วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จีนสวนกลับทฤษฎี 'ภัยคุกคามจากจีน' ของสหรัฐอเมริกา ย้ำชัดเจนไม่สนใจควบคุมการเมืองของชาติใด


.
นับเป็นอีกครั้งที่จีนโต้กลับข้อกล่าวหาต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่าการลงทุนในเทคโนโลยีของจีนอาจจะนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
.
"สหรัฐฯ ได้กุทฤษฎี 'ภัยคุกคามจากจีน' ขึ้นมาโดยไร้ซึ่งหลักฐานที่เป็นรูปธรรม" โฆษกหญิงแห่งกระทรวงการต่างประเทศจีน ฮั่วชุนหยิงกล่าว พร้อมเสริมว่า "แรงจูงใจของสหรัฐฯ คือการใช้อำนาจรัฐบีบผู้ประกอบการสัญชาติจีน"
.
นี่เป็นสิ่งที่ผิดต่อหลักศีลธรรมอย่างมาก จีนหวังว่าในเรื่องนี้ สหรัฐฯ จะเคารพหลักการของตลาด"
.
ก่อนหน้านี้ไม่นาน ขณะเยือนประเทศสโลวาเกีย ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวเตือนประเทศพันธมิตรไม่ให้ใช้อุปกรณ์จากหัวเหวย ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมสัญชาติจีน โดยกล่าวว่าบริษัทเทคโนโลยีจีนเจ้านี้อาจมีสิ่งอื่นที่มากไปกว่า "แรงจูงใจทางเศรษฐกิจ"
.
หลังจากมีคำเตือนของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เรื่องความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างกับจีนกับฮังการี ซึ่งเป็นประเทศแรกในทริปเยือนยุโรปของเขา รัฐมนตรีต่างประเทศฮังการี Peter Szijjarto ก็ได้ตอกกลับ "คำสอน" นี้ของปอมเปโอว่า "โลกจะไม่พัฒนาไปกว่านี้ หากบางประเทศมัวแต่ใช้เวลาของตนในการเข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในของประเทศอื่น"
.
ฮั่วยืนยันจุดยืนของจีนในเวทีการเมืองโลกอีกครั้งซึ่งก็คือ ไม่แทรกแซงปัญหาภายในประเทศของประเทศอื่น
.
"จีนไม่เหมือนสหรัฐฯ เราไม่มีความสนใจในการควบคุมการเมืองของชาติอื่นอย่างแน่นอน ซึ่งประชาคมโลกเองก็มีความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้"
.
ฮั่วยังกล่าวด้วยว่า เธอหวังว่าจะได้เห็นความพยายามของสหรัฐฯ ในเรื่องการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของโลกมากกว่านี้

Cr'China Xinhua News



IBM ส่ง AI ที่พูดได้ ไปดีเบตกับแชมป์โลก แลกเปลี่ยนเหตุผลในหัวข้อการให้เงินสนับสนุน ด้านการศึกษา
.
ประเทศไทยช่วงนี้พวกเราน่าจะได้เห็นการดีเบตผ่านๆ ตากันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าพูดถึงการดีเบตระหว่างคนกับ AI มันจะออกมาเป็นยังไงกันนะ
.
Intelligent Squared US บริษัทไม่แสวงผลกำไรได้จัดการดีเบตในหัวข้อ ‘โรงเรียนเตรียมอนุบาลควรได้รับเงินสนับสนุนหรือไม่’ ระหว่างนักดีเบตแชมป์โลก Harish Natarajan และคอมพิวเตอร์ AI ของ IBM Project Debater ที่ถูกสร้างมาเพื่อดีเบตกับคนโดยเฉพาะ ในแมทช์นี้ Natarajan จะต้องเป็นฝ่ายค้าน ส่วน Project Debater จะเป็นฝ่ายสนับสนุน
.
Project Debater ถูกดีไซน์ขึ้นโดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ IBM เพื่อให้ตอบโต้ด้วยเหตุผลโน้มน้าวได้อย่างลื่นไหลในระหว่างที่รับข้อมูลโต้แย้งจากอีกฝ่ายที่เป็นคน ตัวเครื่องนี้จะใช้หนังสือพิมพ์และนิตยสารจากฐานข้อมูลของตัวเองเท่านั้น ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 
.
“สวัสดี Harish ฉันได้ยินว่าคุณได้ทำสถิติโลกในด้านการดีเบตกับคนไว้มากมาย แต่ฉันเดาว่าคุณไม่น่าจะเคยดีเบตกับเครื่องจักรกลสินะ ยินดีต้อนรับสู่อนาคต” Project Debater กล่าวเปิดอย่างติดตลกในเสียงผู้หญิง
.
Project Debater อธิบายว่า การให้เงินสนับสนุนโรงเรียนเตรียมอนุบาลจะช่วยทำลายวงจรความยากจนได้ ยกเหตุผลสนับสนุนมามากมายจากผลการศึกษาในฐานข้อมูล
.
ทางฝั่ง Natarajan ก็ได้ค้านต่อว่าการมอบเงินสนับสนุนจะเป็นการใช้ทรัพยากรของครอบครัวชนชั้นกลางมากไป แทนที่พวกเขาจะเอาไปใช้อย่างอื่น และการมอบเงินสนับสนุนไม่ได้การันตีว่าเด็กทุกคนจะได้มาเรียนซักหน่อย
.
ในช่วงการโต้แย้ง นั่นแหละคือช่วงที่เห็นความต่างชัดที่สุด Natarajan สามารถแย้งคำพูดของ Project Debater ได้อย่างตรงจุด ส่วน Project Debater ออกมาแนวเหมือนอธิบายต่อในประเด็นของตัวเอง มากกว่าการโต้แย้ง Natarajan 
.
สำหรับผลการดีเบต Natarajan คือผู้ที่คว้าชัยชนะไป เพราะก่อนการดีเบตมีผู้เห็นด้วย 79% ไม่เห็นด้วย 13% แต่หลังการดีเบตผู้เห็นด้วยลดเหลือ 62% และผู้ไม่เห็นด้วยเพิ่มมาเป็น 30% ถ้านับตามเปอร์เซ็นต์ Natarajan สามารถโน้มน้าวให้คนเปลี่ยนใจได้มากกว่า 
.
ถึงแม้ Project Debater จะพ่ายแพ้แต่ก็แสดงให้เห็นว่า AI มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถโต้แย้งได้อย่างลึกซึ้ง ในอนาคต AI อาจจะสามารถตอบโต้กับเราหรือเข้าใจพวกเรามากขึ้นก็เป็นได้
.
.
อ้างอิงจาก

https://edition.cnn.com/…/ai-versus-human-ibm-de…/index.html

http://fortune.com/…/man-versus-machine-ai-artificial-inte…/

#Brief #TheMATTER

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที บทนำ ฉากเปิด : สันติเดินทางกลับบ้านเกิดในชนบท หลังผิดหวังจากชีวิตในเมืองใหญ่และความรักที่ไม่สมห...