วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

แนะสนง.เลขาฯสภานำ AI เป็นตัวช่วยเขียนสุนทรพจน์




'ชวน' แนะจนท.สภาฯอย่าทำตามส.ส.สั่งในนสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ยันจะพยายามเปลี่ยนภาพพจน์ของ ส.ส.ให้ดีขึ้นในสายตาของประชาชน สำนักงานเลขาสภาฯสุดฟิตฝึกอบรมเทคนิคการเขียนสุนทรพจน์ทั้งฝึกจิตภาวนา แนะนำ AI เป็นตัวช่วยเขียน
       
วันที่ 11 มิ.ย.ที่รัฐสภาเกียกกาย นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้นำคณะผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร ร่วมมอบดอกไม้อวยพรนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และในฐานะประธานรัฐสภา

ทั้งนี้นายชวน ได้ฝากความเป็นห่วงว่า ปัจจุบันบ้านเมืองมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยมีเครื่องมือในการทำงานแบบใหม่เข้ามา จึงขอให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และบุคลากร พร้อมใจกันทำหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยตนจะพยายามเปลี่ยนภาพพจน์ของ ส.ส.ให้ดีขึ้นในสายตาของประชาชน ต้องทำงานโดยยึดความถูกต้อง ข้าราชการต้องไม่ยอมให้ ส.ส.มาบังคับทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และจะทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นโมเดลตัวอย่างของหน่วยงานราชการ และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทรราษฎร ได้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องทั้งด้านเทคนิคการปฏิบัติหน้าที่อย่างเช่นเทคนิคการเขียนคำกล่าวในโอกาสต่างๆ เช่น คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิดงาน -ปิดงาน เป็นต้น ให้กับบุคลากรของสำนักพัฒนาบุคลากร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทรราษฎร ในระบบการเรียนรู้ NCT ของสำนักงานฯ

พร้อมกันนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทรราษฎรยังได้มีการฝึกปฏิบัติจิตภาวนาโดยมีวัตถุประสงค์ให้บุคลากรมีภาวจิตที่เข้มแข็งไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบ เชื่อแน่ว่า หาสมาชิกรัฐสภาจะได้มีการปฏิบัติจิตภาวนาอย่างเช่นสมาชิกรัฐสภาของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปเชื่อแน่ว่าจะทำให้ภาพพจน์ของสมาชิกรัฐสภาดีขึ้น 

ส่วนเทคนิคการเขียนคำกล่าวในโอกาสต่างๆ เช่น คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิดงาน -ปิดงาน เป็นต้นนั้น นอกจากจะฝึกบุคคลากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว หากจะมีการนำปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ( AI) มาส่วนช่วนในการเขียนสุนทรพจน์ก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เพราะเพจน The MATTER ได้โพสต์ข้อความวันนี้ว่า 
ฝึก AI เขียนสุนทรพจน์ UN ได้ใน 13 ชั่วโมง ด้วยโปรแกรมราคาเพียง $7.80 

หลายคนอาจจะเคยประทับใจถ้อยคำจากสุนทรพจน์ในการประชุมสหประชาชาติ (UN) ว่าจะเรื่องของสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ ผู้ลี้ภัย หรือประเด็นการเมือง

แต่ต่อไป เราอาจจะเกิดคำถามว่า นี่เป็นคำที่ ‘คน’ พูด หรือ ‘AI’ เขียนขึ้นมากันแน่ เพราะล่าสุด ทีมวิจัยจาก Global Pulse ซึ่งตั้งขึ้นโดย UN สามารถฝึก AI ให้เขียนสุนทรพจน์ที่เหมือนคนร่างให้จริงๆ สำหรับการประชุมสามัญของ UN ได้แล้ว

วิธีการคือทีมวิจัยได้รวบรวมเอาสคริปต์สุนทรพจน์ ของบรรดานักการเมืองที่กล่าวในการประชุมสามัญของ UN ตั้งแต่ปี 1970 ถึงปี 2015 มาจัดแบ่งหมวดหมู่ เพื่อหารูปแบบของภาษา และสอนให้กับ AI ด้วยวิธี Deep Learning ล่าสุด AI สามารถสร้างคำกล่าวยาว 50-100 คำ จากหัวข้อและข้อความเพียง 1-2 ประโยคได้แล้ว นับตั้งแต่เรื่องสภาพอากาศไปจนถึงการก่อการร้าย

การพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ ทีมได้ทำการทดลองกับสุนทรพจน์ 3 แบบ  1. หัวข้อทั่วไป เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) 2. สุนทรพจน์กล่าวเปิดการประชุมสามัญของเลขาธิการ UN  3. ประเด็นอ่อนไหว ตัวอย่างเช่น “Immigrants are to blame”

พบว่า AI สามารถลอกเลียนสุนทรพจน์แบบที่ 1 ได้ดีที่สุด มีความใกล้เคียงกับสุนทรพจน์ที่คนร่างถึง 90% ส่วนแบบที่ 3 นั้นต้องใช้ชั้นเชิงทางภาษามากกว่า จึงมีความน่าเชื่อถือเพียง 60%

เมื่อผลการศึกษานี้ถูกเปิดเผยออกมา ก็มีหลายฝ่ายแสดงความกังวลถึงปัญหา Fake News และการใช้ Deepfake เพื่อประโยชน์ทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับกรณีตัดต่อหน้าคนดังใส่หนังโป๊ หรือวิดีโอปลอมของนักการเมืองระดับโลก และยิ่งถ้าเป็นรูปแบบของตัวหนังสือ (Text) แล้ว ยิ่งทำง่ายกว่าและมีราคาที่ถูกกว่ามาก

และนี่คือตัวอย่างของ Speech ที่เขียนโดย AI :

“The increasing convergence and ubiquity of AI technologies magnify the complexity of the challenges they present, and too often these complexities create a sense of detachment from their potentially negative implications. We must, however, ensure on a human level that these risks are assessed. Laws and regulations aimed at the AI space are urgently required and should be designed to limit the likelihood of those risks (and harms). With this in mind, the intent of this work is to raise awareness about the dangers of AI text generation to peace and political stability, and to suggest recommendations relevant to those in both the scientific and policy spheres that aim to address these challenges.”

รายงานระบุว่า การผลิตสุนทรพจน์แบบนี้ขึ้นมา ใช้กระบวนการราวๆ 13 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายสำหรับทรัพยากรบน cloud computing เป็นจำนวน 7.80 ดอลลาร์ หรือตีเป็นเงินไทยเท่ากับราวๆ 244 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...