วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

"หญิงหน่อย"ติงคนละครึ่ง ทำเหมือนการโปรยทาน คนเดือดร้อนจริงๆไม่ได้



วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2564 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โพสต์ข้อความลงบนทวิตเตอร์เกี่ยวกับโครงการคนละครึ่งเฟส 2 รอบเก็บตกที่ได้ทำการเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิเช้าวันนี้ โดยสิทธิเต็มภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที ระบุว่า

 "#ขอสู้เพื่อคนตัวเล็ก โครงการกระตุ้น ศก. แต่ทำเหมือนการโปรยทาน ต้องแย่งกัน ได้มั่ง ไม่ได้มั่ง คนเดือดร้อนจริงๆ กลับไม่ได้ จะกระตุ้น ศก.ได้ ต้องลงเงินให้ถูกจุด จำนวนต้องมากพอที่จะRestartศก.และต้องรวดเร็ว"

#ขอสู้เพื่อคนตัวเล็กโครงการกระตุ้น ศก. แต่ทำเหมือนการโปรยทานต้องแย่งกัน ได้มั่ง ไม่ได้มั่งคนเดือดร้อนจริงๆ กลับไม่ได้จะกระตุ้น ศก.ได้ ต้องลงเงินให้ถูกจุด จำนวนต้องมากพอที่จะRestartศก. และต้องรวดเร็ว#คนละครึ่งเฟส3  

"พิชัย" ท้วง นายกฯ เปลี่ยนเยียวยาเป็นเงินสด ยัน ประชาชนจำเป็นต้องใช้

ขณะที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้ออกมาตรการเยียวยา ไทยชนะ ผ่าน ครม. ให้เยียวยาประชาชน เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน แล้วนั้น นอกจากจำนวนเงินจะน้อยไป เพราะแค่วันละ 117 บาท เท่านั้น และระยะเวลาสั้นไปเพราะไม่น่าจะควบคุมสถานการณ์และกลับมาเป็นปกติได้ใน 2 เดือนแน่ แล้วรัฐบาลยังกำหนดว่า จะไม่จ่ายเป็นเงินสดแต่จะจ่ายเข้าบัญชีและเบิกเงินสดไม่ได้ นำไปใช้จ่ายได้แบบโครงการคนละครึ่งเท่านั้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะในภาวะที่ลำบากกันอย่างมากนี้ ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในหลายกรณี ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ได้เร่งปรับเปลี่ยนการจ่ายเยียวยาให้กับประชาชนให้เป็นเงินสดเพื่อบรรเทาความลำบากของประชาชน          

นายพิชัย กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ข้ออ้างของรัฐบาลฟังแล้วเหมือนอยู่คนละโลกกับความเป็นจริงที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันอย่างมาก การที่ไม่ให้เบิกเงินสดโดยอ้างว่า กลัวประชาชนจะไปซื้อ ลอตเตอรี่ เหล้า บุหรี่ บ้าง กลัวไวรัสโควิด จะติดมากับเงินสดบ้าง กลัวจะไปใช้จ่ายเอื้อประโยชน์กิจการของเจ้าสัวบ้าง (ซึ่งเรื่องที่เอื้อประโยชน์จำนวนมากกลับไม่พูดถึง) อีกทั้งยังจะจ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ติดต่อกัน 7 สัปดาห์ กลัวว่า ประชาชนจะใช้เงินหมดเร็ว ซึ่งคิดเหมือนประชาชนไม่มีปัญญาจะบริหารจัดการตัวเองได้ นอกจากนี้ แทนที่จะแจกประชาชนที่กำลังลำบากอย่างทั่วถึง กลับต้องให้ลงทะเบียนผ่านมือถืออีก โดยประชาชนจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ พอถูกถามเรื่องนี้ รัฐบาลกลับบอกว่า จะมีการติดต่อบริษัทให้มาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้ในราคาพิเศษ ให้กับคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสามารถซื้อเพื่อลงทะเบียนเข้าโครงการได้ ซึ่งต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อมือถือที่หลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และยังต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นแบบไม่สมเหตุสมผล          

รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า โดยทั้งหมดนี้ ดูเหมือนรัฐบาลกำลังสับสน ทั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยได้เตือนรัฐบาลแล้วว่าให้คิดให้ดี คิดให้ครบกรอบ ก่อนที่จะออกมาตรการ อย่าทำแบบ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ที่ต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางหลายหนเพราะถูกตำหนิมาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้อยากให้รัฐบาลเร่งเปลี่ยนแปลงเป็นการจ่ายเป็นเงินสด เพื่อให้ช่วยประชาชนได้ตรงตามความจำเป็นของประชาชนมากกว่า โดยที่รัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้อยู่แล้ว ไม่เข้าใจใจว่าจะไปกำหนดให้ประชาชนยุ่งยากเพิ่มขึ้นทำไม กลายเป็นรัฐบาลที่แจกเงินประชาชนแต่กลับโดนประชาชนด่ามาตลอด          

นายพิชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ การที่รัฐบาลและ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการปล่อยกู้ช่วยเหลือ ธุรกิจ SMEs ให้สะดวกขึ้นง่ายขึ้น ในวงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ปล่อยไปได้เพียง แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจ SMEs อีกเป็นจำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ นับเป็นเรื่องที่ดี และอยากให้เร่งดำเนินการ และอยากให้มีการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพิ่มเติมหากจำเป็น โดยอยากให้รัฐบาลได้ปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านเดิม ที่วางแผนจะซื้อพันธบัตรของเอกชน แต่ตอนนี้เชื่อว่าคงยกเลิกแผนการซื้อพันธบัตรของเอกชนนี้ไปแล้วเพราะถูกคนคัดค้านกันมาก ได้ปรับเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านบาทดังกล่าวมาเป็นการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs แทน ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจ SMEs จำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ ที่จะประคองตัวให้ผ่านภาวะวิกฤตินี้ไปได้ และจะสามารถฟื้นกลับมาได้อีกครั้งหลังจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นกลับมาได้ ทั้งนี้ต้องเลือกด้วยว่าธุรกิจไหนสามารถจะฟื้นได้ โดยรัฐอาจจะต้องเข้าไปรับผิดชอบในหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าคงไม่มากนักหากเศรษฐกิจฟื้นกลับมา และ สามารถเลือกSMEs ที่จะไปรอดให้ดี นอกจากนี้รัฐบาลน่าจะต้องมีโครงการการรักษาการจ้างงานควบคู่กับการช่วยเหลือด้วย เพื่อป้องกันคนจะตกงานเป็นจำนวนมาก ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ โดยรัฐบาลอาจจะสนับสนุนการจ้างงานบางส่วน          

"ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ทรุดหนักเช่นนี้ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นได้ รัฐบาลจะต้องเปิดใจรับฟังความเห็นทุกทางเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการบริหารประเทศของรัฐบาล อย่ามีอคติคิดว่าจะเป็นการตำหนิ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลต้องยอมรับก่อนว่าการบริหารของรัฐบาลล้มเหลวมาโดยตลอด กรอบคิดของรัฐบาลมีปัญหา หากมองย้อนหลังด้วยใจเป็นธรรม จะพบว่าทุกเรื่องที่ผมได้เตือนมาเป็นความจริงมาโดยตลอดและเป็นไปตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หากรัฐบาลจะเปิดใจรับฟังและนำไปปรับปรุงน่าจะช่วยได้มาก ซึ่งตอนนี้ก็ควรจะนึกได้แล้วเละควรฟังคำแนะนำของทุกฝ่ายมากขึ้น ก่อนประเทศจะย่ำแย่ไปกว่านี้" นายพิชัย กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส ดัน "นวดไทย-อาหารไทย-สมุนไพรไทย" เป็น Soft Power

วันที่ 20 เมษายน 2567 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐม...