วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รู้ยัง!คนร้อยละ76.29 เบื่อการเมืองมากขึ้น

 

 วันที่ 2 มิ.ย.2562 สถานการณ์ทางการเมืองไทยยังคงร้อนแรง มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะข่าวการจับ ขั้วพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่พลิกไปมาไม่มีความชัดเจนแน่นอน สร้างความอึดอัดใจให้กับประชาชนที่อยากจะเห็น รัฐบาลใหม่โดยเร็ว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในหัวข้อ ความอึดอัดของประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาล สรุปผลได้ดังนี้
          
เมื่อถามว่าประชาชนคิดอย่างไร กับความไม่แน่นอนในการจับขั้วพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลอันดับ 1 ร้อยละ 44.14 ระบุเป็นเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน การยื่นข้อเสนอต่อกัน อันดับ 2 ร้อยละ 33.30 ระบุภายในพรรคเสียงแตก ความคิดเห็นไม่ตรงกัน ตกลงกันไม่ได้ อันดับ 3 ร้อยละ 17.86 ระบุ ทุกพรรคอยากเป็นรัฐบาล มีการเลือกข้าง เลือกฝ่ายที่ได้เปรียบ อันดับ 4 ร้อยละ 12.74 ระบุ พรรคขนาดกลางเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล และ อันดับ 5 ร้อยละ 10.69 เชื่อว่ายังจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ยังไม่ชัดเจน
          
เมื่อถามว่าคิดว่าปัญหาในการจัดตั้งรัฐบาลที่ยืดเยื้อ เกิดจากสาเหตุอะไรอันดับ 1 ร้อยละ 67.45 เชื่อว่า มาจากผลประโยชน์ไม่ลงตัว แย่งเก้าอี้ ไม่ได้ตามข้อเสนอที่ต้องการอันดับ 2 ร้อยละ 28.27 เชื่อว่าผู้นำพรรคยังตัดสินใจไม่ได้ มีความขัดแย้งภายในพรรค และอันดับ 3 ร้อยละ19.08 เชื่อว่าเป็นเกมการเมือง ยังจับขั้วพรรคการเมืองไม่สำเร็จ คะแนนเสียงไม่เพียงพอ
          
เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนอยากบอกพรรคการเมืองต่างๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล ในพรรคขนาดใหญ่อย่างพลังประชารัฐ เพื่อไทยอันดับ 1 ร้อยละ 58.43 อยากให้นึกถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ หยุดเห็นแก่ตัวอันดับ 2 ร้อยละ 39.29 อยากให้เคารพกฎหมาย เป็นประชาธิปไตย ฟังเสียงประชาชน และอันดับ 3 ร้อยละ 26.24 อยากให้เร่งจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว
          
ในพรรคขนาดกลางอย่างภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ อนาคตใหม่ อันดับ 1 ร้อยละ 47.75 ระบุอยากให้รักษาสัญญา ทำตามที่หาเสียงไว้ ไม่โกหกประชาชนอันดับ 2 ร้อยละ 30.81 ระบุ อยากให้ปฏิบัติตามหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา เคารพกฎหมาย และอันดับ 3 ร้อยละ 25.23 ระบุอยากให้คำนึงถึงชื่อเสียง อุดมการณ์ของพรรค
          
ในพรรคขนาดเล็กอันดับ 1 ร้อยละ53.42 อยากให้ทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด สร้างผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรมอันดับ 2 ร้อยละ 34.70 ระบุไม่สร้างความวุ่นวาย อยู่ในขอบเขต หยุดตอบโต้กันไปมา และอันดับ 3 ร้อยละ 18.72 ไม่ยอมเป็นเครื่องมือทางการเมือง เป็นตัวแทนของประชาชน
          
เมื่อถามว่าประชาชนมีข้อเสนอแนะอย่างไร? ที่จะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลรวดเร็วและประสบผลสำเร็จ อันดับ 1 ร้อยละ 43.73 อยากให้ปฏิบัติตามหลักสากล เคารพเสียงส่วนใหญ่ เป็นประชาธิปไตยอันดับ 2 ร้อยละ40.31 อยากให้ลดการต่อรอง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากเกินไป และอันดับ 3 ร้อยละ 31.77 อยากให้ถอยคนละก้าว ลดทิฐิ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
          
ต่อข้อถามโดยภาพรวม กรณีการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการเมืองมากน้อยเพียงใดอันดับ 1 ร้อยละ 76.29 เบื่อหน่ายมากขึ้นเพราะการเมืองไทยมีแต่ความขัดแย้ง แย่งชิงผลประโยชน์ ผ่านการเลือกตั้งมาแล้วแต่ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ บ้านเมืองไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ฯลฯ อันดับ 2 ร้อยละ19.45เบื่อหน่ายเหมือนเดิม เพราะหากต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ยังคงมีทิฐิด้วยกันเหมือนเดิมเหตุการณ์ต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่แบบนี้ต่อไป ยังมองไม่เห็นหนทางแก้ไขให้ปัญหาต่างๆ คลี่คลายลงได้ฯลฯ และอันดับ 3 ร้อยละ 4.26เบื่อหน่ายน้อยลง เพราะอย่างน้อยก็ทำให้คนสนใจการเมืองมากขึ้น ได้เลือกตั้ง เป็นการแสดงออกทางการเมือง ฯลฯ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...