วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565

พระดีศรีสะเกษ! พัฒนาโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล-วิถีโพลวพลือ



วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า  

ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ (คปศ.) มูลนิธิ พศช.และองค์กรเครือข่าย ได้พิจารณาสรรหาองค์กร บุคคล ที่อุทิศตน และทำความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมมาด้วยดีตลอด เพื่อรับโล่เชิดชูเกียรติ “คนดีศรีสะเกษ” ประจำปี 2563 เพื่อส่งเสริมให้บุคคล องค์กร ทำความดี และเป็นแบบอย่างให้แก่สังคม ซึ่งการดำเนินการได้เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น โดยมีพระสงฆ์ 2 รูป ซึ่งเป็นชาวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้บริหารและคณาจารย์ของ มจร  คือ

1)  พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์  (พระมหาหรรษา ธัมมฺหาโส) ปธ.6 ศ.ดร.  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพฯ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร พัฒนาหมู่บ้านท่าคอยนางเป็น “หมู่บ้านช่อสะอาด” สร้างศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโมเดล ที่บ้านท่าคอยนาง  อำเภอปรางค์กู่ จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ

2) พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เจ้าอาวาสวัดสารอด  เขตราษฎร์บูรณะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) เพื่อการศึกษา ศาสนาและชุมชน สร้างศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโมเดล  โดยใช้ “บวร”บ้าน/วัด/โรงเรียน ขับเคลื่อนในการพัฒนา  จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ

จะถวายรางวัลยกย่องเชิดชู ในวันที่  26  เดือนกุมภาพันธ์ 2565  เวลา 13.00 น. ณ วิหารหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองศรีสะเกษ  จังหวัดศรีสะเกษ จึงแจ้งมาเพื่อทราบทั่วกัน ในนามหลักสูตรหลักสันติศึกษาขอมุทิตาในรางวัลอันทรงคุณค่าในการนำธรรมลงไปทำ "สาขาพระสงฆ์นักพัฒนา" พัฒนาด้านกายภาพ  พัฒนาด้านพฤติภาพ พัฒนาด้านจิตภาพ และพัฒนาด้านปัญญาภาพในชุมชนอย่างแท้จริง  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...