วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"โอ๊ค"เย้ยปชป.! อย่าเป็นประชาธิปไตยแค่ชื่อพรรค

   
     
เมื่อวันที่ 29 พ.ค. นายพานทองแท้ ชินวัตร สมาชิกพรรคเพื่อไทย และบุตรชาย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก Oak Panthongtae Shinawatra ระบุว่า “ชื่อนั้นสำคัญไฉน คนโบราณ ที่อยากจะให้ลูกหลาน มี #สามัญสำนึก ที่ดี ตามที่บรรพบุรุษมุ่งมั่นตั้งใจไว้ มักจะใช้ “กุศโลบาย” ในการตั้งชื่อ มีทั้งตั้งชื่อเป็น “สิริมงคล” และ ตั้งชื่อเพื่อ ”แก้เคล็ด” เราจึงมักได้ยินชื่อ.. นายรวย แต่ยากจน นายมี พึ่งขัดสน นายบุญ ใฝ่บาป นายมานะ เกียจคร้าน อยู่เสมอๆ”
          
“คนยังมีชื่อ ไม่ตรงกับ สันดานตัวเองได้ แล้วพรรคที่นิยามตัวเองมา 70 กว่าปี ว่าตัวมี “อุดมการณ์” ประชาธิปไตย และ มีอุดมการณ์ในการก่อตั้งพรรคฯ จะกระทำขัดอุดมการณ์ของตัวเองได้หรือไม่? หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนก่อน พูดไว้ชัดเจนว่า “การไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ และการไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่สืบทอดอำนาจ คืออุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์” 

และพูดต่อไปอีกว่า “ไม่มีมติของพรรคการเมืองใด ขัดต่ออุดมการณ์ของพรรคตัวเอง” พูดปั๊บพอเลือกตั้งเสร็จก็ลาออกเหมือนเลือกตั้งครั้งก่อน แต่ครั้งนี้ออกแล้วออกเลย ไม่ยอมสมัครกลับมาเป็นหัวหน้าเหมือนเคย พรรคประชาธิปัตย์ กำลังจะมีมติออกมาว่า จะเข้าร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์หรือไม่? อาจเป็นเสียงสะท้อนได้ว่า พรรคเก่าแก่กว่า 70 ปี จะยิ่งแก่ก็ยิ่งขลังในบทบาทประชาธิปไตย หรือการสู้เพื่อประชาธิปไตย ได้เลือนหายตายจากพรรคการเมืองนี้ไปแล้ว

เนื่องจากผู้ยึดมั่นในประชาธิปไตย ไม่ควร #ตระบัดสัตย์ต่อประชาชน#ยอมจำนนต่อเผด็จการ #เสียสัจจะเพื่อร่วมสืบทอดอำนาจมติในครั้งนี้ อาจเป็นคำตอบว่า… ชื่อ “พรรคประชาธิปัตย์” คือ ชื่อที่เป็น ”สิริมงคล” ต่อระบอบประชาธิปไตยของไทย หรือ เป็นเพียงวิสัยทัศน์ที่ “บรรพบุรุษ” พรรคฯ คิดชื่อพรรคขึ้นมา เพื่อ “แก้เคล็ด” ให้กับสมาชิกพรรคฯใน 70 ปีข้างหน้า จะได้มีสามัญสำนึกถึง ”ประชาธิปไตย” กันบ้าง”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พร...