมสตินำไปสู่การสร้างชาติแบบสัมมาทิฐิ

 

วันที่ ๑๙  มกราคม  ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) 

เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน  มจร  นักศึกษาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ รุ่น ๑๒  ประธานด้านการประชาสัมพันธ์กลุ่มสโลวาเกีย หลักสูตรนักบริหารระดับสูง เปิดเผยว่า ได้เรียนออนไลน์หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ รุ่นที่ ๑๒ โดยสถาบันการสร้างชาติ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รวมพลังคนดี คนเก่ง คนมีคุณภาพสู่การพัฒนาที่เกิดความยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมยุทธศาสตร์คุณธรรมเพื่อนำชาติผ่านวิกฤต” 


บรรยายแบบบูรณาการโดย พระเมธีวชิโรดม (อาจารย์ ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย จังหวัดเชียงราย กล่าวประเด็นสำคัญว่า ปัจจุบันเราเผชิญกับความเกลียดชังกัน มีเครื่องมือขยายการโกหกเกิดขึ้นในสื่อออนไลน์ ทำให้คนเกลียดกันง่ายแม้ไม่รู้จักกัน เช่น ประเด็นสีผิว หรือ การเหยียดกันเพื่อการเกลียดชังในสหรัฐอเมริกามีแนวคิดที่สุดโต่งในกรณีเหยียดคนเอเชีย ซึ่งโลกกำลังเผชิญวิกฤตมากมายซึ่งโลกไม่สามารถรับรองวิกฤตได้ เช่น การทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งแท้จริงโลกมีการเชื่อมโยงกันเสมอ เราล้วนอยู่ในเครือข่ายแห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเสมอถือว่าเป็นวิกฤตภูมิอากาศโลก นำไปสู่วิกฤตคุณธรรมของคนในโลกส่งผลต่อวิกฤตเศรษฐกิจเพราะความเหลื่อมล้ำที่มีความขัดเจน ประเทศไทยคือสวนย่อยของโลกจะต้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ต่อไปทุกคนสามารถเขย่าโลกนี้ได้ระบบของโลกมีการเปลี่ยนแปลง เด็กอายุ ๑๕ ปีในสวีเดน ออกมาพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมวิกฤตทำให้เด็กเป็นผู้มีอำนาจในโลก 


โลกเชื่อมโยงกันจากสถานการณ์ของโควิดเชื่อมหากัน จึงต้องหาทางออกผ่านการมองแบบแยกส่วนไปสู่องค์รวม เพราะทุกอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้มนุษย์ไม่มององค์รวมแต่มักจะมองแยกส่วน เหมือนม้าลำปาง มองเฉพาะจุดเดียว จึงต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ว่าทุกอย่างจะต้องเชื่อมโยง ซึ่งอย่างเป็นองค์รวม จึงนำไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับโลก ต้องมีความรับผิดชอบทางจริยธรรมระดับโลก “ไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทั้งโลกจะปลอดภัย” ซึ่งชะตากรรมของคนทั้งโลกเชื่อมโยงกัน สรรพสิ่งจะอิงอาศัยกันทั้งโลกจึงต้องตระหนัก “สติของคนจะส่งผลต่อสันติของคนทั้งโลก การขาดสติของคนหนึ่งจะส่งผลต่อคนทั้งโลก” สอดรับกับแนวครูกับศิษย์ในการแสดงกายกรรมว่า“ไม่ต้องระวังใคร แต่ต่างกันต่างดูแลตนเองให้มีสติเป็นฐาน” เป็นทฤษฎีสติเพื่อสังคมนำไปสู่การสร้างชาติ 


โดยแหล่งอ้างอิงเดิมจริยธรรมในทางศาสนาเริ่มหมดไป จึงต้องอ้างอิงเหตุผลมากขึ้นผ่านสังคมประชาธิปไตย ให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีเหตุมีผล ในยุคใหม่จึงไม่ใช่ศาสนาแต่เป็นเหตุผล จึงต้องให้คนในชาติมีคุณธรรมเพียงอาศัยพระสงฆ์อย่างเดียวไม่ได้ จะต้องพัฒนาผลิตปัญญาให้ทันกับปัญหา คนไทยจะต้องสานเสวนาพูดคุยด้วยเหตุผลอย่างมีมิตรไมตรี จะต้องแก้ที่วิธีคิดปรับทิฐิของคน สังคม โลก ปัญหาคือมองโลกแบบแยกส่วน จึงต้องมองโลกแบบองค์รวมเป็นสัมมาทิฐิ จึงต้องทำให้คนในสังคมมีสติ “คนหนึ่งคนที่มีสติจะสวมหน้ากากก่อนออกจากบ้าน” จึงต้องแก้จากทิฐิผ่านการพัฒนาสติ คนหนึ่งคนที่มีสติกำลังดูแลโลกทั้งใบ จะต้องมีการตื่นรู้ร่วมกันของคนในสังคม 


บทบาทของศาสนาจะต้องปรับตัว จะต้องศึกษาคำสอนของศาสนาตนเองอย่างลึกซึ้ง เข้าใจศาสตร์สมัยใหม่เพื่อสื่อสารง่าย และใจกว้างเพื่อการแลกเปลี่ยนกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งพระพุทธศาสนาที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นแบบพระพุทธเจ้าเท่านั้นแบบดั้งเดิม แต่ปัจจุบันมีพระพุทธศาสนาแบบประเพณี พิธีกรรมที่ทำสืบๆ กันมาเป็นความเชื่อเท่านั้นถือว่าเนื้องอกพระพุทธศาสนา การที่บอกว่าพระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์เพราะเป็นความจริง สามารถพิสูจน์ได้จะต้องลงไปสู่การพิสูจน์ ทดลองด้วยตนเอง ตั้งคำถามและท้าทาย โดยบริษัทชั้นนำอย่างกรูเกิ้ลมีการพัฒนาสติภาวนาของคนในองค์กรอย่างจริงจัง คนรุ่นใหม่ต้องพึ่งพาสิ่งภายนอกมาตลอด จึงต้อง “สำนึกเชิงขอบคุณ” ต่อพ่อแม่และครูอาจารย์ เวลาจะกำหนดว่าเราล้วนสำนึกแห่งการพึ่งพา จึงต้องสอนให้เหมาะกับคนรุ่นใหม่ จึงต้องปรับภาษาในการสอนใหม่จึงต้องสร้างคนสำคัญกว่าทุกสิ่ง 


จากนั้น ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI) และนักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  กล่าวขอบพระคุณท่านอาจารย์เจ้าคุณ ว.วชิรเมธี    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...