วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สารเลขาฯยูเอ็นวิสาขบูชาโลกที่ไทยมั่นใจหลักพุทธช่วยสร้างปรองดองได้




วันที่ 27 พ.ค.2561 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร  พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และประธานคณะกรรมการสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก เป็นประธานในมีพิธีเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 15 ประจำปี 2561  ซึ่งมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และเนื่องในโอกาสสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม  ภายใต้หัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์” โดยมีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ เข้าร่วม 85 ประเทศ กว่า 3,000 รูป/คน

ภายในพิธีมีการกล่าวและอ่านสุนทรพจน์ผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลก ในจำนวนนั้นมีสารจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ H.E.Antonio Guterres ความว่า

"คำสอนของพระพุทธองค์จะเน้นเรื่องเมตตากรุณาที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษย์มาก  ขณะที่โลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ จากปัญหาต่อสภาพอากาศที่ เปลี่ยนแปลง ความลำเอียงอคติ และความไม่เท่าเทียมกัน เป็นเหตุให้มนุษย์ขาดความสามัคคี เป็นปีกแผ่น ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำให้คนทั้งโลกมีความสามัคคีปรองดองกัน จุดสำคัญของพระพุทธศาสนาในเรื่องความเท่าเทียมกันในเกียรติศักดศรี ของความเป็นมนุษย์นั้นพบว่าจำเป็นและสำคัญยิ่งในวาระการประชุมที่ 2030 เกี่ยวกับการ พัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน

คำสอนพุทธศาสนาที่เป็นสากลช่วยชี้แนะพวกเราให้คนพบและเข้าใจตัวเองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ไม่ใช่ผู้ครองโลก ทั้งนี้พุทธศาสนายังเน้นเรื่องอหิงสาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการ สร้างสันติสุขจาก เรื่องสันติสุข สภาพสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป และสิทธิมนุษยชน พระพุทธศาสนานั้นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากกับภารกิจหลักขององค์การสหประซาชาติในปัจจุบัน เป็นเหตุผลสำคัญที่สังคมพุทธทั่วโลก และทุกคนของพวกเราได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับคำสอนของ พระพุทธเจ้าในเรื่องขันติ ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และความเป็นมนุษย์ เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาครั้งนี้ ขอให้พวกเรามีจิตมุ่งมั่นในประสานเชื่อมต่อความแตกต่าง ให้เป็นหนึ่ง ใส่ใจดูแลผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และน่าพาทุกคนไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 2...