วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565

"ประวิตร" กำชับเปิดโอกาสเยาวชนเอกชนมีส่วนร่วม น้อมนำ "หลักปรัชญาศก.กิจพอเพียง"



พล.อ.ประวิตร  น้อมนำ "หลักปรัชญาศก.กิจพอเพียง" ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เปิดโอกาสเยาวชน/เอกชน มีส่วนร่วม  มุ่งยกระดับความเป็นอยู่ปชช.ทุกมิติ  ฝ่าวิกฤตโควิด-19 


เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565  เวลา 10.00 น. พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่1/2565  ผ่านระบบ สื่ออิเล็กทรอนิกส์


ที่ประชุมได้รับทราบ  ผลการดำเนินงานตามแผนขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย (Thailand's SDG Roadmap) ซึ่งมีผลการดำเนินงานคืบหน้าทั้ง 6 ด้านหลัก ได้แก่ 1)การสร้างความตระหนักรู้ 2)การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายการพัฒนากับแผน 3ระดับ ของประเทศ  3)การกำหนดกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านกลไกในระดับประเทศ ระดับหน่วยงาน และระดับพื้นที่ 4)การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนา 5)การสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ และ 6)การติดตามประเมินผล รวมทั้ง รับทราบรายงานVNR (Voluntary National Review) ประจำปี2564 เพื่อขับเคลื่อน SDGs ของไทยทั้ง 17 เป้าหมาย คำนึงถึงผลกระทบของโควิด-19 เพื่อฟื้นฟูให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม โดยน้อมนำ"หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวทางการพัฒนาฯของไทย


ที่ประชุม กพย. ได้มีการพิจารณาเห็นชอบ ปรับปรุงคณะอนุกรรมการฯโดยให้มีภาคเอกชนและเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วม และแต่งตั้งคณะทำงาน ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทย ในกรอบสหประชาชาติเพื่อประสานท่าที และร่วมขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อไป และเห็นชอบ แนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของไทยในระยะต่อไป โดยยึดหลัก วงจรการบริหารงานคุณภาพ "PDCA" (ตั้งเป้า ปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุง)  ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ยังได้ย้ำว่าในอีก 9ปี ต่อจากนี้ ขอให้เป็นช่วง "ทศวรรษแห่งการลงมือทำ" เพื่อสร้างประเทศไทยให้ก้าวต่อไป อย่างเข้มแข็ง เกิดสมดุลย์ และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง


พล.อ.ประวิตร  ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกำชับให้ทุกหน่วยงาน น้อมนำ "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและเป็นรูปธรรม ภายใต้ความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาต่างๆ เพื่อให้บรรลุครอบคลุมทุกมิติ ทั้ง 17 เป้าหมาย อย่างยั่งยืน พร้อมทั้ง ให้เป็นต้นแบบแก่นานาประเทศ นำไปประยุกต์ใช้ ได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...