วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

พระอาจารย์ต่อ กิตติทัตโต สร้างพระเพื่อค้ำชูพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 ปี



อานิสงส์การจัดสร้างพระพุทธรูป คำสอนจากพระเกจิอาจารย์ ดังนี้

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ…..."ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สร้างด้วยอะไรก็ตาม หมายความว่าบุญกุศลจะตามหนุนส่งท่านไปทุกภพทุกชาตินานถึง ๕ กัป…" 

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ......."การสร้างสมเด็จองค์ปฐมทำได้ยาก คือ ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นพระพุทธเจ้าทั้งหมด การสร้างองค์ปฐมนี้ ท่านเปลี่ยนบัญชีใหม่ โดยใช้บัญชีสีทอง เป็นทองคำล้วนทั้งเล่ม จดบันทึก(เป็นอีกเล่มหนึ่งจากที่จดธรรมดา) ก็แสดงว่าคนที่จะสร้างพระพุทธเจ้าองค์ปฐมได้นี้ ต้องเป็นคนมีบุญมาก และไปนิพพานได้เร็วมาก" 

หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว…กล่าวว่า…"...ผู้ใดสร้างรูปพระพุทธเจ้าจะเป็นองค์เล็กเท่าต้นคาก็ดี ใหญ่กว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ
ถ้าเป็นมนุษย์ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหมื่นชาติ แสนชาติ จะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย ตราบจนกว่าเข้าสู่นิพพาน..."

หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา…"…การสร้างพระ เปรียบได้กับธนาคารบุญ ซึ่งจะเกิดบุญกุศลกับผู้ที่มีส่วนในการสร้างโดยบุญกุศลนั้น จะเกิดขึ้นทุกครั้ง ที่มีผู้มากราบไหว้ สักการะบูชา เท่ากับจำนวนคน และจำนวนครั้ง..."

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม กล่าวว่า..."....การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปได้ และออกมาทำทาน ในงานฉลองพระพุทธรูปได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นตรง เห็นถูกแท้เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลย ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่า เป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย..."



พระกิตติทัตโต หรือ หลวงพ่อต่อ เจ้าสำนักปฏิบัติ พุทธอุทยานวังน้ำเขียว กล่าวว่า กลุ่มธรรมจักรบุญวัฒนามีสมาชิกกลุ่ม 200 ครอบครัว ปฏิบัติตามแนวทางมรรคมีองค์แปด เน้นการปฏิบัติตามรู้ลมหายใจ มีสติในทุกอิริยาบถ อยู่กับปัจจุบันอย่างตื่นรู้โดยปฏิบัติได้ทุกสถานที่



พุทธอุทยานวังน้ำเขียวมีกิจกรรมรวมตัวกันเดือนละครั้ง เพื่อถวายพระพุทธธรรมจักร ปางปฐมเทศนา หน้าตัก 3 เมตร แกะสลักจากหินทราย น้ำหนักประมาณ 25 ตัน โดยถวายเดือนละ 1 องค์ตั้งปณิธานว่าจะถวายให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ

"ธรรมะเย็นวันพระ"

ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่เอาชีวิตไปขึ้นอยู่กับ ปากและตาของผู้อื่น

ให้มองเห็นจิตและใจของตนเอง
มีสติ รู้จิต ไม่ฟุ้งซ่าน

ไม่ดิ้นรนแสวงหา ในสิ่งที่หลอกลวงทั้งหลาย

ใจเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง จะร้อนจะหนาว จะลุกจะนั่ง จะยืนจะเดิน จะกินอยู่ครั้งใด

จิตก็มีสติอยู่เสมอ นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 2...