วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
'ก.ล.ต.–กสม.'ร่วม MOU ส่งเสริมการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนสู่ความยั่งยืน
ก.ล.ต. และ กสม. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนประกอบธุรกิจ ที่ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมจัดสัมมนาเรื่อง “สิทธิมนุษยชน: ปัจจัยขับเคลื่อนความสามารถ ในการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนไทยสู่ความยั่งยืน” ตามหลักการชี้แนะ เรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติ (UNGPs) เชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และนายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีการลงนามข่อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ให้บริษัทจดทะเบียนและผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ตระหนักถึงการประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน โดยให้ความสำคัญกับการนำหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNGPs) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกไปปรับใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละธุรกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
นายวัส กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของ กสม. ในการเผยแพร่หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เนื่องจากเห็นว่าการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวจะมีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ เป็นการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ ตามหน้าที่และอำนาจของ กสม. ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2560
นายวัส กล่าวต่อว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้แสดงให้เห็นว่าการประกอบธุรกิจที่ไม่คำนึงถึงสิทธิและผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย และในที่สุดแล้วปัญหาดังกล่าวจะย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจเอง นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้คนอาจส่งผลเสียต่อประเทศในภาพรวมด้วย เพราะการประกอบธุรกิจดังกล่าวมักทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา ความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้จากการประกอบธุรกิจในลักษณะนี้จึงไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
"สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กสม. จึงเห็นว่าแนวทางการดำเนินงานของ ก.ล.ต. มีความสอดคล้องกับหลักการชี้แนะฯ ของสหประชาชาติอยู่แล้วในหลายส่วน หากภาครัฐจะสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนของไทยคำนึงถึงมิติสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในการทำธุรกิจกับต่างประเทศ จะช่วยส่งผลดีทั้งต่อการทำธุรกิจเองและต่อการพัฒนาประเทศดังนั้น กสม. และ ก.ล.ต. จึงเห็นพ้องกันว่าทั้งสองหน่วยงานควรมีความร่วมมือกันส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยในตลาดทุนเคารพสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น" ประธาน กสม.ระบุ
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต. มีบทบาทในการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียน บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนโดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม การลงนามใน MOU
กับ กสม. และการจัดสัมมนาในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ก.ล.ต. ที่จะส่งเสริม ให้ภาคธุรกิจในตลาดทุนนำหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนไปบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กร และปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีการติดตามความคืบหน้า นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะส่งเสริมการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวในเวทีระหว่างประเทศ และเผยแพร่การดำเนินงานของประเทศไทยให้ต่างประเทศได้ทราบ รวมถึงการมีส่วนร่วมของ ก.ล.ต. ในเรื่องนี้ และความคืบหน้าต่าง ๆ ต่อไป
นอกจากนี้ ก.ล.ต. กสม. และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน: ปัจจัยขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนไทยสู่ความยั่งยืน” ตามหลักการชี้แนะ เรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศร่วมถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการดำเนินธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเคารพสิทธิมนุษยชน เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานตลาดทุนไทยเติบโตด้วยความยั่งยืน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย
การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น