วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563

"สุวัจน์"โชว์วิสัยทัศน์ พูดไม่ชัดหนุน-ค้าน CPTPP





"สุวัจน์"ชง 7 ข้อมอบ ม.ราชภัฎ เป็นที่พึ่งชุมชนปรับเข้ากับNew Normalรู้เท่าทันโลกหลังโควิด19 พูดไม่ชัดหนุน-ค้าน CPTPP


เมื่อวันที่ 19 มิย.2563 เวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดการปฐากถาพิเศษ เรื่อง"มหาวิทยาลัย หลัง COVID 19" โดยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัย  และการเสวนาโดยศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายกงกฤช หิรัญกิจ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายมารุต ชุ่มขุนทด ผู้ก่อตั้ง Class Cafe และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี ผ่านระบบโซเชียลมีเดีย ในยุค "New Normal" 

นายสุวัจน์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่น ที่มีวัตถุประสงค์ ที่จะตอบสนองความต้องของคนท้องถิ่น ถ้าเราจะมาวิเคราะห์บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อไปจะเป็นอย่างไร  เราก็ต้องมาวิเคราะห์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับโลก และผลกระทบกับโลก และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร มีผลกระทบกับอีสานและโคราช อย่างไร เราก็ต้องปรับบทบทาทของเรา ให้ตรงกับ New Normal ที่จะเกิดขึ้นกับภาคอีสาน และตอบสนองของความต้องการของนานาประเทศและความต้องการประเทศไทยด้วย 

สำหรับผลกระทบของวิกฤตโควิด 19 ครั้งนี้ ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนด้านการท่องเที่ยว โรงแรม อุตสาหกรรม เอส เอ็ม อี สายการบิน ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ต่างๆ ดังนั้น ผลกระทบถือว่าไปทุกอุตสาหกรรมและทุกชีวิต ซึ่งมีผลค่อนข้างจะรุนแรง  พร้อมกันนี้ยังเผชิญกับเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงข้อตกลงทางการค้าด้านต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กรอบกติกากลุ่มภูมิภาคที่มีการคุยกัน 

"อย่างเช่นอาเซียนพูดคุยถึงข้อตกลงของอาเซป CPTPP ซึ่งหลายๆ ประเทศได้เข้าร่วม แต่ของเรายังไม่ได้ข้อยุติเรื่องนี้  จะมีผลกระทบหรือไม่มีผลกระทบนั้นก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องตัดสินใจกันต่อไป"

สำหรับบทบาทของมหาวิทยาลัยจากนี้ไป ตนมองไว้ 7-8 เรื่อง ที่สามารถจะ เสริมให้กับท้องถิ่นเพื่อทำให้วิถีชีวิต ทำให้ไลฟ์สไตล์ภายใต้ New Normal  หรือทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของ คนในภาคอีสานดีขึ้น ได้แก่

1.เรื่องหลักสูตร  การปรับหลักสูตร  การผลิตนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับจังหวัดนครราชสีมา 

2.มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน ในการที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการเรียนทั้งในห้องเรียนทั้งเรื่อง E-Leaning หรือลักษณะทำงานไปด้วยและอยู่ในสถานที่ประกอบการไปด้วย ซึ่งทำให้หลักสุตรของเราแน่นขึ้น

3.มีส่วนสำคัญที่จะผลิต  SME รุ่นใหม่ ผลิตไมโคร SME  หรือ Start Up ต่างๆ เพื่อจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างผู้ประกอบการ ตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจ  

4.ในเรื่องของอาหาร ภาคเกษตร เราสามารถที่เข้าไปช่วย พัฒนาในเรื่องระบบ Smart Farming  และสร้าง Smart Farmer  ให้เกิดขึ้น เพื่อจะชูว่าให้อีสานเป็นเมืองอาหาร ป้อนโลก 

5.เรื่องภาษา เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญ นำไปสู่การหาเทคโนโลยี เราสามารถท่องโลกออนไลน์ได้ และภาษาก็ต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ 

6.เรื่องเทคโนโลยี  การพัฒนาเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยเป็นพื้นฐานที่สำคัญ 

7.เรื่อง จีโน พาร์ค  จะเป็นการสร้างชื่อเสียงสำคัญพื้นฐานสำคัญการท่องเที่ยว เศรษฐกิจการลงทุนต่างๆ ซึ่งทั้งโลกให้ความสนใจในเรื่อง จีโน พาร์ค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วธ. จัดงานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ ยกย่องชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่น 248 แห่ง

วันที่ 18 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒ...