วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สาร"บิ๊กตู่"ฉลองวิสาขบูชาโลก ยก"ไม่เบียดเบียนกัน" แนวสร้างสันติภาพโลก



"บิ๊กตู่"มอบ"สุวพันธุ์"อ่านสารพิธีฉลองวันวิสาขบูชาโลก ที่ยูเอ็นกทม. ผู้นำชาวพุทธ 85 ประเทศ กว่า 3,000 รูป/คนเข้าร่วม ยกโอวาทปาฏิโมกข์ การไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นแนวทางสร้างสันติภาพโลก



วันที่ 27 พ.ค.2561 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร  พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และประธานคณะกรรมการสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก เป็นประธานในมีพิธีเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 15 ประจำปี 2561  ซึ่งมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และเนื่องในโอกาสสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม  ภายใต้หัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์” โดยมีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ เข้าร่วม 85 ประเทศ กว่า 3,000 รูป/คน 




ภายในพิธีมีการกล่าวและอ่านสุนทรพจน์ผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลก รวมถึงนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้อ่านสารของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยได้ยกหลักคุณธรรมจริยธรรมในพระพุทธศาสนาคือโอวาทปาฏิโมกข์ในส่วนที่เป็นอุดาการณ์สำคัญคือการไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ในการดำเนินชีวิต นับเป็นแนวทางสันติวิธีส่งเสริมให้โลกมีสันติภาพอย่างแท้จริง






สารจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
H.E.Antonio Guterres 

 
"คำสอนของพระพุทธองค์จะเน้นเรื่องเมตตากรุณาที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษย์มาก  ขณะที่โลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ จากปัญหาต่อสภาพอากาศที่ เปลี่ยนแปลง ความลำเอียงอคติ และความไม่เท่าเทียมกัน เป็นเหตุให้มนุษย์ขาดความสามัคคี เป็นปีกแผ่น ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำให้คนทั้งโลกมีความสามัคคีปรองดองกัน จุดสำคัญของพระพุทธศาสนาในเรื่องความเท่าเทียมกันในเกียรติศักดศรี ของความเป็นมนุษย์นั้นพบว่าจำเป็นและสำคัญยิ่งในวาระการประชุมที่ 2030 เกี่ยวกับการ พัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน

คำสอนพุทธศาสนาที่เป็นสากลช่วยชี้แนะพวกเราให้คนพบและเข้าใจตัวเองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ไม่ใช่ผู้ครองโลก ทั้งนี้พุทธศาสนายังเน้นเรื่องอหิงสาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการ สร้างสันติสุขจาก เรื่องสันติสุข สภาพสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป และสิทธิมนุษยชน พระพุทธศาสนานั้นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากกับภารกิจหลักขององค์การสหประซาชาติในปัจจุบัน เป็นเหตุผลสำคัญที่สังคมพุทธทั่วโลก และทุกคนของพวกเราได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับคำสอนของ พระพุทธเจ้าในเรื่องขันติ ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และความเป็นมนุษย์ เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาครั้งนี้ ขอให้พวกเรามีจิตมุ่งมั่นในประสานเชื่อมต่อความแตกต่าง ให้เป็นหนึ่ง ใส่ใจดูแลผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และน่าพาทุกคนไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น" 

สารจาก H.E.Audrey Azoulay
ผู้อำนวยการยูเนสโก

"องค์การสหประชาชาติมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมนั้นจะต้องเริ่มจากเยาวชนในสังคมที่เคารพในความแตกต่างและสิทธิเสรีภาพ ความเป็นพลเมืองโลก และการใส่ใจดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ผ่านการพูดคุยสื่อสารและทำความเข้าใจร่วมกัน หลายศตวรรษที่ผ่านมาพระพุทธศาสนาเป็นดั่งยานพาหนะที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้มีโอกาสในการพูดคุยพบปะกันและทำความเข้าใจร่วมกัน ดังเห็นได้ชัดจากสถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ในประเทศต่างๆ อัฟกานิสถาน ญี่ป่น อินเดีย เนปาลและประเทศไทย มีความเชื่อมโยงต่อกันทำให้ได้มาพบปะกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำความเข้าใจร่วมกัน"


สารเลขาธิการกระทรวงพระพุทธศาลนาประเทศศรีลังกา

"ถือเป็นโอกาสสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับพุทธคาสนิกชนโลกได้มาประชุมร่วมกัน พูดคุยถกเถียงป้ญหาต่างๆ และทำงานร่วมกันเพื่อปกป้อง คุ้มครอง และเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้มีความยั่งยืนสืบไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับรัฐบาลไทยได้ร่วมจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาฃบูชาโลกครั้งที่ 15 ซึ่งได้จัดมาตลอดหลายปี จึงสมควรที่จะได้รับคำชื่นซมและเคารพจากชาวพุทธทั้งมวล"


สารจากพุทธคาสนิกซนแห่งสาธารณรัฐอาร์มิเนีย
Artashes K. Ghazaryan,Ph.D. 

"หลักธรรมสำคัญของพระพุทธเจ้า คือ ปฏิจจสมุปบาท  ถือเป็นเครื่องมือสำหรับการชี้นำมนุษยชาติให้เข้าใจถึงการเชื่องโยงถึงสรรพสิ่งที่มีชีวิต ธรรมชาติ และโลกของเรา  ความเมตตากรุณาช่วยทำให้มนุษย์เข้าใจความทุกข์ของผู้อื่นที่รับผลกระทบจากการกระทำความรุนแรง เช่น การกระทำความรุ่นแรงต่อ สิ่งมิชีวิต การเกิดสงคราม และการทำลายระบบนิเวศ เป็นต้น รวมถึงคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้าคือ อริยสัจ 4 และมรรค 8 หากมนุษย์เข้าใจและตระหนักในธรรมเหล่านี้ การเกิดสงคราม มทันตภัยร้าย วิกฤตโลก และทุกสิ่งที่ทำให้สังคมล้าหลังและด้อยพัฒนา จะค่อยๆหมดไป" 


สารจากสภาสงฆ์โลก
Yen. ChaoKun Seik Hui Siong


"โลกปัจจุบันมนุษย์เต็มไปด้วยตัณหา ถ้าละเลยตัวตัณหาก็จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ชอบ หากขาดปัญญาแล้ว พวกเราอาจจะถูกครอบงำโดยความวิตกกังวล และความโลภ สิ่งเดียวเท่านั้นที่จะช่วยให้พ้น จากความทุกข์ทั้งปวงได้คือ ความเข้าใจหลักเหตุและผล (ปฏิจจสมุปบาท) และประกอบด้วยเจตคติที่ดี"

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้พวกเราเข้าสู่ยุคดิจิตอล แต่สิ่งสำคัญคือการมุ่งเน้นแต่ในเรื่องความสะดวกและรวดเร็วนั้นก่อให้เกิดความไม่มั่นคงด้านจิตใจ และไม่สามารถบรรลุนิพพานได้เป็นเหตุนำมาซึ่งอาชญากรรมและความรุ่นแรงทางสังคม เช่น ความรุ่นแรงและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับครอบครัวซึ่งมา จากการที่พ่อแม่ที่ไม่สามารถดูแลลูกๆได้อย่างเต็มที่ แน่นอนว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นช่วยสร้างความสะดวกสบายแก่มนุษย์ แต่เป็นตัวขัดขวางอิสรภาพทางสังคมทางอ้อม  เพื่อปกป้องคุ้มครองการพัฒนาเทคโนโลยี เราจำเป็นต้องเรียนรู้และควบคุมให้เหมาะกับทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประโยซน้แก่เยาวชนรุ่นหลัง โดยความศรัทธาและตระหนักในการควบคุมเทคโนโลยี เราสามารถจะ จำกัดความต้องการของเราและช่วยป้องกันการพัฒนาเทคโนโลยีแบบไม่จำเป็นได้ และยังสืบต่อถึงป้จจุบันเพื่อเป็นตัวสร้างโลกแห่งสันติ และความเป็นอยู่ ของมนุษย์'ที่ดี'ขึ้น การศรัทธาในพุทธศาสนาสามารถนำพวกเราสู่ตินแดนสันติสุขได้"


สาส์นจากนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย

"ชาวพุทธออสเตรเลียได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา พวกเราโชคดีที่ได้อยู่ในประเทศซาติที่มีความอิสระในการแสดงความคิดเห็นและความเชื่อที่แตกต่าง ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันและกลายเป็นจุดแข็งในซาติ ความร่วมมือร่วมใจและความรับผิดซอบต่อหน้าที่ชาวพุทธของออสเตรเลียนั้นนำมาซึ่งมิตรไมตรี สามัคคี และสันติสุข ซึ่ง เป็นหัวใจของความสำเร็จในทุกอย่าง"


สารจากพุทธสมาคมประเทศออสเตรเลีย

"พิธีเฉลิมฉลองวันวิสาขโลกของชาวออสเตรเลียนั้นได้ถูกจัดขึ้นตั้งแต่ ปี 2007 โดยการร่วมมือและสนับสบุนของพุทธสมาคม องค์การปกครองส่วนห้องถิ่น และรัฐบาล แห่งชาติออสเตรเลีย ขอให้คุณงามความดีที่ทำร่วมกันส่งผลให้การประชุมครั้งนี้ได้ถูกนำไปเผยแพร่ และนำไปสู่การ ร่วมมือ ความสามัคคี และความเป็นปีกแผ่นของสังคมพุทธนานาชาติทั่วโลกในปีต่อๆไป ข้างหน้า"

สารจากสมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี
ฝ่ายธรรมยุติกนิกายแห่งประเทศกัมพูชา



"เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการจัดงานวิสาขโลกครั้งนี้จะช่วยสร้างความสันติสุขให้แก่ผู้นำชาวพุทธ และส่งเสริมความสามัคคี ความเป็นมิตรไมตรี ความเข้าอกเข้าใจ ขันติ และความเจริญรุ่งเรืองแก่มวลมนุษยชาติ และถือเป็นโอกาสที่ดีต่อตัวแทนชาวพุทธทั่วโลกในการสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า" 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...