วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ปชป.ยังกั๊ก! ร่วมไม่ร่วมรัฐบาล'พปชร.'


  
วันที่ 28 พ.ค.2562 นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงประเด็นพบปะพูดคุยระหว่างแกนนำพรรคพลังประชารัฐกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ไม่มีประเด็นเรื่องร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล แต่เป็นการพูดคุยถึงหลักในการทำงาน ซึ่งประชาธิปัตย์แจ้งไปว่า 1 พรรคจะยึดประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2 จะยึดนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชนที่ต้องมีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นทิศทางใด จะยึดชุดนโยบาย แก้จนสร้างคนสร้างชาติและ 3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งมีบางพรรคนำไปต่อยอดพูดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ในวันที่มีการซึ่งหากจำได้ในวันที่ลงประชามติรับไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ประชาธิปัตย์มีจุดยืนว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่เมื่อมีการประกาศใช้ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยแม้จะยังไม่เต็มใบซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกพรรคการเมืองต้องดูว่าเนื้อหาในรัฐธรรมนูญส่วนไหนที่ขาดตกบกพร่องและส่วนไหนที่ทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนลดน้อยถอยลง รวมถึงไม่มีความชัดเจนในการพัฒนาประเทศ นี่คือสาระสำคัญ ที่พรรคเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้บ้านเมืองเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยอย่างเต็มใบ ไม่มีการนำประเด็นนี้ไปต่อรองในการร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล ซึ่งตนเชื่อว่าทุกพรรคการเมืองเกือบทุกพรรคมีความเห็นตรงกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ต้องมีการพิจารณาแก้ไข ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีการต่อรองทางการเมือง ถ้ามีพรรคการเมืองใดทำเช่นนั้นก็สมควรจะถูกตำหนิ

นายราเมศ ระบุด้วยว่าเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เสนอหลักการทำงานไปแล้วก็เป็นหน้าที่ของพรรคพลังประชารัฐจะไปพิจารณาข้อมูลที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอไปผลเป็นอย่างไร จากนั้นพรรคพลังประชารัฐต้องแจ้งกลับมา โดยนายเฉลิมชัย ในฐานะเลขาธิการพรรคที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารพรรคให้เป็นผู้ประสานงานทางการเมืองกับพรรคการเมืองต่างๆ ก็ต้องนำกลับมารายงานต่อคณะกรรมการบริหารพรรคและที่ประชุมร่วมกันระหว่างสส.และกรรมการบริหารพรรคซึ่งผลจากการพูดคุยครั้งก่อนหน้า และเมื่อวานนี้จะเป็นข้อมูลที่พรรคจะใช้ประกอบในการตัดสินใจว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล โดยวันนี้เวลา 17:00 นจะเริ่มประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค จากนั้น 17:30 น.จะมีการเรียกประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารพรรคและส.ส. ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกัน โดยวาระการประชุมระบุไว้แล้วในวาระที่ 3 เรื่องพิจารณาการประสานงานทางการเมือง ซึ่งหลังการประชุมจะมีการแถลงต่อสื่อมวลชนอีกครั้งหนึ่งว่าผลการประชุมรับทราบรายงานจากเลขาธิการพรรค ที่ประชุมมีความคิดเห็นอย่างไร ดังนั้นกรณีการร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จะแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นเพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของคนหนึ่งคนเดียวแต่สมาชิกพรรคผู้เป็นเจ้าของพรรคมีสิทธิ์ มีเสียง อาจจะมีข่าวและเสียงสะท้อนจากสมาชิกพรรคหลายส่วนไลน์กลุ่มเกี่ยวกับการร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล การบริหารพรรคกรรมการบริหารพรรคและส.สจะรับฟังความเห็นต่างๆอย่างละเอียดรอบคอบและเชื่อว่าคนที่มีสิทธิ์ในการลงมติไปชี้แจงในที่ประชุมก็จะนำสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปพูดคุยเพื่อถกเถียงให้ตกผลึกว่าจะเดินไปในทิศทางใด จึงขอให้ประชาชนวางใจในกระบวนการพิจารณาของพรรคประชาธิปัตย์ว่าการร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลไม่มีใครมีสิทธิ์ตัดสินใจคนเดียวทั้งกรรมการบริหารพรรคและส.สจะเป็นผู้พิจารณาร่วมกันว่าจะให้เดินไปในทิศทางใดในวันข้างหน้าซึ่งจะประกอบไปด้วยเหตุและผลและเมื่อความชัดเจนออกมาแล้วมติเป็นอย่างไรก็จะมีเหตุผลรองรับแต่สาระสำคัญที่สุด พรรคจะยึดถือประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง 

"คำประกาศของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือจุดยืนทางการเมืองที่สำคัญที่สุดเพราะในขณะนั้นเป็นหัวหน้าพรรคและเป็นการหาเสียงระหว่างเลือกตั้งบทบาทหน้าที่ของท่านต้องแสดงจุดยืนในฐานะผู้นำองค์กรแต่กระบวนการประชุมร่วมกันสาระสำคัญที่ในผลิตและประกาศว่าทุกคนที่เป็นองค์ประชุมต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาด้วยเหตุผล โดยในการประชุมต้องพิจารณาก่อนว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลแต่ค่าร่วมรัฐบาลก็จะต้องดูว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงคือใคร นี่คือกระบวนการที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ ทุกอย่างต้องเข้าสู่การประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารพรรคและสส.ทุกกรณี นายเฉลิมชัยคนเดียวไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าพักจะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล เงื่อนไขของพรรคพลังประชารัฐที่ระบุว่าถ้าร่วมรัฐบาลต้องสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ใช่เงื่อนไขที่ผูกมัดพรรคประชาธิปัตย์เพราะขณะนี้พรรคยังไม่ได้ตอบรับว่าจะร่วมรัฐบาลหรือไม่ โดยพรรคจะรับฟังเสียง 3.9 ล้านเสียงที่เลือกประชาธิปัตย์มาแน่นอน การจะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลจะต้องมีคำตอบที่ชัดเจนให้กับประชาชน และเสื้อผ้าเมื่อมีมติแล้วทุกคนในพรรคจะยอมรับมตินั้น" นายราเมศ กล่าว

ส่วนกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่ามีกระบวนการต่อรองตั้งแต่ตอนเลือกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้คืบจะเอาศอก นั้น นายราเมศกล่าวว่า นายธนาธรควรกลับไปศึกษารัฐธรรมนูญให้เกิดความแตกฉาน โดยแนะนำว่าควรไปศึกษาถึงกระบวนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นกระบวนการในทางนิติบัญญัติพรรคประชาธิปัตย์มีความชัดเจนว่าเราเปิดเผยขั้นตอนในกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติเป็นขั้นเป็นตอน และเราประกาศว่าอาสาเป็นผู้นำทางฝ่ายนิติบัญญัติ นายธนาธรต้องเรียนรู้ว่าต้องแยกออกจากกันระหว่างประเด็นร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลกับการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในทางฝ่ายนิติบัญญัติ การลงชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดให้ชัดให้ส.ส. ในสภาได้ลงมติเลือกบุคคลที่เป็นสส.ไปเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ และผลออกมาว่านายชวน หลีกภัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรและเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ เหล่านี้เป็นกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างชัดเจนและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ลงคะแนนเสียงให้กับนายชวน หลีกภัย ไม่ได้มาจากการจัดตั้ง ไม่ได้มาจากการต่อรอง แต่เป็นเพราะสส.เล็งเห็นแล้วว่านายชวนคือคนที่มีศักยภาพเป็นบุคคลที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ความศรัทธาว่าบุคคลคนนี้ มีความซื่อสัตย์สุจริตและจะไปทำหน้าที่ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติด้วยความเป็น กลางด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เห็นประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ข้อกล่าวหาของนายธนาธรถือว่าเป็นการดูถูกกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติและเริ่มแก้รัฐธรรมนูญที่บอกว่าให้ประชาธิปไตยร่วมกับพรรคอนาคตใหม่เพื่อแก้รัฐธรรมนูญนั้นพรรคประชาธิปัตย์มีจุดยืนชัดเจนตั้งแต่ครั้งที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในการลงประชามติพรรคประชาธิปัตย์ต่างหากที่จะชวนทุกท่านมาร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ นี่คือจุดยืนของพรรค

"หลักการแก้รัฐธรรมนูญจะแก้เพื่อให้ประชาชนเกิดประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติมากที่สุดแตกต่างจากพรรคการเมืองบางพรรคที่มีแนวคิดแบบฉาบฉวยไม่สนใจต่อประเพณีและวัฒนธรรมพรรคการเมืองเหล่านี้ที่สมควรจะถูกประนามแต่ถ้ามีกรณีการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเชื่อว่าทุกพรรคการเมืองร่วมกันได้ถ้าอยู่บนหลักคิดเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ" นายราเมศ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...