วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คอลัมน์: รายงานพิเศษ: ชักจะไปกันใหญ่ AI ถึงขั้นปลอมข่าว

คอลัมน์: รายงานพิเศษ: ชักจะไปกันใหญ่ AI ถึงขั้นปลอมข่าว
Source - เอ็มทูเอฟ (Th)

Monday, February 18, 2019  04:20
27716 XTHAI XINTER INTL XGEN GEN DAS V%PAPERL P%M2F

          ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจเป็นฝันหวานของใครหลายๆ คนที่อยากเห็นโลกที่ ขับเคลื่อนด้วยภูมิปัญญาอันเฉียบคม แต่ก็อาจเป็นฝันร้ายของมนุษยชาติเช่นกัน หากใช้เทคโนโลยีนั้นในทางที่ผิด
          หนึ่งในปัญหาน่ากังวลที่เกิดขึ้นเวลานี้ คือ ศักยภาพของ AI ในการสร้างข้อมูลเท็จหรือข่าวปลอม โดยองค์กรที่ทำงานด้าน


การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของโลก คือ OpenAI โดยสำนักงานในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐ ได้เปิดตัวระบบที่สามารถเรียนรู้อัลกอริทึ่มที่สามารถสร้างเนื้อหาที่มีความสมเหตุสมผลและเรียงร้อยเป็นใจความเดียวกัน คือ สามารถสร้างงานเขียนได้แบบนักเขียนหรือนักข่าว

อีกทั้งยังสามารถเลียนแบบสไตล์การเขียนงานที่ป้อนให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย หมายความว่า สามารถลอกงานเขียนของมนุษย์ได้ เช่น อาจลอกรูปแบบการเขียนของ "รอมแพง" จนทำนิยายในสไตล์เดียวกับบุพเพสันนิวาสออกมาหลอกคนอ่าน 

ซอฟท์แวร์ตัวนี้มีชื่อว่า GPT-2 โดยมีทักษะคาดการณ์คำต่อไปว่าควรใช้คำว่าอะไร โดยประมวลผลเอาจากรูปประโยคก่อนหน้านั้น เช่น เมื่อป้อนรูปประโยคขึ้นมาว่า "รัสเซียประกาศสงครามกับสหรัฐหลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ยิงขีปนาวุธขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยบังเอิญ" หลังจากนั้น GPT-2 ทำการประมวลผล และเขียนเนื้อหาต่อไปว่ารัสเซียจะมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไร โดยอ้างอิงกับข้อมูลข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐในเวลานี้

fortune.com รายงานว่า OpenAI ตระหนักว่า เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพที่จะสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จได้อย่างแนบเนียนและเป็นอันตรายอย่างมาก จึงตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่เทคโนโลยีนี้สู่สาธารณะ และจะยังไม่เผยแพร่คำสั่งหรือโค้ดในโปรแกรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างซอฟท์แวร์อีกด้วย
          แม้จะเป็นเหมือนการฆ่าตัดตอนทางเทคโนโลยี แต่นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะหากเทคโนโลยีนี้ไปตกอยู่ในมือของคนไม่ดี ก็อาจใช้มันบิดเบือนข้อมูลเพื่อหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
          ขณะที่ต่างประเทศกำลังตื่นตระหนกกับความอ่อนแอของนักข่าวมืออาชีพ และการผงาดของกระแสข่าวปลอมโดยนักข่าวกำมะลอ เมืองไทยกลับหลงใหลได้ปลื้มกับผู้ทรงอิทธิพล (Influencers) ในโลกโซเชียล ซึ่งมักแชร์ข้อมูลพร้อมกับทัศนะส่วนตัว จนทำให้ข้อเท็จจริงเกิดความบิดเบี้ยว ยังไม่นับความล้มหลวของรัฐในการจัดการพอร์ทัลข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ ทำให้ข่าวปลอมและทัศนะที่บกพร่องในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมแพร่ระบาดไปทั่ว
          สหรัฐและหลายประเทศในโลกตะวันตกเคยประสบปัญหาการปล่อยข่าวมาแล้ว จนการเมืองปั่นป่วนกระทั่งทุกวันนี้

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ M2F
 สังคมไทยมองการบวชอย่างไร?
http://thebuddh.com/?p=41208

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที บทนำ ฉากเปิด : สันติเดินทางกลับบ้านเกิดในชนบท หลังผิดหวังจากชีวิตในเมืองใหญ่และความรักที่ไม่สมห...