วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
คลอดแล้ว!22ดร.สันติศึกษารุ่นแรกของไทย โบยบินนำธรรมไปแก้ขัดแย้งสร้างสันติสุขสังคมโลก
ระหว่างวันที่ 25 -26 พฤษภาคม 2562 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จในพิธีประสาทปริญญาบัตรประจำปี 2562 แก่ผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี -โท-เอก ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในจำนวนนี้มีหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโทและเอกรวมอยู่ด้วย
สำหรับปริญญาเอกสันติศึกษาถือเป็นรุ่นแรกที่สำเร็จการศึกษาจำนวน 22 รูป/คน และถือเป็นพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตสาขาสันติศึกษารุ่นแรกของประเทศไทย ส่วนระดับปริญญาโทเป็นรุ่นที่ 5 ซึ่งมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. เป็นผู้อำนวยหลักสูตรสันติศึกษา
วันที่ 24 พ.ค.2562 นี้ หลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้จัดพิธีแสดงมุทิตาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาภายใต้การนำของพระมหาหรรษา โดยได้กล่าวว่า บัณฑิตย่อมฝึกตน ใครฝึกตนจึงชื่อว่าบัณฑิต จึงจะถือว่าเป็นการจบอย่างเป็นทางการ เส้นทางย่อมมีการฝึกการทดสอบ จนเป็นสัตบุรุษด้วยการรู้จักเหตุ รู้จักผล สามารถแยกแยกได้ว่า สิ่งที่เกิดมาจากอะไร เรามาที่นี่เรามาฝึกตนเพราะคนฝึกตนจะเป็นประเสริฐให้เห็นตนเอง รู้ตนเองชัด เรียนรู้เพื่อเข้าใจตนเอง เรียนรู้เพื่อรู้จักประมาณตนเอง รู้จักกาลเวลา รู้จักชุมชน และรู้จักบุคคล รู้ว่าใครเป็นใครมีนิสัยอย่างไร ถือว่าเป็นภาพรวมของบัณฑิตในทางพระพุทธศาสนา
"หลักสูตรคาดหวัง 3 คำ โดยถอดมาจากโอวาทปาติโมกข์คือ #สติ #ขันติ #สันติ เป็นการศึกษาให้เป็นลมหายใจ มิใช่เเค่ท่องจำเท่านั้น สันติศึกษาจึงเป็นวิชาชีวิต ชีวิตของเราไม่ใช่ชีวิตของคนอื่น เพราะเราเข้าใจชีวิตตนเองทำให้เราเข้าใจคนอื่น เราต้องไม่ลืมสติ #สติเป็นความจำ จำว่าตนเองเป็นใครเมื่อมีสิ่งมากระทบกระเทือนกระแทก จำตนเองให้ได้ว่าหน้าตาเราเป็นอย่างไร สติจึงต้องใช้ในห้องเรียน เราต้องจำตนเองให้ได้แม้เรากำลังโกรธ เกลียด ไม่พอใจ #สติทำให้เราเย็น เราปล่อยวางได้ง่ายขึ้น เราเบามากขึ้น แสดงว่าเรามีสติ ซึ่งสติเป็นเครื่องกั้นความโกรธ ความเกลียด #สติเป็นเครื่องตื่นรู้ ทำอะไรตื่นตัวตลอดทำงาน ทำงานแล้วไม่หลุด" ผู้อำนวยหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวและว่า
เห็นการพัฒนาการของพวกเรา มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ทุกอย่างคือการฝึกฝน เพราะถ้าดีแล้วไม่ต้องมา ถ้าคิดว่าตนเองต้องพัฒนาต้องมาฝึก แต่ช่วงท้ายเรามาพัฒนาด้านวิจัย ทำให้เกิดความวุ่นวาย เราจึงต้องมีสันติภายใน แต่การจบในครั้งนี้ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ถ้าคิดว่าตนเองยังไม่พอต้องหาครูบาอาจารย์เพื่อพัฒนาตนเองต่อไป โดยพวกเราถือว่า #เป็นปริญญาเอกรุ่นแรกของโลกอย่างเป็นทางการ เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะกว่าจะจบพวกเราผ่านการทดสอบทุกกระบวนการ ผ่านการพิสูจน์มากขนาดนี้ เป็นกระบวนการฝึกขันติ เราเจอสถานการณ์ที่บีบสุดชีวิต ขอบคุณท่านสุดท้ายที่ฝึกขันติธรรมให้พวกเรา
สันติศึกษาจึงเป็นวิชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า #พึงศึกษาสันติเท่านั้น และ #สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี คำตรัสเหล่านี้จึงมีการพัฒนาสู่หลักสูตรสันติศึกษา สันติจึงมีพลังอย่างยิ่ง ผู้มาเรียนสันติศึกษาเป็นคนสำคัญของบ้านเมือง จะส่งผลต่อสังคม จึงอยากให้ทุกคนกลับไปพัฒนาสังคม เรามาที่นี่ไม่ใช่มาเอาเพียงปริญญานอก แต่เรามาเอามาปริญญาใน ปริญญาในคือสันติภายใน ปริญญานอกทำให้เรามีความสุข มีความภาคภูมิใจ เพราะมันคือความสำเร็จ แต่ต้องคำนึงปริญญาในคือปริญญาชีวิต ปริญญาที่พาเรามีความสุขที่แท้จริงคือ ปริญญาใน เราจึงต้องไปสร้างบารมี สันติบารมีจึงเป็นที่รวมบารมีต่างๆ เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมจะได้ทำงานเพื่อเพื่อนมนุษย์
"ดังนั้น ขอให้พวกเราอย่าลืมสันติปณิธาน ยามที่เราเหนื่อยท้อแท้ เพราะ #ทำงานกับกิเลสของคนอย่าหวังผลอะไรมาก ไม่มีใครสามารถทำให้เราเจ็บปวดหรือทุกข์ได้เท่ากับตัวเราเอง เพราะ #ข้างในไม่พออย่าไปสานต่อให้คนอื่น เราต้องเติมพลังภายในให้ตนเอง สุดท้ายจะเกิดคำว่า #คนอื่นสำคัญที่สุดเราไม่สำคัญเลย จึงขอแสดงความยินดีกับ ดร. สันติศึกษาทุกรูป/คน" พระมหาหรรษา กล่าวและว่า
ในที่สุด!!! #หลักสูตรปริญญาเอก #สาขาสันติศึกษา #มหาจุฬาฯ ได้ใช้เวลา 3 ปี ทำหน้าที่ปั้น #วิศวกรสันติภาพรุ่นแรก จำนวน 22 รูป/คน ออกมารับใช้ชุมชน และสังคมอย่างเต็มภาคภูมิ เธอทั้งมวลคือลมหายใจแห่งพุทธองค์ อันเป็นลมหายใจแห่งสันติภาพ ที่พระองค์ย้ำเตือนว่า "พึงศึกษาสันติเท่านั้น" (สันติเมว สิกเขยยะ) มาบัดนี้ เราได้ร่วมกันสานต่อสันติปณิธานของพุทธองค์ในฐานะ "สันตินวัตกร" แล้ว
#สันติภาพโบยบิน
#คืนถิ่นเจ้าจากมา
#ช่วยเหลือปวงประชา
#พัฒนาชีวิตและสังคม
ขอโลกธาตุ จงสงบเย็น
ขอโลกธาตุ จงตื่นรู้ด้วยพลังแห่งสันติภาพ
ขอให้ข้าพเจ้า จงไปเกิดในภูมิพระศรีอาริยเมตไตรย
ขอพระพุทธศาสนา จงยั่งยืนตลอดไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ธรรมิกวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์
วิเคราะห์ธรรมิกวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ ธรรมิกวร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น