วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

"จุรินทร์"ว่างัย! "พาณิชย์"เผยส่งออกพ.ค.2563 ติดลบหดตัวมากสุดรอบ 10 ปี



"พาณิชย์" เผยตัวเลขส่งออกเดือนพ.ค.2563 ติดลบ 22.5% หดตัวมากสุดในรอบ 130 เดือนหรือกว่า 10 ปี จากผลกระทบโควิด-19 เศรษฐกิจโลกชะลอตัว มองการส่งออกในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้ายังไม่ฟื้น หลังการนำเข้าเครื่องจักร-วัตถุดิบร่วงหนัก

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพ.ค.63 ว่า การส่งออกไทยในเดือนพ.ค. มีมูลค่า 16,278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 22.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 5 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.63) มีมูลค่า 97,899 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 3.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม หากหักตัวเลขการส่งออกสินค้าเกี่ยวกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ จะพบว่าตัวเลขส่งออกในเดือนพ.ค.63 ติดลบ 27.19% และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสินค้าจะพบว่า การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ ติดลบ 62.6% , น้ำมันสำเร็จรูป ติดลบ 42.4% ,เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ติดลบ 39.5% ,เครื่องจักรและส่วนประกอบ ติดลบ 37% ,เคมีภัณฑ์ ติดลบ 30% และเม็ดพลาสติก ติดลบ 26.7% เป็นต้น

"มูลค่าส่งออกเดือนพ.ค.63 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี นับจากเดือนเม.ย.59 และเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 130 เดือนหรือในรอบกว่า 10 ปี นับจากเดือนก.ค.52 โดยมีสาเหตุจากผลกระทบของโควิดที่ชัดและมีนัยสำคัญ เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประกอบกับมูลค่าส่งออกเดือนพ.ค.62 อยู่ที่ 21,015 ล้านดอลลาร์ เมื่อฐานเดิมสูง ทำให้ส่งออกติดลบเยอะ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลายตัวหดตัวมาก เพราะมีปัญหาโลจิสติกส์"  น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว

สำหรับการนำเข้าในเดือน พ.ค. มีมูลค่า 13,584 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 34.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้การนำเข้าในช่วง 5 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.63) มีมูลค่า 88,808 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 11.64% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ในเดือนพ.ค.ไทยเกินดุลการค้า 2,694.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ 5 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.63) ไทยเกินดุลการค้า 9,090.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า เมื่อมองไปข้างหน้า การส่งออกไทยไม่น่าจะต่ำไปกว่าเดือนเม.ย.-พ.ค.แล้ว เพียงแต่ว่าขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะฟื้นเมื่อไหร่ และต้องอยู่ในภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่มีการระบาดของโควิดรอบใหม่ หรือมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การนำเข้าที่หดตัว 34.41% นั้น เป็นการหดตัวของการนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบ ทำให้คาดว่าการส่งออกไทยในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า จะยังไม่มีฟื้นตัว ขณะที่เงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่า

"การฟื้นตัวของการส่งออกจะเป็นรูปอะไร เราคงไม่คิดไปถึงตรงนั้นแล้ว ซึ่งตอนนี้น่าจะต่ำสุดแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะฟื้นตัวเมื่อไหร่" น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว

น.ส.พิมพ์ชนก ยังระบุว่า แม้ว่าการส่งออกเดือนพ.ค.63 จะหดตัวค่อนข้างมาก แต่จะพบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้ากลุ่มอาหารกลับมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 22% ของมูลค่าการส่งออก จากเดิมที่มีสัดส่วน 15-16% ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจะต้องเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารมากขึ้น พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อโควิดในกระบวนการผลิตและโรงฆ่าสัตว์ หลังจากมีข่าวในต่างประเทศว่ามีการติดเชื้อโควิดจากโรงฆ่าสัตว์

ส่วนแนวโน้มการส่งออกทั้งปี 63 น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า สนค.ไม่ได้ตั้งเป้าหมายตัวเลขส่งออกไว้ แต่จากการคำนวณเบื้องต้น หากการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ กลับมามีมูลค่าเฉลี่ย 1.7-1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน การส่งออกปี 63 จะติดลบ 5% แต่หากตัวเลขดีกว่านั้น การส่งออกติดลบน้อยลง

นอกจากนี้ สนค.ได้มีข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ 6 ข้อ ได้แก่ 1.ช่วยเหลือบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางให้ดำเนินธุรกิจอยู่ได้ ในภาวะที่การส่งออกยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว เพราะหากธุรกิจเหล่านี้ปิดตัวไปก็จะกระทบการจ้างงานเป็นจำนวนมาก และแม้ว่ารัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีมาตรการเสริมสภาพคล่อง โดยสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) แล้ว แต่พบว่าบริษัทกลุ่มนี้ยังเข้าถึงซอฟท์โลนได้ยาก

2.สนับสนุนการรุกตลาดส่งออกที่ยังมีศักยภาพ มีกำลังซื้อ ฟื้นตัวจากโควิดได้เร็ว และมีความต้องการสินค้าจากไทย เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ 3.ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสินค้าที่เป็น new normal ซึ่งมีการกิน อยู่ ใช้ บริโภคทุกวัน เช่น สินค้าที่มีความปลอดภัย สินค้าด้านสุขภาพ รวมถึงสินค้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับ work from home เป็นต้น

4.ประสานงานและช่วยแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังมีต้นทุนที่สูงมาก และมีปัญหาการปฏิบัติ และ5.สนับสนุนผู้ส่งออกในเรื่องการประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน โดยภาครัฐจะต้องมีมาตรการที่ทำให้ผู้ส่งออกเข้าถึงการประกันความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น และ 6.การเชื่อมโยงนโยบายการค้าและการลงทุน โดยสนับสนุนซัพพลายเชนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะซัพพลายเชนที่ย้ายฐานการผลิตมาจากจีน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันนี้บุคคลที่ดำรงแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คือนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

"จุรินทร์"ตอบกระทู้สดพาณิชย์ใช้ยุทธศาสตร์ "ตลาดนำการผลิต"   

ทั้งนี้ที่อาคารรัฐสภา นายจุรินทร์  ตอบกระทู้สดในสภา ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาล้งจีนที่เข้ามารับซื้อลำไยในประเทศว่า ล้งที่ขึ้นทะเบียนไว้ปัจจุบันมีทั้งหมด 42 ราย ในการแก้ปัญหาเรื่องนี้มีกระทรวงพาณิชย์มีมาตรการที่จะส่งเสริม ทั้ง ล้งไทย และ เกษตรกร ให้ได้มีโอกาสรวบรวมผลผลิต โดยไม่อาศัยล้งจีนเพียงอย่างเดียว  นอกจากนั้นแล้วก็ยังใช้วิธีการระบายลำไยผ่านกระบวนการในตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ  ส่วนกรณีปัญหาล้งไม่เพียงพอ  ก็เป็นเรื่องที่ต้องหารือกันต่อไป  แต่กระทรวงพาณิชย์ได้ดูเรื่องนี้ทั้งระบบ และทั้งหมดก็ถือเป็นมาตรการเชิงรุกในการที่จะเข้าไปดำเนินการตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ช่วยให้ลำไยในประเทศราคาดีพอสมควร และในปีนี้ตนได้เริ่มต้นดำเนินการมาหลายเดือนแล้วล่าสุดวันที่ 7  มิถุนายน 2563 ตนได้เดินทางไปรับทราบปัญหาและคลี่คลายปัญหาร่วมกับเกษตรกร ผู้แปรรูป และผู้ส่งออก และภาคข้าราชการทั้งหมดด้วยตัวเอง   ทั้งหมดได้มีมาตรการชัดเจนที่จะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวด้วยว่า มาตรการช่วยเหลือชาวสวนลำไยในประเทศ  กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการชัดเจน   5 มาตรการ  กล่าวคือ  1. การช่วยเหลือเกษตรกรที่เก็บลำไย ทันทีที่เก็บให้แจ้งพาณิชย์จังหวัดจะได้รับความช่วยเหลือกิโลละ 3 บาท โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมไปแล้ววงเงิน 72 ล้านบาท  2.มาตรการในการช่วยค่าบริหารจัดการให้กับล้ง โดยช่วยกิโลละ 3 บาทเหมือนกัน  ทันทีที่ล้งรับซื้อหนึ่งกิโลก็สามารถเบิกเงินจากกระทรวงพาณิชย์ได้ทันทีกิโลละ 3 บาท เพื่อช่วยให้มีการเร่งรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกร   3. ช่วยผู้ส่งออก ทันทีที่ส่งออกหนึ่งกิโลสามารถนำเอกสารไปเบิกกิโลละ 5 บาท  เพื่อช่วยทั้งระบบ ทั้งเกษตรกร และล้ง เพื่อให้ลำไยพ้นจากสวนไปสู่ตลาดต่างประเทศ เป็นการระบายเพื่อที่จะให้ราคาปรับเงินที่สูงขึ้น และ  4.  การชะลอขาย   โดยกระทรวงพาณิชย์มีมาตรการช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่รวบรวมไม่ขายรัฐจะช่วยเรื่องมาตรการดอกเบี้ย ทั้งเกษตรกร และ ผู้ส่งออก  ดอกเบี้ยร้อยละ3 ต่อปี  หากจะต้องมีการไปกู้เงินเพื่อชะลอการขาย  5. ในเรื่องของการส่งเสริมการบริโภคผลไม้  รวมทั้งลำไย   โดยงบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเร่งบริโภคลำไยในประเทศ และเริ่มต้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยได้สั่งการตั้งแต่ลงพื้นที่ลำพูนในวันที่ 7 มิถุนายน และยังได้กำชับไปอีกรอบหนึ่งว่ามาตรการทั้งหมดต้องดำเนินการทันทีไม่ให้ชักช้า

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวด้วยว่า  ในเรื่องการตลาดได้เตรียมการเชิงรุกเรียบร้อยแล้ว  โดยใช้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต โดยเน้นทั้ง ตลาดในประเทศ และ ต่างประเทศ  โดยเฉพาะตลาดในประเทศ จะเน้นทั้งออฟไลน์ และออนไลน์   โดยมีการเตรียมการเซ็นสัญญาโมเดิร์นเทรด กับห้างสรรพสินค้าดังๆในประเทศ   อาทิ มีการเซ็นสัญญากับ ห้างเซ็นทรัล และ ห้างเดอะมอลล์    ที่จะรับไปลำไยเกรดพรีเมี่ยม จำนวน 200 ตัน ไปจำหน่าย  นอกจากนั้นยังมีการ ดำเนินการในเรื่องของตลาดซื้อขายล่วงหน้า เตรียมการในเรื่องโมเดิร์นเทรดในห้างอื่นๆ  อีก 4,800 ตัน   ซึ่งขณะนี้มีการเซ็นเรียบร้อยแล้ว  มูลค่าเกือบ 200 ล้านบาท และยังได้สั่งการให้กับพาณิชย์จังหวัดทำหน้าที่เซลล์แมนจังหวัดในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างจังหวัด  77 จังหวัด  ลำไยก็เป็นหนึ่งในสินค้าตัวนั้น ขณะนี้ขายได้ 42 ล้านบาท และจะต้องเดินหน้าดำเนินการต่อไป เช่น เอาลำไยแลกข้าว  เอาลำไยแลกลองกอง   แลกปลา ส่วนต่างของเงินจ่ายเป็นเงินสด หรือ เอาสินค้าอื่นมาเติม   ทั้งหมดเป็นมาตรการที่ได้ดำเนินการ และเตรียมการไว้แล้ว  นอกจากนั้นในเรื่องตลาดออนไลน์ในประเทศ  เราก็สามารถที่จะทำให้ลำไยขึ้นไปขายในแพลตฟอร์ม ลาซาด้า เจดี จตุจักร ช๊อปปี้  ไทยแลนด์โพสต์มาสของไปรษณีย์ไทย และ อื่นๆ เป็นต้น  และในช่วง พฤษภาคม-มิถุนายน   กระทรวงพาณิชย์ได้จัด Thai fruit golden month แปลว่าสองเดือนทองสำหรับผลไม้  มีลำไยอยู่ในนั้นด้วย  เพื่อที่จะเร่งรัดส่งเสริมการบริโภคให้กับคนไทยทั่วทั้งประเทศ และมียอดขายแล้วขณะนี้หลาย 10 ล้านบาท    ส่วนในตลาดต่างประเทศก็ได้มีการเตรียมการ ทั้งตลาดออนไลน์ และ อ๊อฟไลน์     เช่น ตลาดอ๊อฟไลน์  ใน 9 เมืองของจีน  ซึ่ง ลำไยส่งออกจีนมากที่สุด  นอกจากนั้นยังมี สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

วันที่ 1-4 กันยายน นี้ จะมีการไปร่วมงานสินค้ามาเลเซีย โดยจะนำลำไยไปด้วย  ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้เตรียมการไว้  ส่วนในเรื่องของออนไลน์ก็ได้มีการดำเนินการขายผ่าน Tmall หรือ อารีบาบาของจีน   โดยไลฟ์สดขายผลไม้ไทยออนไลน์  20 นาที มีผู้ชมทั้งหมด 16,000,000 คน  นอกจากนั้นยังมีขายอีกหลายประเทศด้วยกัน   ที่สำคัญก็คือวันที่   16 - 17 กรกฎาคม 2563   ตนจะเชิญผู้ซื้อจากต่างประเทศ และผู้ขายลำไยในประเทศไทย ขายกันบนออนไลน์ ที่กระทรวงพาณิชย์   จัดให้   จะมีลูกค้า ทั้งจีน อาเซียน เอเชีย และตะวันออกกลาง มาซื้อลำไย ผ่านกระบวนการออนไลน์ในวันที่ 16 - 17 นี้

"ขอให้สบายใจว่ากระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมมาตรการเชิงรุกไว้ทั้งหมด และทุกอย่างต้องทำด้วยความรวดเร็วตามแผนและถ้ายังติดขัดปัญหาใดๆก็จะเร่งดำเนินการแก้ไขให้ และขณะนี้อินโดนีเชียเป็นตลาดเดียวที่มีปัญหา เพราะปีนี้อินโดฯยังไม่อนุญาตให้มีการนำเข้า เพราะอินโดฯใช้นโยบายซึ่งตนเอง ลำไยเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ติดปัญหา ตนพยายามที่จะแก้ไข ได้ทำหนังสือถึง รมว.พาณิชย์อินโด และขอนัดหมายเจรจาอีกไม่กี่วันระดับเจ้าหน้าที่ก็จะมีการเจรจาที่อินโดนีเซีย  เพื่อที่จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือในที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนในวันที่ 27 - 28 กรกฎาที่จะถึงนี้  ขอให้ได้รับความมั่นใจว่ากระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลจะดูแลชาวสวนอย่างเต็มที่" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว


 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า มาตรการช่วยเหลือเรื่องดอกเบี้ย 3% สำหรับผู้รวบรวมผลผลิต ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทจำกัดเท่านั้น ที่อยู่ในเงื่อนไขที่ไปกู้เงินได้ ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชน หรือ ในรูปแบบนิติบุคคลอื่นที่กู้เงินธนาคารได้ ก็สามารถมารับความช่วยเหลือในเรื่องของรวบรวมผลผลิตนี้ได้ร้อยละ3 ต่อปีเช่นเดียวกันทั้งหมด 


Cr.https://www.isranews.org/article/isranews-news/89844-moc-export-may63.html?fbclid=IwAR32kHGRJn4WtiLkqF9RVVEabKrUDfvugfVC7pLcFgGAwq5MBGTQ3vk__J8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รวม 4 สุดยอดเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส จ.นครพนม อายุ109 ปี

เหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช  หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อายุ 109 ปี รวมความเป็นสุดยอดดังนี้ สุดยอดพุทธศิลป์ สุดยอดม...