วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

"TED TALK"พุทธนานาชาติวิสาขบูชาโลก เสริมแกร่งเยาวชนเตรียมเป็นผู้นำโลกอนาคต



การประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2561 และเนื่องในโอกาสสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม  ภายใต้หัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์” โดยมีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ เข้าร่วม 85 ประเทศ กว่า 3,000 รูป/คน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)   อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มได้นำเสนอบทความวิชาการและแง่มุมของการพัฒนามนุษย์ในมิติต่างๆ โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นฐานการพัฒนา  ในรูปแบบ "TED TALK" ได้ผลสรุปคือ  
  


กลุ่มที่ 1 พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development) องค์การสหประชาชาติมีการเฉลิมฉลองศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือการสร้างสันติภาพ สามารถเกี่ยวข้องโลกใบนี้ซึ่งที่ผ่านมาเรามีการประชุมคุณูปการพระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ ซึ่งนายกภูฏานกระตุ้นให้เราคิดว่าศาสนาจะไปช่วยรักษาโลกนี้อย่างไร เพราะเอเชียเรามีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วแต่สิ่งแวดล้อมก็เสื่อมลง ศาสนาพุทธมีวิธีการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาตามแนวทางของศีลเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ การจัดการความโศกเศร้าภายในจิตใจของมนุษย์ผ่านพระพุทธศาสนาให้เราคิดอย่างมีระบบ เป็นการมองระหว่างพระพุทธเจ้ากับโสคราตีสถือว่าเป็นบุคคลที่มีปัญญามีความฉลาด 

กลุ่มที่ 2 การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน (Empowering youth through Buddhist Education)          เราจะให้เยาวชนศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างไร เราต้องมีการสื่อสารกับเยาวชนให้มีวิธีการที่เหมาะสม เยาวชนเป็นผู้นำในอนาคตเขาจึงต้องเรียนรู้พระพุทธศาสนา เป็นการเตรียมเพื่อการมีชีวิตที่มีถูกต้อง เยาวชนจึงควรมีประสบการณ์ชีวิตในมิติพระพุทธศาสนา เยาวชนเติบโตจึงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดจึงควรได้รับการยอมรับ เยาวชนควรได้ฝึกสมาธิเพราะช่วยให้เยาวชนมีความมั่นคงทางด้านจิตใจ เราต้องสนใจเยาวชนจริงๆ ว่าทำไมเยาวชนถึงมีพฤติกรรมด้านลบ พระพุทธศาสนาจะมีบทบาทอย่างไรให้จิตใจเยาวชนดีงาม เราต้องให้เยาวชนเดินตามความฝันของตนเอง 

กลุ่มที่ 3 การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural Identity in Inter-Connected World)วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เราจึงต้องเข้าใจความรู้สึกนึกคิด ซึ่งคนไทยได้สร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์รวมถึงบุโรพุทโธมีการมีการรักษาอัตลักษณ์ตนเองจนปัจจุบันเป็นสถานที่การท่องเที่ยว อัตลักษณ์ต้องไม่สร้างความขัดแย้ง          

และกลุ่มที่ 4 พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for Social Welfare)เป็นความพยายามให้ผู้คนออกไปช่วยสังคมโดยเริ่มจากท่านติชนัทฮัน ใช้คำว่าพระพุทธศาสนาเพื่อชีวิต ศาสนาพุทธทำให้ผู้คนพัฒนาตนเองในทุกระดับ  มีผลต่อสังคม ศาสนาพุทธได้เป็นศาสนาของโลกเพราะผู้คนนำศาสนาพุทธไปประยุกต์ใช้คือการเจริญสติซึ่งประสบการณ์ของพุทธในเกาหลีมีการกราบในการประท้วงที่ไม่ใช้กำลังกับอำนาจของรัฐเป็นอหิงสาในการใช้หลักพระพุทธศาสนามาใช้ เราใช้หลักการของศาสนาพุทธในการช่วยเหลือสังคมกับบุคคลที่มีความทุกข์ 

สรุปว่า คำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีความง่าย เราจะส่งต่อคำสอนพระพุทธศาสนาอย่างไร เราจะต้องเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้โดยยกวิธีการรูปแบบการสอนเยาวชนของพระมหาหรรษาเป็นต้นแบบในการสอนเยาวชนให้เข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างดีเยี่ยมถือว่าเป็นต้นแบบของโลก ที่ประชุมให้อยากให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นหลายภาษาต่างๆทางคณะกรรมการยินดีเป็นอย่างยิ่งในการพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ และอนาคตเราอยากมีเยาวชนมาร่วมงานวันวิสาขบูชาเพื่อเป็นเวทีของเยาวชนถ้าศาสนาพุทธมีปัญหาเกี่ยวกับการเมืองและปัญหาจากศาสนาอื่นเราควรจะทำอย่างไร? ในฐานะเราเป็นชาวพุทธทั่วโลก   


...................


(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapatพระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก  สาขาสันติศึกษา มจร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...