วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566

“ฉลาด” มั่นใจ “โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน”เพื่อไทย ตอบโจทย์เกษตรกรเชื่อแก้ปัญหาน้ำได้ทั้งระบบ



  “ฉลาด” มั่นใจ “โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน”เพื่อไทย ตอบโจทย์เกษตรกรเชื่อแก้ปัญหาน้ำได้ทั้งระบบ แนะเพื่อไทยยกปัญหาแก้ภัยแล้งเป็น “วาระแห่งชาติ” 

  เมื่อวันที่ 29  มิถุนายน 2566 นายฉลาด  ขามช่วง ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่เพื่อพบปะพี่น้องประชาชน ได้รับข้อร้องเรียนจากเกษตรกรว่าเดือดร้อนมาก หลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้เพราะไม่มีน้ำทำการเกษตร ในขณะที่ลำน้ำชีแห้งขอด เกษตรกรไม่สามารถผันน้ำมาใช้ในการเกษตรได้ ดังนั้น อยากให้รัฐบาลใหม่เร่ง แก้ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นพร้อมจัดหาน้ำตามธรรมชาติเพื่อใช้ในการเเกษตร บรรเทาทุกข์เกษตรกรโดยเร็ว 

@siampongnews [พร้อมส่ง] 1 ห่อมี 5ก้อน #สบู่สมุนไพรพรทิน่า ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

ในขณะเดียวกันเกษตรกรหวังพรรคเพื่อไทยเดินหน้าในการแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างจริงใจ พร้อมสนับสนุนนโยบายธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ในแต่ละปีไทยมีปริมาณฝนตกลงมามาก แต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน จะเป็นส่วนสำคัญการนำน้ำฝน ที่ตกลงมากักเก็บไว้ใต้ดิน ทั้งนี้ปริมาณน้ำฝนที่ตกมาในแต่ละปีให้เกษตรกร นำมาใช้ ประโยชน์ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่ามหาศาล 

นายฉลาด กล่าวด้วยว่า โครงการบริหารจัดการน้ำสมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นโครงการแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ สามารถแก้ ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นพรรคเพื่อไทย ควรนำ โครงการดังกล่าวมาศึกษาใหม่ ปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน  เชื่อว่าหากโครงการนี้สำเร็จจะช่วยแก้ปัญกาภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

“พรรคเพื่อไทยกำหนดแก้ปัญหาภัยแล้งเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมจัด ทำโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ แก้ปัญหาภัยแล้ง และแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าโครงการดังกล่าวใช้ งบประมาณไม่มากแต่ได้ประโยชน์มหาศาล หากเทียบกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันท์โอชา นายกรัฐมนตรี 8 ปี ใช้งบประมาณแก้ปัญหาภัยแล้งกว่า 600,000 ล้านบาทแต่ไร้ประสิทธิ ดังนั้นควรนำโครงการบริหารจัดการน้ำ สมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์มาปรับปรุงใช้ ทั้งนี้เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์กับเกษตรกรทั้งประเทศอย่างแน่นอน” นายฉลาด กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า หากมีการประยุกต์เข้ากับโคกหนองนาโมเดลที่กระทรวงมหาดไทยดำเนินการอยู่และเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติก็เข้ามาติดตามงานเพราะเห็นว่าการเป็นพัฒนาที่ยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...