วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563
"เกษตรกร 20 จังหวัดภาคอีสาน" น้อมนำชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงก้าวตามรอยพ่อ
วันนี้ (9 มิถุนายน 2563) ณ ห้องจัมปาศรี โรงแรมตักสิลา อ.เมือง จ.มหาสารคาม นายดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ ประธานโครงการฟาร์มสุขใจ บริษัท ฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (มหาชน) ,นางสาวนงนุช บัวใหญ่ CEO บริษัท ฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (มหาชน) ,ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย ,ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ,นางนิตยา นาโล ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นภาคอีสาน ,นางธนภัทร พันธวาส ประธานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งประเทศไทย ,นายชัยโรจน์ วงศ์โสภา ผู้ชำนาญการแพทย์แผนไทย ร่วมประชุมและบรรยายกับทาง นายอดิศร วัฒนบุตร ผู้ประสานงานเครือข่ายกลุ่มเรารักประเทศไทยภาคอีสาน และ แกนนำประจำจังหวัดต่างๆ ทั้ง 20 จังหวัดภาคอีสาน เพื่อเตรียมนำเสนอของบประมาณต่อทางรัฐบาลแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรหลังจากวิกฤตไวรัส covid-19
ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย เปิดเผยว่า ในแต่ละรัฐบาลจะต้องนำเอางบประมาณในแต่ละปี มาส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้กับประชาชน โดยผ่านมายัง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” ทางตนจึงได้เล็งเห็นความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง “จาก ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” เพราะตลอดช่วงเวลากว่า 4 ทศวรรษที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ “สยามมกุฎราชกุมาร” พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเรียนรู้หลักการทรงงานของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในด้านต่าง ๆ อย่างทรงพระวิริยะ เมื่อเสด็จขึ้นทรงราชย์ พระองค์ทรงมุ่งมั่นสืบสาน รักษา ต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ปวงประชาชนชาวไทยสืบไป ด้วยเหตุนี้เองทาง “เครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นไทย” จึงได้ออกมาให้ความรู้กับตัวแทนในแต่ละจังหวัดเกี่ยวกับการ “จดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน” และ “การร่างของบประมาณกับทางรัฐบาล” นอกจากนั้นแล้วพร้อมเตรียมส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรกลุ่มต่าง ๆ ได้มีอาชีพกันแล้วค่อยดำเนินการจดจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไป
ผศ.ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า การจัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” คือ “การประกอบการขนาดเล็ก เพื่อจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพึ่งพาตนเองและความเพียงพอของครอบครัวและชุมชน ทุน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่น้องไว้ใจกัน) ให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืนยังประโยชน์ให้ชุมชนผู้เป็นเจ้าของวิสาหกิจนั้นเป็นหลัก” และยังเป็นการประกอบการ ซึ่งรวมถึงกระบวนการคิด การจัดการผลผลิต และทรัพยากรทุกขั้นตอนโดยมีภูมิปัญญาขององค์กรชุมชนหรือเครือข่ายขององค์กรชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งมิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อการสร้างกำไรทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกำไรทางสังคม ได้แก่ ความเข้มแข็งของชุมชนและความสงบสุขของสังคมด้วย
นอกจากนั้นแล้ว “วิสาหกิจชุมชน”ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 นั้น วิสาหกิจชุมชน คือ “กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้าการให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรูปนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนประกาศกำหนด”.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ธรรมกาสิโน
สนามเดิมพันแห่งชีวิต (แนวเพลง: ลึกลับ–อภิปรัชญา–อีเล็กโทร–เนิบช้า) [ท่อนแรก: โลกที่ไม่แน่นอน] เงียบงันดั่งฟังก์ชันคลื่น ใจคนพลิ้วไหว ไ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. พระวิปัสสนาจารย์สันติสนทนากรรมฐาน ได้ร่วมกิจกรรมวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อบาทหลวงและผู้นำ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น