วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565

จัดว่าเยี่ยมมากไม่ขึ้นหิ้ง! คณาจารย์สันติศึกษามหาจุฬาฯ ผลงานวิจัยดีเด่นพัฒนาจิตใจและสังคม



 จัดว่าเยี่ยมมากไม่ขึ้นหิ้ง! คณาจารย์สันติศึกษามหาจุฬาฯ ผลงานวิจัยดีเด่นพัฒนาจิตใจและสังคม  จากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย    

วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. โครงการวิจัยย่อยที่ ๒ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เปิดเผยว่า มีประกาศจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เรื่อง ผลงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อรับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๔ จาก ๑๘๗ เรื่อง โดยคณะกรรมการพิจารณายกย่องนักวิจัยในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาจิตใจและสังคม ลงนามโดย พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร  โดยนักวิจัยได้สร้างสรรค์ผลการวิจัยที่มีคุณภาพจำนวน ๒๕ เรื่อง โดยใน ๒๕ เรื่องผลงานวิจัยดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือก คือ แผนงานวิจัยเรื่อง “วิศวกรสันติภาพท้องถิ่น : ต้นแบบผู้นำสร้างสันติสุขให้ชุมชน” โดย อาจารย์ ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์   สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มจร  









โครงการวิจัยย่อยที่ ๑ คุณลักษะผู้นำท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสันติสุขในชุมชน โดย พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ ผศ.ดร. สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มจร  

โครงการวิจัยย่อยที่ ๒ การพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ให้เกิดสันติสุข โดย พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มจร    โครงการวิจัยย่อยที่ ๓ การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชน โดย อาจารย์ ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์   สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มจร  


นับว่าเป็นการลงมือทำวิจัยในระดับคณาจารย์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชน ภายใต้สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือว่าเป็นงานวิจัยที่มีสันตินวัตกรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการพัฒนาชุมชน สังคมให้เกิดสันติสุข โดยเริ่มจากผู้นำชุมชน ซึ่งตามกรอบการวิจัยในบทที่ ๑ - ๓ ส่วนมากจะเป็น #งานเสพ คือ ศึกษาคนอื่น เรียนรู้จากคนอื่น ทบทวนเรื่องราวของคนอื่น ทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่บุคคลอื่นศึกษาไว้ ศึกษาตามกรอบที่คนอื่นกำหนดไว้ จึงเป็นเพียงงานเสพเท่านั้น ส่วนในบทที่ ๔ - ๕ ต้องยกระดับเป็น #งานสร้าง อันหมายถึง เป็นงานที่ผ่านการลงมือทำ ลงมือปฏิบัติจริง ลงพื้นที่สัมภาษณ์ โฟกัสสนทนากลุ่ม มีการทดลอง ลองผิดลองถูก สร้างรูปแบบ สร้างกระบวนการ มีการสร้าง Model นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ผ่านการลงปฏิบัติติจริงมีกลุ่มเป้าหมาย     


๑) #วิจัยขึ้นหิ้ง มีผู้คนพยายามสะท้อนว่างานวิจัยระดับมหาวิทยาลัยเป็นเพียงงานวิจัยแบบขึ้นหิ้ง ทำเพียงเอาแค่จบๆ ทำเพียงเอาแค่ได้ผลงานทางวิชาการ หรือ ทำเพียงเอาแค่ได้ทุนวิจัย ทำเสร็จแล้วก็บูชาเอาไว้ในหิ้ง ซึ่งเป็นคำเปรียบเทียบที่สะท้อนการวิจัยในยุคปัจจุบันว่าไม่ได้ช่วยให้บุคคล ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศดีขึ้นเลย เป็นงานลักษณะ #เอาจบ บุญครบจบแน่ งานวิจัยลักษณะเช่นนี้จะไม่เกิดคุณูปการต่อสังคม เป็นปัจเจกวิจัย โดยบุคคลได้ประโยชน์จากงานชิ้นนี้เป็นงานวิจัยรับใช้ตนเองเท่านั้น เป็นงานเสพเท่านั้น


๒) #วิจัยขึ้นห้าง จึงมีความมุ่งหวังและต้องการผลลัพธ์ให้งานวิจัยนั้นเกิดนวัตกรรมนำไปใช้ได้จริง มีผลกระทบต่อบุคคล ชุมชน องค์กร สังคม และประเทศอย่างแท้จริง จึงต้องเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนามและงานวิจัยเชิงพัฒนาที่รู้จักกันคือ วิจัยแบบ R and D ซึ่งหลักสูตรสันติศึกษา มจร มุ่งพัฒนางานวิจัยของคณาจารย์และนิสิตในระดับปริญญาเอกเป็นงานวิจัยที่ลงพื้นที่ชุมชนปฏิบัติการภาคสนาม และเชิงพัฒนา ทดลองจนเกิดสันตินวัตกรรมเป็นงานลักษณะ #เอากระทบ กระบวนการครบจบแน่ งานวิจัยลักษณะเช่นนี้จะเกิดคุณูปการและเกิดผลผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคม เป็นสาธารณวิจัย โดยบุคคล ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศได้รับประโยชน์จากงานชิ้นนี้เป็นงานวิจัยรับใช้สังคม เป็นงานสร้างสร้างนวัตกรรม  


ดังนั้น การทำวิจัยจึงต้องยกระดับเป็น “สาธารณวิจัย งานวิจัยสร้าง งานวิจัยกระทบ  งานวิจัยพัฒนานวัตกรรม งานวิจัยรับใช้สังคม งานวิจัยขึ้นห้าง เน้นวิจัยแบบเชิงพัฒนา” จึงขอขอบคุณสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการพิจารณาเพื่อการยกย่องเป็นงานวิจัยดีเด่นเป้นต้นแบบในครั้งนี้ และขออนุโมทนาในการความทุ่มเทของท่านพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ ผศ.ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร และอาจารย์ ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ ในการขับเคลื่อนงานวิจัยระดับคณาจารย์อย่างเป็นรูปธรรมพร้อมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านในการพัฒนางานในครั้งนี้      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วม...