วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565

“หมอรุ่งเรือง” แจงสถิติ “โอมิครอน” ประเทศไทย พบเสียชีวิต 0.1%



 ป่วยหนัก 0.3% เข้า รพ. 1.5%  สธ.ไทย ย้ำไม่ได้แย้ง องค์การอนามัยโลก ประเด็น โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2565  ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ประธานคณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์ การระบาดของเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย ว่า จากข้อมูลทางสถิติที่ได้รับมาจนถึงวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา สิ่งที่น่ากังวลคือ เชื้อสายพันธุ์นี้ แพร่เร็วมาก พบว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโอมิครอน ที่ป้องกันตนเองไม่ดี 10 คน จะติดเชื้อ  9-10 คน นับว่าเป็นอัตราการติดเชื้อที่สูงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้  ในส่วนของความรุนแรงของโรค พบว่าน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาก ทั้งเดลต้า และอัลฟ่า

 จากการติดเชื้อ 1 พันคน จะพบ ผู้ป่วยที่มีความเป็นในการรักษาที่โรงพยาบาล 10-15 คน หรือ 1-1.5% จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด ป่วยหนัก 2-3 คน หรือ 0.2-0.3% จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเสียชีวิต 1 คน หรือ 0.1% จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด

สำหรับ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ  และมีอาการเล็กน้อยคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ มาตรการป้องกันตนเอง อาทิ ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างยังช่วยป้องกันโรคได้ เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ยังมีประสิทธิภาพ ป้องกันป่วยหนัก และเสียชีวิตอย่างน่าพอใจ ข้อพึงระวังคือ แม้ ความรุนแรงของโรค จากข้อมูล จะอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ไม่ควรประมาท เพราะเชื้อสายพันธุ์นี้ ติดง่าย แพร่ง่าย  กรณีถ้ามีคนติดเชื้อพร้อมกันมากๆ เข้า ก็ย่อมจะมีผู้ป่วยหนัก เป็นจำนวนมากตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพองค์รวมได้  


สธ.ไทย ย้ำไม่ได้แย้ง องค์การอนามัยโลก ประเด็น โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

 

หลังองค์การอนามัยโลก(WHO) เตือนว่ายังเร็วเกินไปที่จะให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นในปีนี้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันว่า ไทยไม่ได้ขัดแย้งอะไร กับแนวคิดนี้ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกระทรวงฯ ก็ไม่ได้บอกว่าโควิดจะเป็นโรคประจำถิ่น(Endemic) ในทันทีทันใด หากคนร่วมมือกัน น่าจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นภายในปีนี้ ไม่ใช่วันนี้ พรุ่งนี้ เรื่องโควิดมันเพียงทุกวัน ถ้าสังเกต องค์การอนามัยโลกและหลายประเทศก็พูดไม่ตรงกัน เพราะองค์การอนามัยโลกจะดูภาพรวมใหญ่ๆ แม้แต่อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ก็เริ่มจะคิดว่าจะเป็นโรคประจำถิ่น เราต้องอยู่ร่วมกับโควิด เสียงจะออกไปทำนองนี้

"ส่วนของประเทศไทยเอง ค่อนข้างนำหน้าองค์การอนามัยโลกและประเทศอื่นๆ ในหลายเรื่อง ตั้งแต่วัคซีนสูตรไขว้ การเปิดประเทศ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) และครั้งนี้ก็เรื่องโรคประจำถิ่น เราก็ค่อนข้างพูดเร็วกว่าหลายประเทศ ดังนั้น ไม่ได้ขัดแย้งกัน เพราะเราดูในบริบทของประเทศ และมองไปข้างหน้า แต่เราก็ได้เน้นย้ำ สร้างความเข้าใจกับประชาชนว่าจะทำอย่างไรหากจะทำให้เป็นโรคประจำถิ่น คือ 1.เชื้อรุนแรงน้อยลง 2.คนได้ภูมิต้านทานมากขึ้น และ 3.สิ่งแวดล้อมเหมาะสม ทั้งด้านการแพทย์ด้วย ที่สำคัญเกณฑ์ที่เราใช้ประเมินคือ อัตราเสียชีวิตจากโควิดต้องต่ำ เชื้อรุนแรงน้อย และประชาชนมีมาตรการ VUCA อย่างไรก็ตาม เราจะประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง และสร้างความร่วมมือจากประชาชนให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น" นพ.โอภาส กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วม...