วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แนะผู้มีสิทธิเลือกตั้งอ่าน 'Bad Leadership'ภาวะผู้นำที่เลวร้าย



วันที่ 20 ก.พ.2562 เฟซบุ๊ก Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า ภาวะผู้นำที่เลวร้าย (Bad Leadership)"

ช่วงเวลานี้ประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่โหมดสำคัญเพื่อการนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้า พัฒนาสถาพร หลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมให้พรรคการเมืองเสมอชื่อผู้สมควรเป็น “นายกรัฐมนตรี” ด้วย นั่นหมายความว่า ให้ผู้สมัครได้บอกแก่ประชาชนคนไทย ว่าใครน่าจะเข้ามาทำหน้าที่จะเป็น “ผู้นำ” ในฐานะแห่ง “นายกรัฐมนตรี” ของประเทศนี้ เห็นหน้าเห็นตากันชัดเจนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งการได้ประกาศรายชื่อออกมาแล้ว

ท่ามกลางกระแสแสวงหา “ผู้นำ” ประเทศ ก็เชื่อว่าในหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ที่มีผู้บริหารพ้นตำแหน่งตาม วาระ ถูกให้ออกด้วยอำนาจพิเศษ (ม. 44 เป็นต้น) หรือไม่ก็อาจเกษียณอายุหรือลาออกก่อนหมดวาระ ด้วยเหตุผลประการต่างๆ ได้มีโอกาสอ่านงาน “Bad Leadership” ของ Babara Kellerman ซึ่งเนื้อหาสาระน่าสนใจยิ่งนัก ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสรรหา “ผู้นำ” ใหม่ โดยมองจากมุมด้านความเลวร้าย ด้วยเหตุผลคือ

เพื่อเตือนให้ “ผู้นำ” ที่เลวร้ายล้มเลิกในการนำไปสู่ทางที่ผิด

เพื่อสอนให้ “ผู้นำ” สอนกันเองแบบผิด ๆ และมีทายาทลูกศิษย์ดำเนินการต่อ

เพื่อให้สังคมอยู่ในภายใต้ “ผู้นำ” ที่ดีอันนำไปสู่สังคมร่มเย็นเป็นสุข (เพราะสังคมรู้ทัน)

สุดท้ายก็คือการที่จะต้องช่วยกันแสวงหา “ผู้นำ” ที่มีความ “BAD” น้อยที่สุด แทนที่จะไปหา “ผู้นำ” ที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกประการ นั่นเอง

✳✳✳ Babara Kellerman ได้แบ่งความเลวร้ายของผู้นำไว้ 7 ประการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มไร้ประสิทธิภาพ 3 ประการ และขาดศีลธรรม 4 ประการ รวมเป็น 7 ประการ ดังนี้

กลุ่มไร้ประสิทธิภาพ (3) ประกอบด้วย

• ไร้ความสามารถ (Incompetent) – ผู้นำและผู้ร่วมงานบางคนไม่สามารถที่จะทำ หรือสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้

• เข้มงวด (Rigid) – ผู้นำและผู้ร่วมงานบางคนไม่เต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนนวัตกรรม ข้อมูลสารสนเทศ หรือไม่ให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงรอบ ๆ ตัว

• เจ้าอารมณ์ (Intemperate) – ผู้นำไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ และผู้ร่วมงานก็ไม่สามารถหยุดได้

กลุ่มขาดศีลธรรม (4) ประกอบด้วย

- ใจร้ายใจดำ (Callous) – ผู้นำและอย่างน้อยผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่งมีค่าเฉลี่ย และความต้องการของผู้ร่วมงานส่วนใหญ่จะถูกปฏิเสธ

- ทุจริต (Corrupt)- ผู้นำที่ทุจริตและผู้ร่วมงานเป็นคนชอบโกหก หลอกลวง หรือขี้ขโมย พวกเขาเหล่านั้นต่างมีความเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ ด้วยผลประโยชน์ของตนและสมัครพรรคพวก

- เห็นแก่ตัว (Insular) – ผู้นำและอย่างน้อยผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่งปฏิเสธ หรือล้มเหลวที่จะรับรู้การทำลาย การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการทำร้ายทำลายผู้ที่อยู่นอกกลุ่มของตน

- โหดร้าย (Evil)- ผู้นำและอย่างน้อยผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่ง ใช้วิธีการที่ชั่วร้ายในการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของผู้ร่วมงานด้วยกันหรือบุคคลอื่นอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน

✳✳✳ Babara Kellerman ยังได้ให้รายละเอียดถึงคุณสมบัติย่อย ๆ ของความเลวร้ายแต่ละประเภทไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อประกอบการพิจารณาว่า “ผู้นำ” ที่อยู่ในตำแหน่ง หรือ กำลังจะถูกสรรหา ให้ได้ผู้ที่มีความเลวร้ายน้อยที่สุด เช่น กรณีผู้นำไร้ความสามารถ (Incompetent) มี 3 ประเภท คือ

1) ทำตัวลอยเหนือปัญหา (Floater) ไม่สนใจแก้ปัญหามองปัญหาไม่เป็นปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องของคนอื่น

2) เป็นคนชอบขุ่นเคืองใจ (Resentful man) มองอะไร ๆ ก็ไม่พอใจบ่นออกมา แต่แก้ปัญหาไม่ได้

3) หลงตัวเอง (narcissist) บูชาตัวเองว่าดีที่สุดเก่งที่สุดคนอื่นแย่ขาดการให้คนอื่นมีส่วนร่วม

✳✳✳ การศึกษาเรื่อง “ผู้นำที่เลวร้าย” นั้นมีประโยชน์หลายประการยิ่ง

สำหรับผู้นำ - ก็เอาไว้พิจารณาตัวเองว่าตนเองเป็นผู้นำที่ดีหรือเลวและจะยังคงความเลวร้ายต่อไป โดยคิดว่าตนเองทำถูกต้องแล้วหรือจะปรับตัวใหม่ให้เป็นผู้นำที่ดี

สำหรับผู้ร่วมงาน - ก็มีคำถามว่าท่านกำลังจะ ผลักดัน พยุงให้ “ผู้นำ” เป็นคนแย่ เลวร้าย โดยการยุแหย่หรือตอบสนองช่วยกันทำความไม่ดีต่อไป โดยเห็นแก่ความโลภ ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม หรือจะมาทำเพื่อส่วนรวมจะมาปรับปรุงตัวเอง หรือจะช่วยกันเตือนผู้นำแบบไหนดี

สำหรับบุคคลทั่วไป – ก็จะเป็นแนวในการคัดเลือก หรือสรรหา “ผู้นำ”แบบไหนดี ไม่หลงผิดไปกับ “ผู้นำที่เลวร้าย” ว่าเป็น “ผู้นำที่ดี” และเห็น “ผู้นำที่ดี” ว่าเป็น “ผู้นำที่เลวร้าย” นั้นเอง

✳✳✳ “ผู้นำ” ไม่มีทางเดินต่อไปได้ หากขาดเสียงสนับสนุนจาก “ผู้ร่วมงานหรือผู้ตาม”

✳✳✳ “ผู้ร่วมงานหรือผู้ตาม” จึงมีส่วนสำคัญในการกำหนด “ผู้นำ” จึงจำเป็นต้องมี “ผู้ร่วมงานหรือผู้ตาม” ที่ชาญฉลาด ด้วย

“ผู้นำ” หรือ “ผู้ตาม” ใครสำคัญกว่ากัน

ขอบคุณภาพ ข้อมูล และสามารถอ่านเพิ่มเติมที่ https://news.harvard.edu/…/kellerman-describes-decries-bad…/
http://provenleader.weebly.com/…/fsoechting_lead510_finaldr…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที บทนำ ฉากเปิด : สันติเดินทางกลับบ้านเกิดในชนบท หลังผิดหวังจากชีวิตในเมืองใหญ่และความรักที่ไม่สมห...