วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประเทศไทยจัดวิสาขโลกครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา



คณะกรรมการสมาคมวิสาขบูชาโลก และกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ จาก 18 ชาติ นำโดยพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. ประธานกรรมการสมาคมฯ ได้ร่วมประชุมเตรียมการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 โดยที่ประชุมมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน โดยได้กำหนดหัวข้อหลักในการจัดงานเน้นพระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development)          

พระพรหมบัณฑิตกล่าวว่า "องค์การสหประชาชาติ ได้เคยถวายรางวัลสดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะ "พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” ในปี 2549 นับเป็นครั้งแรกที่องค์การสหประชาชาติ ได้จัดทำรางวัลเกียรติยศขึ้น เพื่อมอบให้กับบุคคลดีเด่นที่อุทิศตนตลอดช่วงชีวิต และสร้างคุณค่าของผลงานเป็นที่น่าประจักษ์และคุณูปการที่ผลักดันความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการศึกษา การขยายโอกาสและทางเลือก ซึ่งเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถแก่ปัจเจกชนที่จะเลือกให้มีชีวิตยืนยาวด้วยการมีสุขพลานามัยที่แข็งแรง มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจและอย่างยั่งยืน สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงในชีวิต และความเท่าเทียม"

"จากกษัตริย์นักพัฒนาสู่การถอดบทเรียนเป็นศาสตร์พระราชา จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นหัวข้อหลักในการจัดพิธีเฉลิมฉลงวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้ และมีองค์กรพระพุทธศาสนาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน โดยที่ประชุมได้มีมติจัดงานตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561 ในการจัดงาน ทั้งนี้ จะมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2561" พระพรหมบัณฑิตกล่าวเสริม

สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ได้มีการประชุมวิชาการนานาชาติแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for Social Welfare) พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมานำเสนอประสบการณ์ทำงานมานำเสนอในเวทีของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย

____________________________________
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.vesak.orggg/program

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...