วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เผยโลกยอมรับ"พระพุทธเจ้า-โสคราตีส"ฉลาดที่สุด



พระพรหมบัณฑิตแถลงสรุปการจัดงานวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 15 ระบุ โลกยอมรับ"พระพุทธเจ้า-โสคราตีส"ฉลาดที่สุด 

วันที่ 26  พฤษภาคม  2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และประธานคณะกรรมการสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก แถลงการณ์สรุปการจัดงานวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 15   ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลัก ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561  โดยมีการประชุมวิชาการนานาชาติที่  มจร  และจะมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2561 

โดยเฉพาะที่ มจร นั้น มีการจัดรูปแบบการจัดกิจกรรมต่างจากการจัดงานที่ผ่านที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการกล่าวสุนทรพจน์และช่วงที่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกนำเสนอประสบการณ์ทำงานในเวทีของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย   4 กลุ่ม คือ  (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for Social Welfare)

พระพรหมบัณฑิต ได้ระบุว่า จากผลการกล่าวสุนทรพจน์และนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกนำเสนอประสบการณ์ทำงานนั้น พบว่า มีการเปรียบเทียบบุคคลในอดีตที่ฉลาดที่สุดในโลกที่เป็นที่ยอมรับอยู่ 2 คนคือทางตะวันออกได้แก่พระพุทธเจ้าส่วนตะวันตกคือโสคราตีส นอกจากนี้มีผู้เสนอเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย  พร้ือมกันนี้พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาจุฬาฯ ได้กล่าวถึงมิติในการพัฒนามนุษย์ หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระองค์ได้ส่งพระสาวก 60 รูป ออกไปเผยแผ่เพื่อประโยชน์สุขแห่งชาวโลกจะเห็นว่าศาสนาพุทธเกิดขึ้นมาเพื่อพัฒนามนุษย์ 

"จึงมีถามว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรคำตอบคือตรัสรู้อริยสัจ 4  เพื่อจัดการความทุกข์ของมนุษย์ ตลอด 45 ปี พระพุทธเจ้าสอนวิธีการสอนด้วยไตรสิกขา มีเป้าหมายของการสอนด้วยการพัฒนามนุษย์ ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เดินตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 ด้วยการฝึกสติ เป็นการฝึกจิตผ่านจิตสิกขาและปัญญาสิกขา การพัฒนามนุษย์ต้องศึกษาจากภายในของตนเอง ภายในกายของมนุษย์มีขันธ์ 5 การฝึกจิตที่ได้ผลคือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่ต้องเริ่มจากศีลจากพัฒนาไปสู่ปัญญาทางพระพุทธศาสนาจนถึงอภิญญา สิ่งเดียวจะจัดการความทุกข์ได้ ต้องปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานและการฝึกสติเป็นวิธีทางเดียวเท่านั้นตามแนวทางพระพุทธศาสนา"  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...