วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565

"สมศักดิ์"เดินหน้าสร้างอาชีพและรายได้ชาวบ้าน แนะปลูกหญ้าแพงโกล่าเลี้ยงวัวเนื้อ มูลสัตว์ทำปุ๋ยไร่ชา



"สมศักดิ์"เดินหน้าสร้างอาชีพ และรายได้ ให้ชาวบ้าน คิดไอเดียเกษตรครบวงจรหลังลองทำแล้ว ปลูกหญ้าแพงโกล่าแทนข้าวเพราะหลายพื้นที่แห้งแล้ง ชี้ดูแลง่ายใช้น้ำน้อย ความต้องการตลาดสูง ใช้เลี้ยงวัวเนื้อ มูลสัตว์ทำปุ๋ยไร่ชา 


วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2565 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม และส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พื้นที่ จ.สุโขทัย มีเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ทั้งวัวเนื้อที่มีการขายเดือนละประมาณหมื่นตัว โดยวัวเหล่านี้จะกินหญ้า ดังนั้นตนจึงมีแนวคิดที่จะให้ชาวบ้านเปลี่ยนนาข้าวเป็นการปลูกหญ้า เพราะใช้น้ำน้อยกว่า เนื่องจาก จ.สุโขทัยมีปัญหาเรื่องน้ำน้อยในหน้าแล้ง แม้ว่าเราจะพยายามสร้างแหล่งเก็บน้ำแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้นเราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกให้เหมาะสม โดยตนได้ศึกษาหญ้าแพงโพล่า เพราะปลูกได้ทั้งในหน้าแล้งและหน้าฝน ในการลงทุนปลูกหญ้าชนิดนี้ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก เพราะปลูกหญ้าแค่ครั้งเดียวแต่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานหลายปี และเป็นหญ้าที่มีความต้องการสูงในตลาดอาหารสัตว์ มีแหล่งตลาดรับซื้อที่แน่นอน เพราะมีสารอาหารประเภทโปรตีนสูงกว่าหญ้าชนิดอื่นๆ จึงเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค ซึ่งตนได้ทดลองปลูกในพื้นที่ส่วนตัวแล้ว 


นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ข้อดีของการปลูกหญ้าแพงโกลา คือปลูกเพียงครั้งเดียว มีอายุยาวนาน ได้ถึง 7-10 ปี โดยแค่เอาน้ำเข้าพื้นที่แปลงนา แล้วก็หว่านท่อนพันธุ์หญ้าอายุประมาณ 2 เดือนลงไป ไร่หนึ่งใช้ประมาณ 200-300 ต้น จากนั้นรออีกสัก 2 เดือนหญ้าก็จะขึ้นสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งจะตัดไปสัตว์กินแบบหญ้าสด หรืออัดแห้งเพื่อจำหน่าย การปลูกหญ้า 1 ไร่จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 2,000 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 1-3 บาท ประมาณ 1 เดือนเก็บได้ 1 ครั้ง ก็จะมีรายได้ขั้นต่ำ 2,000 ต่อเดือน ตกปีละ 24,000 บาท เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มให้ชาวบ้าน 


"การปลูกหญ้าเลี้ยงวัว เป็นการเพิ่มเม็ดเงินภายในจังหวัด ไม่ต้องไปซื้อหญ้าไกลจากที่อื่นและส่งไปขายที่อื่นๆได้ และมูลของวัวก็สามารถขายนำไปเป็นปุ๋ยให้กับไร่ชา ที่ผมได้ทดลองปลูกนำร่องไว้ที่ ทุ่งทะเลหลวง 2 ได้อีกด้วย โดยที่นี่จะสามารถทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ในอนาคต ซึ่งจะกลายเป็นการเกษตรแบบครบวงจร ถือเป็นโครงการนำร่องที่จะผลักดันและแนะนำให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆได้ทำกัน เพื่อเป็นการพัฒนาการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในพื้นที่ และจะทำใ้ห้ชาวบ้านมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งตนทำจริงเข้าใจจริง"นายสมศักดิ์ กล่าว 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...